UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

    เวลาที่นึกย้อนกลับไปถึงวันที่ได้เดินทางมาเรียนที่นี่ ดูเหมือนว่าเหตุการณ์เหล่านี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง แต่อันที่จริงแล้ว ผ่านมาถึง 3 ปี 3 เดือน จำได้ถึงความรู้สึกเมื่อรู้ตัวว่าจะถูกส่งมาเรียนวิชาพิธีกรรมที่สถาบันของคณะเบเนดิกตินในสังฆมณฑลปาดัว ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนักบุญอันตนมาแพร่ธรรมและสิ้นใจที่นี่ มีความตื่นเต้นดีใจ ระคนกับความรู้สึกกลัวลึก ๆ ในใจ ตื่นเต้นดีใจ เพราะเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่สมัยเป็นเณรว่า อยากจะมาเรียนต่อที่ประเทศอิตาลี เพราะถือเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักรสากล ส่วนที่กลัวเพราะรู้ว่าวิชาพิธีกรรมเป็นวิชาที่ยาก แถมยังต้องเรียนภาษาอิตาเลียนและลาติน และโดยส่วนตัวไม่ได้ชอบวิชานี้เลย แต่ที่เลือกเรียนวิชานี้ เพราะเห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับงานแพร่ธรรมในกัมพูชา เนื่องจากยังไม่มีใครจบมาด้านพิธีกรรมโดยตรง อีกสิ่งหนึ่งที่กังวลคือวัยที่กำลังจะเข้าเลขสี่ คงไม่ง่ายนักที่จะมาเรียนรู้ จดจำ และปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะภาษาและวัฒนธรรมของทางยุโรป ที่แตกต่างจากเอเชียโดยสิ้นเชิงแต่ด้วยความนบนอบจึงได้ตอบรับผู้ใหญ่ของคณะธรรมทูตไทย ซึ่งการมาเรียนครั้งนี้ผมได้รับการการสนับสนุนจากสังฆมณฑลราชบุรี พระสังฆราช บรรดาพี่น้องสงฆ์ และได้ทุนการศึกษาจากสังฆมณทลปาดัว โดยให้พักอยู่ที่วัดนักบุญยุสติน่า มอนเตกัลด้า โดยมีข้อตกลงกับทางสังฆมณฑลปาดัว โดยการเรียนถือเป็นหน้าที่หลัก และการช่วยงานอภิบาลของวัดถือเป็นหน้าที่รอง


    ผมเดินทางจากเมืองไทยมาถึงเวนิส ตอนสายของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2015 พร้อมด้วยหิมะที่ตกในวันที่มาถึงพอดี เป็นการต้อนรับการมาถึงอย่างหนาวเหน็บมีคุณพ่อซิลวาโน เจ้าอาวาสวัย 72 ปี ขับรถมารับพร้อมกับป้ายชื่อผม คุณพ่อพูดได้หลายภาษา แต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย!!! โชคดีมีเจ้าหน้าที่ศูนย์สังฆมณฑลที่พูดภาษาอังกฤษได้มาช่วยเป็นล่ามแปลภาษา ปรากฏว่าวัดที่ผมจะต้องใช้ชีวิตอยู่ตลอดการศึกษาที่นี่ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษเลย ผมให้กำลังใจกับตัวเองว่างานนี้คงจะต้องพูดภาษาอิตาเลียนได้เร็วเป็นแน่ แต่ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ภาษาอิตาเลียน แม้จะไม่ยากเหมือนลาตินแต่ก็ยังยากมากสำหรับผม การเรียนภาษาเป็นไปแบบทุลักทุเล มีครูที่เกษียณแล้วมาช่วยสอนสัปดาห์ละสองวัน วันละ 2 ชั่วโมง และก่อนที่จะเปิดเรียนเดือนตุลาคม ผมได้ถูกส่งไปเรียนคอร์สภาษาแบบเข้มข้นที่เวโรน่าพร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ นักบวช ที่เข้ามาเรียนในอิตาลีเป็นเวลา 2 เดือน คงไม่ต้องบอกนะครับว่าเวลาเปิดเทอมมา ภาษาอิตาเลียนของผมจะดีขนาดไหน!!!

    นอกจากภาษาอิตาเลียนที่เป็นยาขมแล้ว ยังมีภาษาลาตินที่เป็นยาขมกว่า ต้องเรียนในหลักสูตรอีกหนึ่งปีพร้อมกับวิชาพิธีกรรมด้านต่าง ๆ ความยากลำบากไม่ใช่แค่เรื่องของภาษาเท่านั้น ความยากของวิชาพิธีกรรมที่เรียนด้วย การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่โดยเฉพาะอากาศที่หนาวเย็น แถมยังมีเรื่องของการเดินทางที่ต้องออกเดินทางจากวัดตั้งแต่ 7 โมงเช้า โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวกับอุณหภูมิที่ติดลบ และต้องปั่นจักรยาน 5 ก.ม. ต่อรถเมล์ 45 นาทีและเดินอีกเกือบ 2 ก.ม. มีบางวันเวลาที่เหนื่อยและท้อแท้ ผมถามตัวเองว่าแล้วจะมาทนลำบากอยู่ทำไม ?   ชีวิตธรรมทูตที่เขมรยังไม่ลำบากขนาดนี้เลย บางวันเหนื่อยกับการเดินทางและการเรียนจนหมดแรงและกำลังใจ

    แต่แล้วผมก็ได้ยินเสียงของคุณพ่อท่านหนึ่งที่เตือนผมว่า “พ่อต้องคิดอยู่เสมอว่า การมาเรียนที่นี่เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองแต่ทำเพื่อพระศาสนจักรที่เราจะกลับไปรับใช้ คำเตือนนี้เป็นเสมือนกำลังใจและคำตอบให้ผมว่าสิ่งที่กำลังทำนี้ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อรับใช้เพื่อนพี่น้อง

    มีอยู่ครั้งหนึ่งมีโอกาสเล่าให้พระคุณเจ้าปัญญาฟังถึงความยากลำบากของผม พระคุณเจ้าบอกว่า “ถ้าไม่ไหวก็กลับบ้านเรา” ได้ฟังอย่างนี้แล้วใจผมชื่นขึ้นมาทันทีและรู้เลยว่าจะยอมแพ้ง่าย ๆ ไม่ได้ จึงได้บอกกับพระคุณเจ้าว่าผมขอลองสู้อีกสักยกหนึ่ง

    สำหรับการเรียนในห้องเรียน ฟังรู้เรื่องแค่ 50-60 เปอร์เซนต์ผมต้องอาศัยขอเลคเชอร์ของเพื่อนชาวอิตาเลียนมานั่งแปลและอ่านทำความเข้าใจ และบันทึกเสียงของอาจารย์ทุกครั้งทุกวิชาเพื่อมาฟังซ้ำ ๆ นอกจากนี้ในวันที่ไม่มีเรียนจะต้องนั่งเรียนเอง ใน 1 วัน ใช้สูตร 3-3-3 คือ เช้าเรียน 3 ชั่วโมง บ่าย 3 และหลังอาหารค่ำอีก 3 ชั่วโมงยิ่งช่วงสอบไม่ต้องพูดถึง ท่องตำรากันจนจิตตกเลยก็ว่าได้ ไม่แน่ใจว่า นี่อาจเป็นการใช้โทษบาปที่ดีที่สุด เพราะยากลำบากเหลือเกิน ผมต้องเรียนทั้งหมด 29 วิชา ภายใน 2 ปี หมายถึงต้องสอบทั้งหมด 29 ครั้ง


    นอกจากการเรียนแล้วนักเรียนทุนยังมีหน้าที่ช่วยงานอภิบาลเสมือนเป็นปลัดคนหนึ่ง คือ ช่วยทำมิสซาวันธรรมดาและวันอาทิตย์ ฟังแก้บาป ส่งศีลและงานจิปาถะตามแต่เจ้าวัดจะมอบหมาย จำได้ว่า ปีแรกภาษาก็ยังไม่ดี (อันที่จริงผ่านมา 3 ปีแล้วก็ยังไม่ดีหรอกครับ) แต่ต้องทำมิสซาวันอาทิตย์ถึง 3 รอบเพราะมีวัดใกล้ ๆ ยังไม่มีพระสงฆ์มาประจำ ยิ่งช่วงงานเทศกาลไม่ว่าจะเป็นคริสต์มาสหรือปัสกา ต้องนั่งฟังแก้บาปถึงวันละ 7-8 ชั่วโมง รู้เลยว่าทำไมนักบุญยอห์น มารีย์ เวียนเน และ คุณพ่อปีโอถึงได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์

    ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการบ่นถึงความยากลำบากให้ผู้อ่านเห็นใจผมนะครับ แต่อยากจะแบ่งปันให้เห็นความอัศจรรย์ในความรักของพระเจ้าที่มีต่อตัวผม ยิ่งลำบากพระเจ้ายิ่งอยู่ใกล้เรา ผมรู้และเข้าใจเลยว่าพระเจ้านั้นยิ่งใหญ่และทุกสิ่งเป็นไปได้สำหรับพระองค์ ที่ผ่านมาได้ก็เพราะความช่วยเหลือและความเมตตาจากพระองค์ทั้งสิ้น เพราะถ้าทำด้วยแรงของตัวเราเองแล้ว ป่านนี้คงกลับบ้านไปนานแล้ว สิ่งที่ผมได้รับจึงไม่ใช่แค่วิชาความรู้ที่มาศึกษาเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ได้มากกว่าวิชาการด้วยซ้ำ ได้ฝึกฝนความอดทนอย่างมาก ๆ รู้จักที่จะถ่อมตัวและขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ที่สำคัญได้สวดภาวนาและมีความไว้ใจในพระมากขึ้น ความจริงผมยังอยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายของการเรียนกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ ถ้าทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดีปลายปีนี้ก็จะป้องกันวิทยานิพนธ์ ถือเป็นการสิ้นสุดการเรียน และจะได้กลับเมืองไทยอันเป็นที่รักสักที ขอคำภาวนาจากท่านผู้อ่านด้วยนะครับ และหวังว่าจะได้พบกันปลายปีนี้

(จากสารสังฆมณฑลราชบุรี ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม 2018 )

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก