PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

การฉลองนี้ยังเรียกอีกว่าการ “ฉลองพระแม่มารีย์ถือศีลชำระ” และ “การฉลองการเสกเทียน(the Feast of the Purification of Mary, และ the Feast of Candlemas.)และยังเรียกอีกว่าการฉลองของการบรรจบกัน(Feast of Encounter: (Hypapánte in Greek) ระหว่างพันธสัญญาใหม่และพันธสัญญาเดิมโดยมีพระกุมารเยซูเป็นตัวแทนของพันธสัญญาใหม่และสิเมโอนและอันนาเป็นตัวแทนของพันธสัญญาเดิม โยเซฟถวายนกพิราบสองตัวในพระวิหารเพื่อเป็นเครื่องบูชาแห่งการชำระมลทินของพระแม่มารีย์หลังจากให้กำเนิดบุตรและเป็นสินไถ่ให้กับพระกุมารเยซู (พระองค์ไม่มีบาปแต่ทำตามธรรมเนียมชาวยิว)

ข.พระคัมภีร์และคำสอน           
         1.บทอ่านที่หนึ่ง (มลค3:1-4) ประกาศกมาลาคี(เขียนขึ้นระหว่าง ก.ค.ศ. 440 -400) สารที่ต้องการบอกก็คือพระเจ้าจะเสด็จมากรุงเยรุซาเล็มอย่างปัจจุบันทันด่วนเพื่อชำระบรรดาสงฆ์ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมให้สะอาดเหมือนใช้ไฟถลุงโลหะ หรือสบู่ของคนซักฟอก สิเมโอนมองเห็นพระกุมารเยซูในฐานะที่ทำให้ข้อความนี้สำเร็จลง เขาเห็นพระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าที่เสด็จมาในพระวิหาร “นัยน์ตาของข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้ช่วยให้รอดพ้น ผู้ที่พระองค์ทรงเตรียมไว้สำหรับนานาชาติ...เป็นสิริโรจน์สำหรับชาวอิสราเอล”
        2.บทอ่านที่สอง (ฮบ2:14-18) นักบุญเปาโลประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นมหาสมณะนิรันดร์แห่งพันธสัญญาใหม่ผู้ที่มอบตนเองบนพระแท่นแห่งกัลวารี เป็นสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า และมาแทนที่สงฆ์ในอดีต
        3.พระวรสาร (ลก 2:22-32) นำเสนอเหตุการณ์ที่นักบุญโยเซฟ ในฐานะหัวหน้าครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แห่งนาซาเร็ธนำแม่พระและพระกุมารเยซูไปถวายแด่พระเจ้า เพื่อให้แม่พระได้รับการชำระและการไถ่พระบุตรกลับคือมา และยังได้เล่าถึงครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ได้พบกับประกาศกสิเมโอนและนางอันนา ซึ่งประกาศกได้กล่าวว่าพระกุมารจะเป็นผู้นำความรอดมาให้ช่วยอิสราเอล และยังทำนายล่วงหน้าว่าพระแม่มารีย์จะต้องได้รับความยากลำบากในการร่วมงานไถ่บาปของพระบุตร

    
ค.ปฏิบัติ          
       1.“ถวายตัวของเราแด่พระเจ้า” ทุกๆมิสซาที่เราเข้าร่วมเราก็ได้เข้ามาถวายตัวแด่พระเจ้าแล้ว ซึ่งวันถวายตัวของเราอย่างเป็นทางการนั้นก็คือวันที่เราได้รับศีลล้างบาป เราถวานตัวเราและคนที่เรารักแด่พระเจ้าบนพระแท่น ต่อหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้า พระบิดาของเราโดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ในทุกๆมิสซาที่เราเข้าร่วม ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินชีวิตประจำวันของเราด้วยความสำนึกว่าเราเป็นทั้งบุคคลที่ได้อุทิศตนจากการเจิมถวายตนแด่พระเจ้า แล้วยังมีหน้าที่ที่จะดำเนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์

      2.“วอนขอพระจิต” ให้เราสำนึกถึงการประทับอยู่ของพระเยซูในชีวิตประจำวันของเราและของผู้อื่นหลายคนดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อศรัทธาอย่างมั่นคงและรับใช้พระเจ้าอย่างเงียบๆ เหมือนสิเมโอนและอันนาแม้จะไม่มีใครเห็นความสำคัญในชีวิตของพวกเขา  แต่กลับเป็นเครืองมือที่พระจิตเจ้าทรงใช้เพื่อทำให้คนอื่นๆรู้จักพระเยซูคริสต์ ในแผนการของไถ่บาป พระเจ้าทรงใช้คนซื่อๆ ธรรมดาๆ เหล่านี้เพื่อทำสิ่งที่ดีๆ สำหรับมนุษย์ชาติ พูดอีกแง่หนึ่งพระจิตทรงใช้คนเหล่านี้ให้เป็นเครื่องมือเพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซูคริสต์ ดังนั้นให้เราเปิดใจวอนขอพระจิตทรงช่วยเราให้ทำเหมือนสิเมโอนและอันนาในการอุ้ม(นำ)พระเยซูเจ้าออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จักและมาพึ่งพระบารมีของพระองค์

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก