UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

ข. พระคัมภีร์และคำสอน   
         1. บทอ่านที่หนึ่ง (ปฐก 2:18-24)
            จากหนังสือปฐมกาลได้เผยแสดงถึงแผนการเริ่มแรกของพระเจ้าในเรื่องของเพศและการแต่งงาน ซึ่งสอนว่าพระเจ้าทรงสร้างชายและหญิงมาเพื่อกันและกัน ดังนั้นในการแต่งงานจึงไม่ได้เป็นเรื่องของตัวใครตัวมันแต่เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยสายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย หรือไม่มีวันแยกจากกัน บทอ่านยังได้พูดถึงการจัดตั้งการแต่งงานและการแต่งงานที่เป็นแบบสามีภรรยาเดียว (monogamy) ตั้งแต่เริ่มแรก

        2. บทสดุดี (สดด 128)
            พูดถึงสามีภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ชีวิตย่อมบังเกิดผล และมีชีวิตที่ยืนยาวจนเห็นหลานเห็นเหลน

        3. บทอ่านที่สอง (ฮบ 2:9-11)
         บทจดหมายถึงชาวฮีบรูเตือนใจเราว่าพระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับเรา ทรงลดฐานะจากพระเจ้าลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อนำมนุษย์ให้รอดพ้นจากโทษร้ายของบาป ทรงไม่อายที่จะเรียกเราว่าเป็นพี่น้องของพระองค์ ดังนั้นไม่ว่าคนดี คนไม่ดี คนที่หย่าร้าง คนที่เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ล้วนแต่เป็นพี่น้องที่พระองค์จะต้องพาไปสู่ความรอดพ้นให้ได้

       4. พระวรสาร (มก 10:2-16)
          วันนี้เราได้รับฟังคำสอนของพระเยซูคริสต์ในเรื่องการแต่งงานและการหย่าร้าง สำหรับพระเจ้าแล้วการแต่งงานหรือชีวิตครอบครัวเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์และหย่าร้างไม่ได้ นี้เป็นเรื่องยากที่จะพูดกับคนในสังคมปัจจุบันที่มีสถิติการหย่าร้างเพิ่มขึ้นทุกวัน รวมถึงบุคคลที่เมินเฉยต่อผลร้ายที่ตามมาของการหย่าร้าง สามีและภรรยามีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเสริมสร้างสายสัมพันธ์แห่งการแต่งงานให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

ค. ปฏิบัติ                
      1. คู่สามรภรรยาจะต้อง “จริงจัง” ในการสร้างชีวิตครอบครัวให้ดีที่สุด การแต่งงานเรียกร้อง ให้ทั้งคู่เป็นบุคคลที่ “ใช่” สำหรับกันและกัน สายสัมพันธ์แห่งการแต่งงานมีรากฐานอยู่ที่
(1) “การอุทิศตน” ให้แก่กันและกัน มีการแบ่งปัน การให้มีส่วนร่วม การเสียสละ การยกโทษให้กัน และความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัว
(2) เรียกร้องการ “ปรับตัว” เพิ่มความใจกว้างและความปรารถนาดีแก่กันและกันที่จะให้อภัยและขอการให้อภัยจากกัน ร่วมมือกันอย่างจริงใจในการให้การอบรมเลี้ยงดูลูกและเสริมสร้างความศรัทธาให้ลูกได้ปฏิบัติตนเป็นคริสตชนที่ดี และบำรุงหล่อเลี้ยงความเชื่อด้วยการภาวนาพร้อมกันในครอบครัว การอ่านพระคัมภีร์ และเป็นต้นการร่วมพิธีมิสซาในวันอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ

    2. เราจำเป็นต้องให้ “ความเห็นอกเห็นใจ” พี่น้องที่หย่าร้างหรือมีความยากลำบากในชีวิตครอบครัว ให้ความเคารพ ให้ความรัก หาทางแก้ไข หรือหาวิธีที่เหมาะสมแบ่งเบาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น พระศาสนจักรมีวิธีการที่จะเยียวยาคู่แต่งงานที่หย่าร้าง ส่วนเราสามารถให้คำแนะนำบุคคลที่ผิดพลาดไปให้สวดภาวนา อ่านพระคัมภีร์ นำลูกมาวัด ร่วมพิธีมิสซา เพื่อเป็นการปลูกฝังความเชื่อศรัทธาให้พวกเขา และเพื่อวอนขอพระพรเพื่อการดำเนินชีวิตครอบครัวที่ถูกต้องต่อไป (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรฯ ข้อ 1651)

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก