คำ “Confirmation” เริ่มนำมาใช้ใน ศต. ที่ 5 โดยอนุญาตให้พระสงฆ์เจิมน้ำมันคริสมาสำหรับเด็กที่รับศีลล้างบาปในเขตรับผิดชอบของตน แล้วรอคอยเวลาจนพระสังฆราชของตนมาเยี่ยมเยือน เพื่อมาทำการยืนยัน (confirm) ศีลล้างบาปของผู้สมัครนั้น ด้วยการปกมือเพื่อประทานพระจิตเจ้า

    ในช่วง ศต. ที่ 12 ปีเตอร์ ลอมบาร์ด เริ่มสอนว่า ศีลกำลังถือเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่มอบพระคุณของพระจิตเจ้านั่นคือ พละกำลัง เพื่อเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งขึ้น และศาสนบริกรของศีลกำลังก็คือพระสังฆราช ซึ่งคำสอนนี้ได้รับการยอมรับไปทั่ว และในปี 1274 สังคายนาที่เมืองลียอง ประกาศให้ศีลกำลัง (Confirmation) เป็นหนึ่งในเจ็ดศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พร้อมประกาศว่า สาระ (matter) ของศีลกำลังคือการเจิมด้วยน้ำมันคริสมา ส่วนรูปแบบ (form) ก็คือบทสูตรขณะเจิมน้ำมันที่ว่า “ข้าพเจ้าขอเจิมท่านด้วยเครื่องหมายกางเขน และข้าพเจ้าขอยืนยันท่านด้วยคริสมาแห่งความรอด ในนามของพระบิดา และพระบุตร และพระจิต” และศีลกำลังนี้ สามารถรับได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกับศีลล้างบาป

    ศีลกำลังและศีลมหาสนิทมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยในช่วง ศต. ที่ 17-18 มีการโปรดศีลกำลังก่อนการรับศีลมหาสนิท จนถึง ศต. ที่ 19 เริ่มมีธรรมเนียมรับศีลมหาสนิทก่อนรับศีลกำลัง จนกระทั่งปี 1910 พระสันตะปาปาปีอุสที่ 10 ได้ประกาศในพระสมณสาร Quam Singulari ให้รับศีลมหาสนิทก่อนการรับศีลกำลัง จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระศาสนจักรคาทอลิกมาจนปัจจุบัน

ประวัติของศีลกำลัง
    สังคายนาวาติกันที่ 2 ในปี 1971 ได้ทบทวนและย้ำว่า พิธีศีลกำลังนี้เป็นการรื้อฟื้นและเชื่อมโยงกับพิธีการรับเข้าเป็นคริสตชน (Rite of Initiation) ซึ่งมีผลทำให้คริสตชนใกล้ชิดกับพระศาสนจักรมากยิ่งขึ้น และได้รับพละกำลังจากพระจิตเจ้า ศาสนบริกรปกติของศีลกำลัง คือ พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ที่รับมอบอำนาจ (ในกรณีจำเป็นแม้จะไม่รับอำนาจ พระสงฆ์องค์ใดก็สามารถโปรดศีลกำลังได้)

    พิธีศีลกำลังนี้จะโปรดหลังจาก “บทภาวนาอัญเชิญพระจิตเจ้า” โดยเจิมที่หน้าผากด้วยน้ำมันคริสมา ตามด้วยการปกมือเหนือศีรษะผู้สมัครพร้อมกล่าวคำว่า “จงรับองค์พระจิตเจ้า ของประทานจากพระเจ้าเถิด” ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ถือเป็นหน้าที่คริสตชนที่จะรับศีลกำลังในเวลาอันเหมาะสม(สำหรับประเทศไทยนิยมโปรดศีลกำลังให้กับนักเรียนระหว่างชั้น ป.4-5)

    ศีลกำลังสามารถโปรดช่วงเทศกาลใดก็ได้ แต่ที่เหมาะสมและมีความหมายที่สุดก็คือเทศกาลปัสกา เป็นต้นโอกาสวันสมโภชพระจิตเจ้า(Pentecost)

   
สำหรับหลักเกณฑ์คัดเลือกพ่อแม่อุปถัมภ์ของศีลกำลัง จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับศีลกำลังมาแล้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นพยานต่อหน้าองค์พระคริสตเจ้า ซึ่งจะเป็นคนเดียวกับพ่อแม่อุปถัมภ์ของศีลล้างบาป
หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี เป็นที่น่าเคารพนับถือ ต้องไม่มีพันธะโทษใดใดของพระศานจักรและต้องไม่ใช่พ่อแม่ของผู้ที่จะรับศีลกำลังด้วยหลังการโปรดศีลกำลังจะมีการบันทึกชื่อผู้รับศีลกำลัง ผู้โปรดศีลกำลัง พ่อแม่อุปถัมภ์ วันและสถานที่โปรดศีลกำลังลงใน “สมุดบันทึกศีลกำลัง” ของวัดที่รับศีลกำลัง รวมถึงต้องบันทึกลงใน “สมุดบันทึกศีลล้างบาป” ของผู้ที่รับศีลกำลังด้วย