UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

แบบอย่างของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่สอง ที่ยกโทษให้คนที่ทำร้ายพระองค์ และตบท้ายด้วยการที่พระเยซูเจ้าทรงยกโทษให้นายทหารที่เอาหอกมาแทงสีข้างของพระองค์ขณะที่ถูกตรึงอยู่ ผู้ฟังต่างปรบมือให้กับการพูดของเขา

                 เมื่อการเสวนาจบลง ผู้พูดฝ่ายคริสต์ลงมาจากเวที เขาแปลกใจและตกใจมากที่มีชายคนหนึ่งเข้ามาขอจับมือและพูดว่า “ขอขอบคุณในคำพูดของคุณ คุณพูดได้ดีมากๆ ” ทันทีผู้พูดจำได้ว่าชายที่อยู่ต่อหน้าเขานั้น เคยเป็นเพื่อนบ้านของเขาเอง และครอบครัวของเขาทั้งสองต่างมีเรื่องที่ต้องยกโรงขึ้นศาลกันมาแล้ว จนต่างฝ่ายต่างสอนลูกหลานของฝ่ายตนว่าอย่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนในบ้านนี้เลย และเมื่อนึกถึงเรื่องที่ครอบครัวของคนที่มาขอจับมือด้วยนั้นทำกับครอบครัวของเขาอย่างไร ความทรงจำเก่า ความแค้น ความโกรธ ในอดีตหวนกลับมาทันที
ท่านคิดว่าผู้พูดคนนี้จะยอมจับมือและให้อภัยกับเพื่อนบ้านคนนี้หรือไม่
-----------------------------------------------------------

                   ผมคิดว่าเราหลายคนคงมีประสบการณ์เช่นนี้ บางครั้งเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากมากที่จะให้อภัยกับคนที่กระทำผิดต่อเรา นี้เองที่เป็นเรื่องที่ท้าทายเราคริสตชนทุกคนว่า เราสามารถกระทำตามคำสอนของพระเจ้าได้หรือไม่ เรื่องอะไรที่เราคิดว่าเราไม่สามารถยกโทษให้ได้เลย เราจะลดความโกรธแค้นของเราได้อย่างไร เราจะนำคำสอนของพระเยซูเจ้าไปปฏิบัติได้อย่างไร เราจะตอบสนองต่อพระวาจาของพระเจ้าในวันอาทิตย์นี้ที่ว่าท่านจะได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าได้อย่างไรถ้าท่านปฏิเสธพี่น้องของท่าน
-------------------------------------------------------------

                 ให้เรากลับมาพิจารณาเรื่องของคริสตชนที่พูดในการเสวนาอีกครั้งหนึ่ง ดูซิว่าเขาทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้านที่เคยไม่ถูกกันอย่างรุนแรงมาก่อน

                  คริสตชนคนนั้นภาวนาในใจว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า ผู้ไม่สามารถยกโทษให้ชายคนนี้ได้ ลูกขอโทษ แต่โปรดประทานความเข้มแข็งให้ลูกด้วย”

                  ในขณะนั้นเอง เขารู้สึกเหมือนกับว่ามีพลังอะไรบางอย่างที่มาจากนอกตัวของเขาช่วยยกมือของเขาขึ้นแล้วยื่นออกไปจับมือกับชายคนนั้น และเขาก็ได้พูดคุยกับชายคนนั้นด้วยความจริงใจ ซึ่งในชั่ววินาทีนั้น เขารู้สึกว่าเหมือนกับว่าเขาได้ยกเอาภูเขาที่สิงสถิตอยู่ในใจของเขาออกไป เขาบังเกิดความปีติสุขในจิตใจอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนเลย

                 “การให้อภัย” ซึ่งสามารถเยียวยาความวุ่นวายภายใจจิตใจของเราและของสังคมของเรานั้นไม่ได้มาจากตัวเรา เราเองไม่สามารถยกโทษให้ใครได้ ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเบื้องบน ซึ่งเราคริสชนเรียกว่า “พระหรรษทาน” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสั่งเราให้รักแม้กระทั่งศัตรู พระองค์ไม่ได้ทรงสั่งแต่อย่างเดียวแต่พระองค์ประทานพระหรรษทานให้กับเราด้วย ดังนั้นสิ่งใดที่เกินกว่าความสามารถของเรา ขอให้เราอย่าลืมวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เป็นต้นในวันนี้ในเรื่องของการยกโทษหรือการให้อภัยต่อบุคคลที่กระทำผิดต่อเรา

                 ในเรื่องของการอภัยกับบุคคลที่ยากแก่การให้อภัยนั้น เราสามารถกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน
                  ประการแรกการวอนของพละกำลังจากองค์พระผู้เป็นเจ้า “ข้าแต่พระเจ้าโปรดช่วยลูกให้สามารถให้อภัยกับพี่น้อง...ที่กระทำผิดต่อลูกด้วย อาแมน”

                 ประการที่สอง ให้เราหาเวลานั่งนิ่งๆอยู่ต่อหน้าพระเจ้า อาจจะเป็นในวัด หรือหน้ารูปพระที่อยู่ในบ้านของเรา พิจารณาคำสอนของพระเยซูเจ้าที่เราได้รับฟังในวันนี้ พิจารณาตนเองว่าเราเองได้รับพระเมตตาจากพระเจ้ามากมายเพียงใด เราเองก็เป็นคนบาป เราทำบาปมากมาย แต่พระเจ้าทรงยกโทษให้เราเสมอ แล้วเราทำไมยังไม่ยอมยกโทษให้ผู้อื่นบ้าง พระเจ้าทรงยกโทษให้เรา เพื่อให้เราออกไปยกโทษให้ผู้อื่น

              ประการที่สาม ให้เรามองศัตรูของเราในแง่มุมใหม่ คือ อย่าคิดว่าเขาเป็นศัตรูคู่แค้นของเรา แต่เขาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเหมือนๆกับตัวเราเอง ที่บางครั้งเราก็ผิดพลาด เราก็ยึดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ เขาเองก็มีความทุกข์ มีภาระเช่นเดียวกับเรา เราอย่าไปเพิ่มปัญหาให้แก่กันและกันเลย แต่พยายามมองข้อดีหรือสิ่งดีๆในตัวของเขาให้มากขึ้น พระเยซูเจ้าทรงภาวนาขณะที่ถูกตรึงอยู่ในบนไม้กางเขนว่า “พระบิดาเจ้าข้าโปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร”(ลูกา 23:34)

                 พระเยซูเจ้าทรงมองดูความเจ็บแค้นด้วยสายตาที่แตกต่างไปจากกับเรามนุษย์ พระองค์ทรงมองเหนือกว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่แต่ภายนอก พระองค์ทรงมองเราที่กระทำบาปและความผิดต่างๆอย่างที่เราเป็นจริงๆ คือ เราเป็นบุตรของพระบิดาที่ยังมีความอ่อนแอ ยังเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ แต่อยู่ในกระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อจะได้เป็นคนดีบริบูรณ์เหมือนพระบิดาเจ้าสวรรค์ของเรา

                 การที่เราจะยกโทษให้ศัตรูของเราได้นั้น เราต้องเริ่มต้นด้วยการมองโลกและคนในแง่มุมใหม่ เราต้องมองเพื่อนมนุษย์ของเราด้วยสายตาของพระเยซูเจ้า
-----------------------------------------------------

                  สรุปคำตอบสำหรับการยกโทษให้ผู้อื่นนั้น เราต้องเริ่มจากการภาวนาขอพระหรรษทานจากพระเจ้าเพื่อให้เรากล้าที่จะยกโทษให้ผู้อื่น สองดูแบบอย่างของพระเยซูเจ้าที่ยกโทษให้อย่างไม่มีสิ้นสุด สามมองบุคคลที่เราไม่ชอบหรือมีเรื่องกับเราด้วยสายตาของพระเยซูเจ้า
 ขอพระเจ้าประทานพระพรแก่ทุกท่าน

 



บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก