บางคนอาจมองว่าเสียงทางโทรศัพท์นั้น ไม่ใช่เสียงของมนุษย์โดยตรง แต่เป็นเสียงที่ดัดแปลงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และการปรากฏกายของฝ่ายหนึ่งนั้นขาดหายไป ดังนี้ การรับศีลอภัยบาปและการรับการอภัยบาปผ่านทางโทรศัพท์อาจะเป็นโมฆะได้ เนื่องจากศีลอภัยบาปนั้น ควรต้องกระทำกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ และต้องปรากฏกายอยู่ในที่เดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การรับศีลอภัยบาปและการรับการอภัยบาปกับพระสงฆ์ผ่านทางโทรศัพท์อาจสามารถกระทำได้ แต่ต้องกระทำแบบ “ภายใต้เงื่อนไข” (การรับศีลอภัยบาปภายใต้เงื่อนไข หมายความว่า หากรับศีลอภัยบาปและรับการยกบาปจากพระสงฆ์ไปแล้ว และยังมีชีวิตอยู่หรือรอดตาย จะต้องรีบไปขอรับศีลอภัยบาปใหม่แบบวิธีปกติกับพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง)

    นอกจากนี้ พระสงฆ์หลายคนให้ข้อสังเกตว่า ตามปกติการรับศีลอภัยบาปผ่านทางโทรศัพท์หรือผ่านช่องทางออนไลน์ใด ๆ ก็ตามไม่ควรจะกระทำ เนื่องจากเราไม่อาจรู้ได้จัดเจนว่าผู้ที่มาขอรับศีลอภัยบาปทางโทรศัพท์นั้นเป็นใคร แล้วจะมีการบันทึกเสียงสนทนาไว้หรือไม่ ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อการรักษาความลับในที่สารภาพบาป ซึ่งจะมีโทษหนักสำหรับพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปเองด้วย (ถึงขั้นถูกขับออกจากพระศาสนจักร)

    วิทยาการและความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร มีทั้งคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์อย่างมากมาย รวมถึงมีโทษและพิษภัยในหลากหลายแง่มุมด้วยเช่นเดียวกัน จึงต้องรู้จักใช้อย่างมีวิจารณาญาณ อย่างรอบคอบ และมีความรับผิดชอบอยู่เสมอ


  (จากคอลัมน์ คำถามชวนคิดด้านศีลธรรมและศาสนาในยุคปัจจุบัน สารสังฆมณฑลราชบุรี ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม 2018 )
***** คำถามชวนคิดด้านศีลธรรมและศาสนาในยุคปัจจุบัน ตอนที่ 1 โดย บาทหลวง สมเกียรติ จูรอด ผู้แปลสรุป จากหนังสือ Modern Moral Problems: Trustworthy Answers to Your Tough Questions เขียนโดย Msgr. William B. Smith (2012)