จึงเป็นพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณซึ่งก็ใช้กันนับแต่นั้นมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และในปี ค.ศ. 2011 ทางคณะกรรมการฯ เห็นว่าสัตบุรุษเกิดความเข้าใจแล้วว่ามิสซาและบูชาขอบพระคุณคือสิ่งเดียวกัน ดังนั้นจึงมีประกาศให้แยกคำสองคำนี้ออกจากกัน ถ้าจะใช้ก็ให้ใช้คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้สัตบุรุษบางท่านเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับคำสองคำนี้ จึงขออธิบายอย่างสรุปเพื่อให้เข้าใจดังนี้

               มิสซา (Missa) เป็นคำในภาษาละติน ที่ใช้เรียกพิธีศีลมหาสนิทในพระศาสนจักรตะวันตกหรือนิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) ซึ่งมีที่มาจากวลีที่ว่า Ite missa est ที่พระสงฆ์กล่าวตอนปิดพิธี Pohle (1911) อธิบายว่าคำนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 7 คือหลังสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่ (Pope Gregory the Great) ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 604

               บูชาขอบพระคุณ (Eucharistia) เป็นคำในภาษากรีก ใช้เรียกพิธีศีลมหาสนิทในพระศาสนจักรมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม ซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ เป็นยัญบูชา และ เป็นการประทับอยู่ของพระเยซูคริสต์ในรูปปรากฎของแผ่นปังและเหล้าองุ่น (Pohle, 1909)

                ซึ่งนอกจากคำสองคำนี้แล้ว ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่ใช้เรียกพิธีศีลมหาสนิท เช่น อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า (Coena Domini) โต๊ะขององค์พระผู้เป็นเจ้า (Mensa Domini) พระกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า (Corpus Domini) ศักดิ์สิทธิ์แห่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย (Sanctissimum)

                ดังนั้นจึงเป็นการถูกต้องที่คณะกรรมการฯ ได้ให้แยกคำทั้งสองนี้ออกจากกัน เพราะแท้ที่จริงแล้วมีความหมายเดียวกัน เพียงแต่แตกต่างกันในรูปของคำและต้นกำเนิด สำหรับการใช้นั้นก็ให้เลือกแต่คำใดคำหนึ่งว่าจะเป็น มิสซา หรือ บูชาขอบพระคุณ เช่น ขอเชิญร่วมพิธีมิสซาปลงศพ หรือ ขอเชิญร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพ ส่วนพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณนั้นเป็นการกล่าวถึงสิ่งเดียวกันสองครั้งซึ่งทำให้ซ้ำซ้อนและเยิ่นเย้อ

อ้างอิง

Retrieved May 25, 2011, from http://www.newadvent.org/cathen/05572c.htm

Retrieved May 25, 2011, from http://www.newadvent.org/cathen/10006a.htm