3. การสมโภชนี้ยังเป็นโอกาสให้เราได้เรียนรู้มากขึ้นถึงความสำคัญและคุณค่าของ “การประทับอยู่จริง” เพื่อเราจะได้ชื่นชมยินดีและเข้ารับศีลมหาสนิทด้วยความสำนึกและได้รับประโยชน์จากการรับศีลมหาสนิทอย่างสมบูรณ์
4.เราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่ในศีลมหาสนิทอย่างแท้จริง เพราะว่า
      4.1.พระเยซูเจ้าทรงสัญญาไว้หลังจากที่ได้ทำอัศจรรย์เลี้ยงอาหารคน 5000 คน
      4.2.พระเยซูเจ้าทรงจัดตั้งศีลมหาสนิทในระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้าย
      4.3.พระเยซูเจ้าทรงสั่งสานุศิษย์ให้กระทำเช่นเดียวกันนี้เพื่อระลึกถึงพระองค์
      4.4.”ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้สำหรับพระเจ้า”
5.เราจะอธิบายเรื่อง “การประทับอยู่ของจริง” ของพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทโดย ใช้คำอธิบายจากปรัชญาของอริสโตเติ้ลในเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงเนื้อแท้ของสรรพสิ่ง” (transubstantiation) ซึ่งหมายความว่าเนื้อแท้ (substance)ของแผ่นปังและเหล้าองุ่นได้เปลี่ยนเป็นพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับฟื้นคืนชีพโดยผ่านทางองค์พระจิตเจ้า ในขณะที่รูปร่างภายนอก (accidents) เช่น สี ขนาด รสชาติ ฯลฯ ยังคงเหมือนเดิม

ข.พระคัมภีร์และคำสอน    
        1.บทอ่านที่หนึ่ง (ปฐก14:18-20): นำเสนอบทบาทของเมลคีเซเดดกษัติรย์และประกาศกได้ถวายบูชาขอบพระคุณด้วยขนมปังและเหล้าองุ่นแก่พระเจ้าสำหรับการเป็นอยู่ที่ปลอดภัย การกินดีอยู่ดีของลูกหลานอับราฮัมและแสดงให้เห็นว่าเป็นรูปแบบล่วงหน้าของการเป็นกษัตริย์และประกาศกของพระเยซูเจ้า และยังเป็นเครื่องหมายของการขอบพระคุณสำหรับชัยชนะของพระเยซูเจ้าที่มีต่อบาปและความตาย
        2.บทอ่านที่สอง (1คร11:23-26): น.เปาโลได้เล่าเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำในระหว่างการรับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายกับสานุศิษย์
        3.พระวรสาร (ลก9:11ข-17): น.ลูกาเล่ารเรื่องอัศจรรย์การเลี้ยงอาหารคนจำนวน 5000 คนด้วยขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว โดยทางเทววิทยาแล้วการเลี้ยงอาหารนี้เป็นรูปแบบล่างหน้าของศีลมหาสินท ของประทานจากพระเยซูเจ้า เพื่อเป็นอาหารฝ่ายจิตหล่อเลี้ยงความเชื่อศรัทธาของผู้เชื่อในพระองค์
        4.ศีลมหาสนิทเป็นทั้งศีลศักดิ์สิทธิ์และการถวายบูชา: พระเยซูเจ้าทรงจัดตั้งศีลมหาสนิทให้เป็นทั้งศีลศักดิ์สิทธิ์และการถวายบูชา ในฐานะที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์
         4.1 ศีลมหาสนิทเป็นเครื่องหมายที่มองเห็นได้ที่ประทานพระหรรษทานและชีวิตพระแก่เรา  
         4.2 ในฐานะอาหาร ช่วยบำรุงล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของเรา  
         4.3 ในฐานะเครื่องบูชา การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทเป็นการกระทำซ้ำเหตุการณ์การพลีชีวิตเป็นบูชาบนไม้กางเขนที่เนินกัลวาลีโอ และเสร็จสมบูรณ์ในการกลับฟื้นคืนชีพ
         4.4 เราถวายการพลีชีวิตเป็นบูชาองพระเยซูแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อเป็นเครื่องบูชาเพื่อยกโทษบาปของเรา โดยการใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ

ค. ปฏิบัติ              
          1. ให้เรา “สำนึกและศรัทธา” ในการประทับอยู่อย่างแท้จริงของพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท โดยการเข้ารับศีลมหาสนิทด้วยความเคารพ ด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการเตรียมตัวและจิตใจให้พร้อม และใช้เวลาเพื่อการโมทนาคุณ นมัสการพระองค์
          2.ให้เราเป็น “ประจักษ์พยาน” ถึงพระเยซูเจ้าและนำพระเยซูคริสต์ไปมอบให้ผู้อื่นทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน เหมือนพระแม่มารีย์โดยอาศัยความรัก การให้อภัย ความสุภาพถ่อมตนและรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเสียสละ
           3.ให้เรา “มอบกายถวายชีวิต” ของเราเป็นเครื่องบูชาพร้อมกับพระเยซูเจ้า วอนขอการอภัยสำหรับบาปต่างๆของเรา แสดงความกตัญญูสำหรับพระพรต่างๆที่ได้รับ และเสนอวิงวอนความต้องการต่างๆจากพระองค์ขณะที่รับศีลมหาสนิท