UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน



     ในประเพณีคริสตศาสนาคาทอลิกปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee or Holy Year)เป็น เวลาพิเศษแห่งพระเมตตาของพระเจ้าการให้อภัยบาปและโทษของบาป เป็นเวลาแห่งการคืนดีกัน การกลับใจและการรับศีลแห่งการคืนดี เป็นการส่งเสริมชีวิตศักดิ์สิทธิ์ การชุมนุมเพื่อทำให้ความเชื่อเข้มแข็ง การสนับสนุนงานเมตตา ความเป็นหนึ่งเดียวแบบพี่น้องในพระศาสนจักรและสังคม และเรียกร้องบรรดาคริสตชนให้ดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างจริงใจและสอดคล้องกับ ความเชื่อในพระคริสตเจ้าผู้ทรงนำชีวิตและพระหรรษทานแก่มนุษย์ทุกคนมากยิ่ง ขึ้น
     การกำเนิดปีศักดิ์สิทธิ์ได้ มีการกำหนดในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมในกฎหมายของโมเสส (ลนต25:10-14)ในพันธสัญญาใหม่พระเยซูเจ้าทำให้คำสอนปีศักดิ์สิทธิ์เป็นความ จริง “ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากองค์พระผู้เป็นเจ้า”(อสย61:1-2;ลก4:18-21)ต่อ มาพระสันตะปาปาโบนิฟาส ที่ 8ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกให้ปีค.ศ. 1300 เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงกำหนดให้ทุกๆ รอบ 100 ปี เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 6 ทรงประกาศลดจาก 100 ปี มาเป็นทุกๆ 50 ปี เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1343 และทรงประกาศให้ปี ค.ศ. 1350 เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปาเปาโลที่ 2 (ค.ศ. 1464-1471) ได้กำหนดให้ทุก 25 ปี เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ เพราะทรงเห็นว่าชีวิตมนุษย์นี้เปราะบาง ชีวิตมนุษย์สั้น และเกิดความทุกขเวทนา อันเนื่องมาจากบาป ปีศักดิ์สิทธิ์ทุกๆ 25 ปี จะสามารถช่วยจิตวิญญาณของมนุษย์ได้และการฉลองปีศักดิ์สิทธ์ทุก 25 ปี เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1475ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาซิกตูสที่ 4 ส่วนปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษกำหนดโดยพระสันตะปาปาในโอกาสพิเศษนักบุญยอห์น ปอล ที่2พระสันตะปาปาได้ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ครั้งล่าสุดในพระศาสนจักรคือปี “ปีติมหาการุญ” ค.ศ.2000

     ในตอนบ่ายวันเสาร์ที่ 11เมษายน ค.ศ.2015 ก่อนการทำวัตรเย็นที่ 1 ของวันอาทิตย์ที่ 2เทศกาลปัสกาหรือวันอาทิตย์พระเมตตา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม ด้วยสมณโอการชื่อ “พระพักตร์แห่งความเมตตา” (MisericordiaeVultus)เพื่อเป็นช่วงเวลาให้คริสตชนทุกคนได้สัมผัสพระเมตตา ของพระเจ้า เพื่อจะมีความเชื่อเข้มแข็ง และเป็นพยานชีวิตถึงพระเจ้าอย่างมีประสิทธิภาพในสมัยปัจจุบัน สมณโองการ มีเนื้อหาจำนวน 25ข้อซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาสำคัญได้ดังนี้

ภาค1 บทนำ (ข้อ 1-5)
(ข้อ 1) พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระพักตร์แห่งความเมตตาของพระบิดา วลีนี้สรุปพระธรรมล้ำลึกของความเชื่อของคริสตชน พระเมตตาได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และมองเห็นได้ในพระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธจน บรรลุถึงจุดสูงสุดในพระองค์ “ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย”(ยน14:9) พระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธทรงเปิดเผยพระเมตตาของพระเจ้าด้วยคำพูด การกระทำและด้วยความเป็นมนุษย์ทั้งครบของพระองค์(Dei Verbum,41)
(ข้อ 2) เราจำเป็นต้องหมั่นเพ่งพิศธรรมล้ำลึกเรื่องพระเมตตาอยู่เสมอ พระเมตตาเป็นบ่อเกิดความชื่นชมยินดี ความสงบราบรื่นและสันติสุข ความรอดพ้นของเราขึ้นอยู่กับพระเมตตา พระเมตตาคือภาษาที่เปิดเผยธรรมล้ำลึกแท้ของพระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ ทำให้พระเจ้าเสด็จมาหามนุษย์ เป็นกฎพื้นฐานในใจมนุษย์ทุกคนผู้มองอย่างจริงใจเข้าไปในดวงตาของพี่น้องผู้ กำลังเดินบนหนทางชีวิต เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ เพื่อมนุษย์จะเปิดใจสู่ความหวังในการเป็นที่รักตลอดนิรันดรกับพระเจ้า แม้เราเป็นคนบาปก็ตาม
(ข้อ 3-5)หมายกำหนดการของปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม

วันเปิดปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมคือ วันที่ 8 ธันวาคม 2015วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมลและมีการเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของพระมหาวิหารนักบุญเปโตร การเลือกวันนี้เพราะเป็นโอกาสครบ 50 ปีแห่งการปิดประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2พระศาสนจักรรู้สึกมีความจำเป็นที่จะรักษาความมีชีวิตชีวาของเหตุการณ์นี้ เพื่อการประกาศพระวรสารครั้งใหม่

     วันอาทิตย์ถัดไปคือวันอาทิตย์ที่ 3เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า จะมีพิธีเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของอาสนวิหารแห่งกรุงโรมคือ พระมหาวิหารนักบุญยอห์นลาเตรัน ในสัปดาห์ถัดไป จะมีการเปิดประศักดิ์สิทธิ์ในพระมหาวิหารแห่งอื่น ในสัปดาห์เดียวกันนี้จะมีการเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของอาสนวิหารของพระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่ง วัดที่มีความสำคัญหรือสักการะสถานที่มีผู้มาแสวงจำนวนมาก กำหนดตามดุลยพินิจของพระสังฆราชของท้องถิ่นนั้น

     วันปิดปีศักดิ์สิทธิ์คือวันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล20พฤศจิกายน ค.ศ.2016และ มีพิธีปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ในวันนั้นด้วยข้าพเจ้าปรารถนาให้ปีหน้าเป็นปีที่ เปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระเจ้า ซึ่งเราจะนำไปให้พี่น้องชายหญิงทุกคน เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระอาณาจักรพระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางเราแล้ว

เทศกาล มหาพรตในปีศักดิ์สิทธิ์ควรดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น เพราะเป็นเวลาพิเศษแห่งการฉลองและการมีประสบการณ์พระเมตตาของพระเจ้า จึงควรจัด“พิธีเฝ้าศีลมหาสนิท 24 ชั่วโมง” ในวันศุกร์และวันเสาร์ก่อนสัปดาห์ที่สี่เทศกาลมหาพรต(วันที่ 4-5มีนาคม 2016)เพื่อให้ทุกคนโดยเฉพาะบรรดาเยาวชนจะได้มีโอกาสรับศีลอภัยบาป (ข้อ 17)

ภาค2 คำสอนพื้นฐานจากพระคัมภีร์ ข้อความเชื่อและเทววิทยาเรื่องพระเมตตาของพระเจ้า (ข้อ6-12)
(ข้อ6)นักบุญโทมัสอไควนัสกล่าวว่า “เป็นลักษณะเฉพาะของพระเจ้าที่จะแสดงความเมตตา พระองค์ทรงสำแดงพระสรรพานุภาพของพระองค์โดยเฉพาะในลักษณะนี้” (Summa Theologiae,II-II,q30,a4.1) ดังนั้นพระเมตตาของพระเจ้ามิใช่เครื่องหมายของความอ่อนแอ แต่เป็นเครื่องหมายพระสรรพานุภาพของพระองค์ พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมมักใช้คำอธิบายพระธรรมชาติของพระเจ้าว่า “ทรงพากเพียรอดทนและทรงพระเมตตา”(สด ด103:3-4;146:7-9:147:3.6)เป็นเหมือนความรักของพ่อแม่ที่รักลูกจากก้นบึ้ง ของหัวใจ ความรักที่หลั่งไหลออกมาอย่างเป็นธรรมชาติจากส่วนลึกของใจ เปี่ยมด้วยความอ่อนโยนและความเห็นอกเห็นใจ เปี่ยมด้วยพระคุณการุณย์และความเมตตา
(ข้อ7) “ความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์” เป็นบทสร้อยตอบรับเพลงสดุดีแต่ละวรรคในบทเพลงสดุดีที่ 136ที่เล่าประวัติศาสตร์การเปิดเผยของพระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระเจ้าต่อชนชาติอิสราเอลทำให้ประวัติศาสตร์ของชนชาติ อิสราเอลกลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ชาวอิสราเอลใช้บทสดุดีนี้ในพิธีกรรมสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาด้วยบทเพลงสดุดีบทนี้ “เมื่อขับร้องเพลงสดุดีแล้ว”(มธ26:30) พระองค์ทรงตั้งศีลมหาสนิทและทรงเข้าสู่พระทรมานและการสิ้นพระชนม์บนไม้ กางเขน เป็นการท้าทายคริสตชนให้ภาวนาในชีวิตประจำวันด้วยบทสดุดีนี้ด้วย “ความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์”
(ข้อ8) พระเยซูเจ้าทรงได้รับพันธกิจจากพระบิดาคือ การเปิดเผยธรรมล้ำลึกแห่งความรักของพระเจ้าพระตรีเอกภาพ “พระเจ้าทรงเป็นความรัก”(1ยน4:8,16) ความรักนี้แสดงออกในชีวิตของพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อคนบาป คนยากจน คนชายขอบ คนป่วย คนที่มีความทุกข์(มธ9:36;14:14;15:37;ลก7:15;มก5:19) พระเยซูเจ้าทรงเรียกมัทธิว(มธ9:9-13;มก2:13-14;ลก5:27-28)พระองค์ทรงมองมัท ธิวด้วยความรักเมตตาและทรงเลือกเขา พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเลือกเป็นคติพจน์ประจำตำแหน่งพระสังฆราช“พระองค์ทรงเรียกและทรงเมตตาต่อเขา” “miserandoatqueeligendo”
(ข้อ9)ในอุปมาเรื่องพระเมตตาพระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยพระธรรมชาติของพระเจ้า เหมือนบิดาผู้ให้อภัยด้วยความเมตตา อุปมาสามเรื่องเรื่องแกะที่หายไป เรื่องเงินเหรียญที่หายไป และเรื่องลูกชายที่หายไป (ลก15:1-32) พระเจ้าทรงอภัยด้วยความยินดี ความเมตตาเป็นพลังที่ชนะทุกสิ่ง ทำให้หัวใจเต็มไปด้วยความรัก นำการบรรเทาใจโดยการให้อภัย อุปมาเรื่อง “ลูกหนี้ไร้เมตตา”(มธ18:21-35) ความเมตตากลายเป็นบรรทัดฐานการเป็นบุตรของพระเจ้าเรา ได้เรียกให้มีความเมตตาต่อผู้อื่นเพราะเราได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าก่อนการ ให้อภัยเป็นการแสดงความรักเมตตาซึ่งคริสตชนต้องปฏิบัติอย่างหาข้อแก้ตัวไม่ ได้ “จงเลิกโกรธก่อนดวงอาทิตย์ตก”(อฟ4:26) “ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา”(มธ5:7)เป็นความสุขแท้ที่เราต้องแสวงหา โดยเฉพาะในปีศักดิ์สิทธิ์นี้
