PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

จงชื่นชมยินดีเถิด (Gaudete Et Exsultate)จงชื่นชมยินดีเถิด (Gaudete Et Exsultate)
    
   สมณลิขิตเตือนใจ “จงชื่นชมยินดีเถิด” ( Gaudete Et Exsultate) เป็นสมณลิขิตฉบับที่ 3 ต่อจาก “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (EvageliiGuadium) ในปี ค.ศ.2013 และ “ความปีติยินดีแห่งความรัก” (AmorisLaetitia) เกี่ยวกับความรักในครอบครัวในปี ค.ศ.2016


พระเจ้าทรงเรียกเราทุกคนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
         “จงชื่นชมยินดีเถิด!” คือ ถ้อยคำที่พระเยซูเจ้าตรัสไว้ในบทเทศน์บนภูเขา (The Sermon on the Mount) และเป็นหัวข้อของสมณลิขิตเตือนใจฉบับใหม่ของพระสันตะปาปาฟรังซิสพระองค์ทรงเตือนใจให้เราใช้ชีวิตด้วยความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตประจำวัน คำถามว่าทำไมเราจึงควรที่จะชื่นชมยินดีคำตอบนั้นเป็นดังที่พระสันตะปาปาทรงย้ำเตือนเรา คือเป็นเพราะพระเจ้าทรงเรียกเราทั้งหลายให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์แต่เราจะตอบรับเสียงเรียกนั้นอย่างไร

           “การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เรียกร้องให้เราต้องมาเป็นพระสังฆราชพระสงฆ์ หรือนักบวช” (ข้อ 14) เพราะทุกคนได้รับการเรียกให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้วดังที่สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ได้ย้ำเตือนเราไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ นักเรียนหรือนักกฎหมาย อาจารย์หรือนักการทุกคนล้วนแล้วแต่สามารถที่จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้องให้ทุกคนจำเป็นจะต้องดำเนินชีวิตของเราด้วยความรักและเป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงพระเจ้าในทุกสิ่งที่เราทำพระสันตะปาปาทรงเขียนข้อความย้ำในทวิตเตอร์ที่ว่า “การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เรียกร้องให้เราต้องมาเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์ หรือนักบวช” (ข้อ 14)

          ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ถึงจะได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงยกตัวอย่างเรื่องศีลธรรมในชีวิตประจำวัน เช่นความรักของพ่อแม่ที่ดูแลลูกๆ จนเติบใหญ่หรือการกระทำดีที่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสละนิสัยบางอย่าง เช่น การไม่ปลงใจไปสู่การซุบซิบนินทาถ้าเราสามารถมองชีวิตของเราเป็นเช่น พันธกิจเมื่อนั้นเราจะตระหนักได้ในไม่ช้าว่าเราสามารถใช้ความรักและน้ำใจดีให้นำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างง่ายดาย

           อย่างไรก็ตามเราก็ไม่จำเป็นต้องทำตัวเพื่อที่จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ แบบหน้ามืดตามัวหรือ แบบก้มหน้าก้มตาทำ ไม่จำเป็นต้องแปลกแยกตัวออกจากคนอื่นๆ นอกจากนี้ต้องไม่ทำตัวเหมือนหนูบนลู่วิ่งรีบร้อนเพื่อไปถึงจุดหมายคือการเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์แต่เราควรทำตัวให้มีความสมดุลระหว่างการกระทำภายนอกกับชีวิตภายในซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง(James Martin, S.J.)


คำเตือนเกี่ยวกับเฮเรติก
         สำหรับบางคนที่ใช้เวลาส่วนมากในชุมชนวัดหรือ แม้แต่ที่เรียกกันว่า “ทวิตเตอร์คาทอลิก” ซึ่งเป็นพฤติกรรมของสัตบุรุษที่พระสันตะปาปาฟรังซิสอธิบายไว้ในสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้อย่างไรก็ตามคำอธิบายของพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับความโน้มเอียงเหล่านี้เป็นประกฎการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเช่นเดียวกับกลุ่มเฮเรติกในสมัยก่อน นั่นคือ แนวคิดแบบนอสติกนิยม (Gnosticism) และ เพลาเจียนนิยม (Pelagianism)

          กลุ่มเฮเรติกนอสติกนิยม และ เพลาเจียนนิยม เป็นเหมือนเหรียญที่มีสองด้านเพราะรูปแบบของกลุ่มนอสติกนิยมในปัจจุบัน คือการผจญล่อลวงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนน้อยลงต่อแนวคิดที่เป็นนามธรรมออกจากรูปธรรม ดังที่ สมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้ได้ชี้ประเด็นให้เห็น นั่นคือ “อาจจะดูเข้มงวดและมีคำสอนอันบริสุทธิ์กลมกลืน...[ความเชื่อ]และพวกเขาสามารถอธิบายถึงทุกอย่างที่เป็นไปในโลกนี้ได้” (ข้อ 38) อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วความเข้าใจผิดในยึดถือแนวคิดเช่นนี้ก็ต้องล้มเหลวเพราะไปพัวพันกับความยุ่งเหยิงของชีวิตจริง เพราะเรื่องของพระเจ้าเป็นพระธรรมล้ำลึกที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย

           บางทีสิ่งที่อาจแพร่หลายมากขึ้นในพระศาสนจักรยิ่งกว่ากลุ่มนอสติกนิยมที่หยิ่งผยองนั่นก็คือ รูปแบบใหม่ที่หลากหลายของกลุ่มเพลาเจียนนิยม กล่าวคือ ความเชื่อในพลังอำนาจความสำเร็จ และการกระทำภายนอกของตัวเราเองแต่กลับลดอำนาจแห่งความรอดพ้นและความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยแนวคิดปัจเจกบุคคล คือ “ความรู้สึกว่าอยู่เหนือคนอื่น เพราะการรักษากฎระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัดหรือการรักษาความเชื่อของคำสอนคาทอลิกที่มีลักษณะเฉพาะโดยไม่รู้จักประนีประนอมทัศนคติเช่นนี้สามารถล่อลวงเราได้ รวมทั้งการครอบงำทางความคิดที่ว่าจำต้องถือปฏิบัติตามแบบแผนพิธีกรรมของพระศาสนจักรตามตัวอักษร รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากความยุติธรรมทางสังคมด้วยการฉวยโอกาส” (เทียบ ข้อ 57) โดยปราศจากการทรงนำด้วยพระหรรษทานและพระจิตเจ้าเราเปลี่ยนจากการมองหาพระเจ้า เป็นมองแต่ตัวเราเอง


           ในสมณลิขิตเตือนใจของพระสันตะปาปาฟรังซิสมีความเรียบง่ายที่ลึกซึ้งเราถูกเรียกให้เป็นมากกว่าที่เราเป็น นั่นคือ ประชากรของพระเจ้าเป็นการเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมผลักดันเราให้สร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าอย่างกระตือรือร้น

         พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงอธิบายข้อความที่ว่า “สิ่งสำคัญ ก็คือ ผู้ที่มีความเชื่อแต่ละคนได้มองเห็นถึงหนทางของพวกเขาเองซึ่งจะทำให้พวกเขานำสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากตนเองที่เป็นพระพรพิเศษส่วนตัวของพวกเขา ที่พระเจ้าประทานให้ลงในจิตใจของพวกเขา” (ข้อ 11)

พระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็นใคร
        พระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างไรเราได้ยินเสียงเรียกส่วนบุคคลให้ก้าวไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ที่ดูเหมือนเป็นความจริงบนโลกในชีวิตประจำวันของเราและในการเป็นประจักษ์พยานยืนยันอย่างเรียบง่ายด้วยสัมพันธภาพในแต่ละวันกับเพื่อนบ้านของเรานั่นเอง

การสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า
         ถ้าหากเป็นการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์มีความเป็นส่วนตัวอย่างลึกซึ้งแล้ว จะไม่นำเราไปสู่การแปลกแยกเราถูกเรียกให้ไปด้วยกันนี่คือแรงผลักดันที่เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นพระเจ้าสร้างสัมพันธภาพกับประชากรของพระองค์

         สิ่งที่บ่งบอกถึงระบบสังคมที่เป็นรากฐานและความสนิทชิดเชื้อกันดังเช่นบทภาวนาของพระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญยอห์น บทที่ 17 ข้อ 21 ที่ว่า “เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์” พระสันตะปาปาฟรังซิสย้ำเตือนว่า “เราไม่เคยที่จะสมบูรณ์เว้นแต่เราจะเป็นประชากรของพระองค์ นั่นคือเหตุผลว่าไม่มีใครถูกกอบกู้เพียงคนเดียวอย่างที่แปลกแยกเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงชักจูงเราให้ไปหาพระองค์คำนึงถึงความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีอยู่ในชุมชนสังคมมนุษย์” (ข้อ 6) และพระสันตะปาปาทรงกล่าวซ้ำทิ้งท้ายด้วยว่า “ความเจริญเติบโตขึ้นในความศักดิ์สิทธิ์ คือ การเดินทางของการอยู่ร่วมกันอยู่เคียงข้างกับผู้อื่น” (ข้อ 141) —Meghan J. Clark
การเข้าถึงจิตตารมณ์แบบอิกญาซีโอ

          งานเขียนและบทเทศน์อื่นๆของพระสันตะปาปาฟรังซิสมักจะแสดงถึงธรรมประเพณีด้านจิตตารมณ์แบบอิกญาซีโออย่างชัดเจนพระองค์ไม่ตรัสแบบอ้อมค้อม โดยตรัสว่า “ชีวิตคริสตชนคือชีวิตที่ต้องต่อสู้อยู่เสมอเราจำเป็นต้องมีพละกำลังเข้มแข็งและกล้าหาญ ที่จะอดทนต่อการผจญของปีศาจและประกาศพระวรสาร การต่อสู้นี้ช่างหวานล้ำจนทำให้เราชื่นชมยินดีในทุกๆเวลาที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัยชนะในชีวิตของเรา” (ข้อ 158)

          คริสตชนต้องพบกับหนทาง 2 แบบ 2 มาตรฐาน กล่าวคือ ประการแรก หนทางของพระเยซูเจ้าผู้ซึ่งทำให้ความมืดปรากฏเด่นชัด นำเราไปสู่แสงสว่างนิรันดรส่วนประการที่สอง คือหนทางของปรปักษ์ที่มีแต่แสงจอมปลอมนำเราไปสู่ความมืดมิดและความผิดหวังทางเลือกปฏิบัติตนของเราไม่ใช่การเลือกหนทางแค่เพียงครั้งเดียวแต่ต้องฟื้นฟู กลับใจใหม่ทุกๆวัน ด้วยเหตุนี้ ตามพระดำรัสของพระสันตะปาปา จำเป็นต้องรู้จักการไตร่ตรองแยกแยะ (discernment) อย่างเร่งด่วนพระสันตะปาปาทรงเขียนข้อความในทวีตเตอร์นี้

         “การไตร่ตรองแยกแยะ (discernment) เรียกร้องบางสิ่งมากกว่าความฉลาดรอบรู้ หรือสามัญสำนึกการไตร่ตรองแยกแยะที่แท้จริง คือ พระหรรษทาน” “เราสามารถทราบได้อย่างไรว่าบางสิ่งมาจากพระจิตเจ้า หรือถ้าอาจจะมาจากจิตของโลก หรือจิตของปีศาจ” (ข้อ 166) ดังนั้น การไตร่ตรองแยกแยะจึงไม่ใช่กระบวนการแรกในการตัดสินใจแต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความพากเพียรและมีความยุ่งยากซับซ้อนมากเพื่อความเข้าใจว่าจิตแบบไหนกำลังนำเรา “การไตร่ตรองแยกแยะเรียกร้องบางสิ่งมากกว่าความฉลาดรอบรู้ หรือสามัญสำนึกการไตร่ตรองแยกแยะที่แท้จริง คือ พระหรรษทาน “เป็นพระพรที่เราต้องอ้อนวอนขอ” (ข้อ 166)

            เป็นเพราะเราทั้งหลายต่างมีใจโน้มเอียงโดยการหลอกตนเองดังนั้น พระสันตะปาปาจึงทรงกระตุ้นเตือนเราว่า “ขอให้บรรดาคริสตชนทุกคนอย่าละเลยที่จะสนทนากับองค์พระผู้เป็นเจ้าโดยการพิจารณามโนธรรมประจำวันอย่างจริงจัง” (ข้อ 169) —Rev. Robert P. Imbelli

ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกออนไลน์
           จงหยุดโพสต์ในสิ่งที่ทำลายคนอื่นจงต่อต้านการซุบซิบนินทา และจงพิจารณาที่จะวางมือในเรื่องเหล่านี้นั่นเป็นคำแนะนำของพระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อว่าเราจะทำอย่างไรให้โลกออนไลน์มีความศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเห็นว่า “การใช้ถ้อยคำที่รุนแรงผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต และกลุ่มสนทนาออนไลน์ต่างๆหรือสังคมดิจิตอล” (ข้อ 115) พระองค์ทรงกล่าวว่า “แม้แต่สื่อมวลชนคาทอลิกสามารถก้าวข้ามข้อจำกัด การหมิ่นประมาทและการใส่ร้ายป้ายสี ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดา และทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมและการเคารพชื่อเสียงของผู้อื่นนั้นได้ถูกทำให้เสื่อมเสียไป” (ข้อ 115)

(บราเดอร์อุดมศักดิ์  ว่องประชานุกูล ถอดความจาก James Martin, S.J.)

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก