ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ประตูแห่งพระเมตตา) มี ความหมายเป็นพิเศษหมายถึงพระคริสตเจ้า (เทียบ ยน 10:7,9)“ซึ่งผู้ที่ผ่านเข้าไปจะรู้สึกและมีประสบการณ์ถึงความรักของพระเจ้า ผู้ประทานความบรรเทา ทรงให้อภัย และสร้างความหวังให้เรา”ประตูนี้คือประตูที่นำไปสู่ความรอดพ้น
ความหมายของการเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละสังฆมณฑลทั่วโลก คือ “เพราะฉะนั้นวัดพิเศษแต่ละแห่งจะมีส่วนร่วมโดยตรงในการเจริญชีวิตปี ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือเป็นเวลาพิเศษสุดแห่งพระพรและการฟื้นฟูชีวิตใหม่ ดัง นั้น จะมีการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ทั้งที่กรุงโรม และวัดพิเศษต่าง ๆ ดุจเครื่องหมายแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันที่มองเห็นได้ในพระศาสนจักรทั่ว โลก”
ในสมณโองการพระพักตร์แห่งความเมตตา ข้อ 14 พระสันตะปาปาทรงเน้นว่าการจาริกแสวงบุญมีความหมายพิเศษในปีศักดิ์สิทธิ์ “เพราะหมายถึงการเดินทางที่เราแต่ละคนดำเนินไปในชีวิตนี้ ชีวิตคือการเดินทาง และมนุษย์คือนักเดินทาง เป็นนักเดินทางที่ท่องไปตามถนนหนทางมุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่ปรารถนา ในทำนองเดียวกัน เพื่อก้าวสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ ณ กรุงโรม หรือ ณ ที่ใดที่หนึ่งในโลก ทุกคนต้องออกจาริกตามความสามารถของตน เป็นเครื่องหมายว่าพระเมตตาคือจุดหมายที่เราต้องไปให้ถึง ซึ่งแน่นอนว่าเรียกร้องการเสียสละและพลีกรรม ขอ ให้การจาริกแสวงบุญของพวกท่านเป็นเครื่องกระตุ้นให้กลับใจ อาศัยการก้าวข้ามประตูศักดิ์สิทธิ์ พวกเราจะได้พบพลังที่จะโอบรับพระเมตตาของพระเจ้า และอุทิศตนเป็นผู้มีเมตตาต่อผู้อื่น ดังที่พระบิดาเจ้าทรงมีต่อเรา”
จะเห็นว่าพระสันตะปาปาทรงเน้นให้คริสตชนกลับไปสู่จิตตารมณ์และรูปแบบของการ แสวงบุญอย่างแท้จริง การแสวงบุญไม่ใช่แค่เพียงไปทัศนศึกษาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พระศาสนจักร กำหนด พระองค์จึงเน้นว่าน่าจะมีเส้นทางที่สัตบุรุษจะจาริกไปสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์
พระสันตะปาปาทรงชี้ให้เห็นถึงการแสวงบุญในภาคปฏิบัติด้วยในภาคปฏิบัติ พระเยซูคริสต์ทรงแสดงให้เราเห็นขั้นตอนการจาริกแสวงบุญ เพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ “อย่าตัดสินเขาแล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน จงให้อภัยเขาแล้วพระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน จงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน ท่านจะได้รับเต็มสัดเต็มทะนานอัดแน่นจนล้น เพราะว่าท่านใช้ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทนให้ท่านด้วย” (ลก 6:37-38)
ตลอดปีศักดิ์สิทธิ์นี้ พระสันตะปาปาทรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้บรรดาคริตชนคำนึงถึงงานเมตตาจิต ด้านร่างกายและงานเมตตาจิตด้านจิตใจ(สมณโองการพระพักตร์แห่งความเมตตา ข้อ 15)