(ข้อ10) ความเมตตาเป็นรากฐานที่แท้จริงของชีวิตพระศาสนจักร กิจการด้านอภิบาลควรช่วยให้สัตบุรุษสัมผัสความอ่อนโยน มีความเมตตาทั้งในการเทศน์สอนและประจักษ์พยานชีวิต ความน่าเชื่อถือของพระศาสนจักรอยู่ที่การแสดงความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตา พระศาสนจักรมีความปรารถนาไม่สิ้นสุดที่จะมอบความเมตตากรุณา (E.G.24)ความยุติธรรมเป็นก้าวแรก พระศาสนจักรต้องก้าวต่อไปสู่การปฏิบัติเมตตาธรรมเพื่อช่วยผู้อ่อนแอและช่วย ผู้ต่อสู้ดิ้นรนให้มีชีวิตใหม่ ช่วยสร้างแรงบรรดาลใจให้มองอนาคตด้วยความหวัง
(ข้อ11) นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ในสมณสาส์น “พระเมตตาของพระเจ้า”มีสองตอนที่น่าสนใจข้อความแรกกล่าว ว่า สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมทุกวันนี้ ดูเหมือนไม่ยอมรับพระเจ้าแห่งความเมตตายิ่งกว่าคนในอดีต ขจัดความคิดเรื่องพระเมตตาออกไปจากชีวิต เพราะโลกมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก แต่ปัจจุบันมนุษย์มีความเข้าใจมากขึ้น หลายคนหรือหลายกลุ่มมีความเชื่อที่มีชีวิตได้กลับมาหาพระเมตตาของพระ เจ้า(D.M.2) ข้อความตอนที่สอง กล่าวถึงการเป็นประจักษ์พยานถึงพระเมตตาของพระเจ้าเป็นเรื่องเร่งด่วนใน ปัจจุบัน พระศาสนจักรมีชีวิตน่าเชื่อถือแท้จริงเมื่อประกาศถึงพระเมตตาของพระเจ้า และนำประชากรสู่ต้นธารพระเมตตาขององค์พระผู้กอบกู้ ซึ่งพระศาสนจักรได้รับมอบหมายดูแลและแจกจ่ายพระเมตตาของพระเจ้า (D.M.13)
(ข้อ12) พระศาสนจักรได้รับมอบหมายให้ประกาศพระเมตตาของพระเจ้า ซึ่งเป็นหัวใจของพระวรสาร เพื่อการประกาศพระวรสารครั้งใหม่ พระศาสนจักรต้องดำเนินชีวิตเป็นพยานถึงพระเมตตา ภาษาและท่าทีของพระศาสนจักรต้องถ่ายทอดความเมตตาเพื่อสัมผัสใจทุกคน ความจริงประการแรกของพระศาสนจักรคือความรักของพระคริสตเจ้า เราเป็นผู้รับใช้ความรักที่ใดมีพระศาสนจักรพระเมตตาของพระบิดาต้องปรากฏขี้ นอย่างชัดเจน ในวัด ชุมชน สมาคม องค์กร ขบวนการของพระศาสนจักร หรือพูดง่ายๆก็คือทุกแห่งที่มีคริสตชนทุกคนต้องพบโอเอซิสหรือที่พักพิงของ พระเมตตาของพระเจ้า
Misericordiae Vultus

ภาค3แนวการดำเนินชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม (ข้อ 13-25)
(ข้อ13) พระวาจานำชีวิตเป็น “คติพจน์” ของปีศักดิ์สิทธิ์นี้คือ“จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด”(ลก6:36) เป็นแผนการชีวิตที่นำความชื่นชมยินดีและสันติสุข แต่เรียกร้องและเปิดเผยแก่ผู้เต็มใจฟังเสียงของพระองค์ (ลก6:27) เพื่อเราจะสามารถมีความเมตตาก่อนอื่นเราต้องทำใจให้พร้อมที่จะฟังพระวาจาของพระเจ้า พบคุณค่าความเงียบเพื่อรำพึงพระวาจา เพ่งพิศพระเมตตาของพระเจ้าและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา
(ข้อ14) การจาริกแสวงบุญ เป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางชีวิตของแต่ละคน ชีวิตคือการจาริก ทุกคนต้องเดินทางจาริกตามความสามารถของแต่ละคน ความเมตตากรุณาเป็นจุดหมายที่ต้องการการอุทิศตน การเสียสละ และการกลับใจเพื่อก้าวสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเมตตาของพระเจ้า และอุทิศตนเป็นผู้เมตตากรุณาต่อผู้อื่น ดังที่พระบิดาทรงเมตตาต่อเรา พระเยซูคริสตเจ้าแสดงขั้นตอนการจาริกแสวงบุญสู่จุดหมาย จงเป็นเครื่องมือแห่งพระเมตตา “อย่าตัดสิน อย่ากล่าวโทษเขา จงให้อภัย จงให้” (ลก6:37-38) “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด”(ลก6:36)
(ข้อ15) ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ให้ไตร่ตรองและปฏิบัติกิจเมตตา สนใจคนชายขอบของสังคม
การ ปฏิบัติกิจเมตตาฝ่ายกายคือ 1.การให้อาหารคนหิวโหย 2.การให้น้ำดื่มแก่ผู้กระหาย 3.การให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม 4.การให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่อยู่ 5.การเยี่ยมผู้ป่วย 6.การเยี่ยมผู้ถูกจองจำ 7.การฝังศพผู้ล่วงลับ
การ ปฏิบัติกิจเมตตาฝ่ายจิตคือ1.การให้คำปรึกษาแก่ผู้สงสัย2.การสอนผู้ไม่รู้ 3.การตักเตือนคนบาป 4.การบรรเทาผู้มีความทุกข์5.การอดทนผู้กระทำผิด 6.การให้อภัยแก่ทุกคนที่ทำร้าย7.การสวดภาวนาให้ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และ ผู้ที่สิ้นใจไปแล้ว
พระ เยซูเจ้าได้ให้มาตรการในการตัดสินการสู่อาณาจักรพระเจ้า (มธ25:31-46) นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนกล่าวว่า “เราจะถูกตัดสินโดยใช้ความรักเป็นเกณฑ์ ในขณะที่เราเตรียมตัวจากโลกนี้ไป” (Lumen Fidei.57)
(ข้อ16) ขอให้คริสตชนเป็นประจักษ์พยานทำให้คำสอนของพระเยซูเจ้าเป็นจริง พระเยซูเจ้าทรงอ่านพระคัมภีร์จากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย60:1-2) “พระจิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากองค์พระผู้เป็น เจ้า”(ลก4:18-19) และพระองค์ได้ทรงทำให้ข้อความจากพระคัมภีร์เป็นจริง เราต้องดำเนินชีวิตตามพระวาจานี้ด้วย และนักบุญเปาโลสอนว่า “ผู้ที่แสดงความเมตตากรุณา ก็จงแสดงความเมตตากรุณาด้วยใจยินดี” (รม12:8)
(ข้อ17) เทศกาลมหาพรตในปีศักดิ์สิทธิ์ควรดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างเข้มข้น เพราะเป็นโอกาสฉลองและมีประสบการณ์พระเมตตาของพระเจ้า ควรรำพึงพระวาจาจากพระคัมภีร์ พระเมตตาและการอภัยความผิดจากพระเจ้า (มคา7:18-19) การอธิษฐานภาวนา การจำศีลอดอาหาร และการทำกิจเมตตา (อสย58:6-11)ควรจัดให้มีการเฝ้าศีลมหาสนิท 24 ชั่วโมง ในวันศุกร์และเสาร์ก่อนสัปดาห์ที่สี่เทศกาลมหาพรตในทุกสังฆมณฑลให้เป็นช่วง เวลาอธิษฐานภาวนาอย่างจริงจังและค้นหาความหมายชีวิต ขอให้ศีลแห่งการคืนดีเป็นศูนย์กลางเป็นต้นธารแห่งสันติสุขภายในที่แท้จริง สำหรับผู้มารับศีลแห่งการคืนดีเพื่อให้ทุกคนโดยเฉพาะเยาวชนได้รับศีลแห่งการ คืนดีพระสงฆ์ผู้โปรดศีลอภัยบาปเป็นพยานแท้ถึงพระเมตตาของพระบิดา ก่อนอื่นต้องยอมรับตนเองเป็นผู้สำนึกผิดและรับพระเมตตาจากพระเจ้า มีส่วนร่วมในพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ได้รับพระพรแห่งพระจิตเจ้าเพื่อทำหน้าที่นี้ เป็นผู้รับใช้แห่งพระเมตตา ต้องต้อนรับสัตบุรุษเหมือนบิดา ไม่ถามคำถามที่ไร้ประโยชน์เป็นเครื่องหมายเด่นชัดของพระเมตตาเสมอ ทุกแห่ง และทุกสถานการณ์โดยไม่มีเงื่อนไข
(ข้อ18) ระหว่างเทศกาลมหาพรตในปีศักดิ์สิทธิ์นี้พระสันตะปาปาฟรังซิสจะส่งบรรดาธรรม ทูตแห่งพระเมตตา เป็นเครื่องหมายของความห่วงใยเยี่ยงมารดาของพระศาสนจักรต่อประชากรของพระ เจ้า พระสงฆ์ธรรมทูตแห่งพระเมตตาจะได้รับมอบอำนาจอภัยบาปต่างๆ แม้บาปที่สงวนไว้สำหรับสันตะสำนัก (CIC.cc1367,1370,977,1382,1388)ขอพระสังฆราชเชิญและต้อนรับธรรมทูตเหล่านี้ ให้เทศน์เรื่องพระเมตตา ขอให้สังฆมณฑลจัด“พันธกิจสู่ประชาชน”เพื่อธรรมทูตจะได้ประกาศความชื่นชม ยินดีและการให้อภัย ขอให้พระสังฆราชจัดการฉลองศีลแห่งการคืนดีร่วมกับสัตบุรุษเพื่อให้สัตบุรุษ สามารถเดินทางสู่บ้านพระบิดา ขอให้ผู้อภิบาลโดยเฉพาะในเทศกาลมหาพรตช่วยให้สัตบุรุษได้รับพระเมตตาและพระ หรรษทาน (ฮบ4:16)
(ข้อ19) ขอให้ประสบกาณ์แห่งพระเมตตาไปถึงทุกคน อย่าเพิกเฉยต่อเสียงเรียกนี้ บรรดาสมาชิกเครือข่ายอาชาญากรรมที่ทำผิดกฎหมายทุกประเภท ขอให้เปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ อย่าเห็นแก่เงิน บรรดาผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงด้วย นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ จงยอมให้จิตใจได้สัมผัสพระเมตตา พระเจ้าผู้ไม่หยุดที่จะสัมผัสเรา ให้เราตอบรับสู่การกลับใจและการยอมทำตามวิถีแห่งความชอบธรรม ในช่วงเวลาพิเศษแห่งพระเมตตาที่พระศาสนจักรมอบให้
(ข้อ20) ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมและเมตตาธรรมไม่ขัดแย้งกัน เป็นสองมิติในความจริงเดียวกันที่จะสมบูรณ์ในความรัก ความยุติธรรมเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมบ้านเมืองคือการปกครองอาศัยกฎหมาย ต่อมามีความเข้าใจว่าผู้ชอบธรรมคือ ผู้ปฏิบัติตามพระบัญญัติ ซึ่งหลายครั้งนำไปสู่การยึดกฎหมายอย่างเคร่งครัดหรือ “กฎนิยม” (legalism)ในพระคัมภีร์ความยุติธรรมหรือความชอบธรรมหมายถึงการมอบตนอย่าง ซื่อสัตย์ต่อพระประสงค์ของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงอยู่ร่วมกับคนบาป ทรงเรียกนักบุญเปาโลให้กลับใจ นักบุญเปาโลกล่าวว่า “เพื่อจะได้เป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อในพระคริสตเจ้า มิใช่จากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ” (กท2:16)ความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงพระสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนม ชีพนำความรอดพ้น พร้อมกับพระเมตตาที่ทำให้เรากลายเป็นผู้ชอบธรรม
(ข้อ 21)เมตตาธรรมไม่ขัดแย้งกับความยุติธรรม แต่เป็นวิถีทางของพระเจ้าที่ช่วยคนบาป เปิดโอกาสให้กลับใจและมีความเชื่อ ประสบการณ์ของประกาศกโฮเชยาช่วยเราให้เห็นวิถีแห่งพระเมตตาของพระเจ้าการ ก้าวข้ามความยุติธรรมไปสู่ความเมตตาและการให้อภัย (ฮชย11:8-9) แต่ก็มิได้ลดคุณค่าความยุติธรรม ใครทำผิดต้องรับผิดชอบและชดเชย ผู้ที่เริ่มรู้สึกถึงความอ่อนโยนและพระเมตตาของพระเจ้าจะพบว่า ความรักเป็นพื้นฐานของความยุติธรรมอย่างแท้จริง พระเจ้าเท่านั้นทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ นักบุญเปาโลกล่าวว่า “พวกเขาไม่รู้ว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทานความชอบธรรม จึงพยายามสร้างความชอบธรรมของตน ไม่ยอมรับความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ จุดหมายของธรรมบัญญัติก็คือองค์พระคริสตเจ้า ดังนั้น ทุกคนที่มีความเชื่อจะได้รับความชอบธรรม” (รม10:3-4) ความชอบธรรมของพระเจ้าคือพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมอบให้ทุกคนดุจพระหรรษทาน ที่หลั่งไหลจากการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า เพื่อมอบความมั่นใจในความรักและชีวิตใหม่แก่เรา
(ข้อ22)ปี ศักดิ์สิทธิ์กับการมอบพระคุณการุณย์ การปฏิบัตินี้จะมีความหมายมากขึ้นในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม พระเมตตากรุณาอภัยของพระเจ้าไม่มีขอบเขต การคืนดีกับพระเจ้าอาศัยธรรมล้ำลึกปัสกาและผ่านทางพระศาสนจักร ในศีลแห่งการคืนดีพระเจ้าทรงอภัยบาปของเรา แต่ผลของบาปยังอยู่ พระเมตตาของพระเจ้ายิ่งใหญ่ พระคุณการุณย์จากพระบิดาผ่านทางพระศาสนจักรให้แก่คนบาปที่รับการอภัยบาปแล้ว ได้หลุดพ้นจากผลของบาป ช่วยให้เขาทำกิจเมตตา เติบโตในความรัก อาศัยศีลมหาสนิทและการภาวนาร่วมกับบรรดานักบุญ การรับพระคุณการุณย์คือการมีประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรซึ่ง ประทานผลแห่งการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้าแก่ทุกคน เพื่อความรักและการให้อภัยของพระเจ้าจะแผ่ไปทุกแห่ง
(ข้อ23) มิติพระเมตตาก้าวพ้นขอบเขตพระศาสนจักรไปเชี่อมโยงกับศาสนายูดาห์(ยิว)และอิส ลาม ซึ่งถือว่าพระเมตตาเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของพระเจ้า ข้าพเจ้าหวังว่า ปีศักดิ์สิทธิ์ฉลองพระเมตตาของพระเจ้าจะส่งเสริมให้มีการพบปะกับศาสนาเหล่า นี้ และศาสนาอื่นๆ เปิดโอกาสให้มีการเสวนาอย่างจริงจังเพื่อจะได้รู้จักและเข้าใจกันมากขึ้น และเพื่อขจัดการปิดตนเองการไม่เคารพกัน ความรุนแรง และการแบ่งแยกทุกรูปแบบ
(ข้อ 24)ขอพระมารดาแห่งความเมตตา โปรดช่วยเราในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ให้ได้พบความชื่นชมยินดีของความอ่อนโยนของ พระเจ้า พระนางมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในธรรมล้ำลึกแห่งความรักของพระเจ้า พระนางเป็นหีบพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ พระนางประกาศว่า “พระกรุณาต่อผู้ยำเกรงพระองค์แผ่ไปทุกยุคทุกสมัย”(ลก1:50)รวมถึงเราด้วยณ เชิงกางเขน พระนางมารีย์เป็นพยานว่าพระเมตตาของพระบุตรของพระเจ้าแผ่ไปยังทุกคน และขอนักบุญโฟสตินา ธรรมทูตแห่งพระเมตตาช่วยวิงวอนขอพระหรรษทานเพื่อให้เราดำเนินชีวิตตามแนวทาง แห่งพระเมตตาของพระเจ้าเสมอ ด้วยความเชื่อมั่นที่ไม่หวั่นไหวในความรักของพระองค์
(ข้อ25) ข้าพเจ้ามอบปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษอุทิศเพื่อการดำเนินชีวิตเมตตากรุณาในชีวิต ประจำวัน ดังที่พระบิดาทรงเมตตากรุณาเราทุกคนในปีศักดิ์สิทธิ์นี้เราจงยินยอมให้พระ เจ้าทำให้เราประหลาดใจ พระองค์ไม่เคยเหนื่อยที่จะเปิดประตูแห่งดวงพระทัยและตรัสย้ำเสมอว่า พระองค์ทรงรักเราและปรารถนาจะแบ่งความรักของพระองค์แก่เรา พระศาสนจักรรู้สึกถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะประกาศ เป็นพยาน ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงพระเมตตาของพระเจ้า ด้วยการเพ่งพิศพระพักตร์ของพระเยซูคริสตเจ้า ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอให้พระศาสนจักรทำให้พระวาจาของพระเจ้าดังกังวานเป็นสารและเครื่องหมายของ การให้อภัย พละกำลัง ความช่วยเหลือ และความรัก ขอให้พระศาสนจักรอย่าท้อถอยในการแผ่ความเมตตากรุณา และเพียรทนในการมอบความเห็นอกเห็นใจ และการปลอบโยน ขอให้พระศาสนจักรเป็นเสียงของชายหญิงทุกคน กล่าวซ้ำด้วยความมั่นใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงระลึกถึงพระกรุณาและความรักมั่นคงของพระองค์ที่ทรงมีตลอดมา” (สดด25:6)

สรุป
“พระ พักตร์แห่งความเมตตา”(MisericordiaeVultus) สมณโองการ เรื่องปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรมของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเป็น เอกสารที่คริสตชนทุกคนควรอ่าน ได้แบ่งคร่าวๆเป็นสามภาคคือ 1.ภาค1คำนำ(ข้อ1-5) กล่าวถึง พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระพักตร์แห่งพระเมตตาของพระบิดาเราจำเป็นต้องหมั่น เพ่งพิศธรรมล้ำลึกเรื่องพระเมตตาอยู่เสมอ และหมายกำหนดการของปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม2.ภาค2 (ข้อ6-12) กล่าวถึงคำสอนพื้นฐานจากพระคัมภีร์ ข้อความเชื่อและเทววิทยาเรื่องพระเมตตาของพระเจ้า3.ภาค3 (ข้อ 13-25)แนวการดำเนินชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม

เอกสาร นี้แม้มีเนื้อหาไม่มากแต่มีความสำคัญในปีศักดิ์สิทธิ์นี้พระสันตะปาปาฟรังซิ สทรงเน้นให้คริสตชนทุกคนจำเป็นต้องหมั่นเพ่งพิศธรรมล้ำลึกเรื่องพระเมตตา พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็น “พระพักตร์แห่งพระเมตตา” เป็นองค์ความรักที่มาจากพระเจ้าพระบิดา ทรงถ่อมองค์ลงมารับสภาพดุจทาสเป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงดำเนินชีวิตอย่างยากจน อยู่เคียงข้างคนยากจน พระองค์ทรงสอนด้วยพระวาจาและกิจการที่ชัดเจน ที่สุดทรงมอบชีวิตของพระองค์ โดยการยอมรับความตายบนไม้กางเขน ทรงสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ (เทียบ ฟบ2)พระองค์จึงทรงเป็นต้นแบบชีวิตแห่งความเมตตา ความรัก การอุทิศตน การทำตามพระประสงค์พระบิดาอย่างสมบูรณ์สำหรับคริสตชนทุกคนการได้สัมผัสชีวิต แห่งพระเมตตาและพันธกิจของพระคริสตเจ้า ทำให้เราคริสตชนเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ กลายเป็นพยานชีวิตทำให้ชีวิตและพันธกิจของพระคริสตเจ้ายังดำเนินต่อไปใน ชีวิตของเราคริสตชนในยุคปัจจุบันดังเช่นนักบุญเปาโลผู้กลับใจและก้าวหน้า ด้านชีวิตจิตจนสามารถกล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสตเจ้าทรงดำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” (กท2:20)และดำเนินชีวิตตามพระวาจานำชีวิตซึ่งเป็น “คติพจน์” ของปีศักดิ์สิทธิ์นี้คือ“จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระ เมตตากรุณาเถิด”(ลก6:36)

แนะนำโดย บาทหลวงผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร
ลงแสงธรรมปริทัศน์ ปี39 ฉบับที่ 3 ก.ย-ธ.ค.2015

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ตัดแต่งชีวิต"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา(B)วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ พระคัมภีร์ในวันนี้เน้นความจำเป็นของชีวิตคริสตชนที่จะจำเป็นที่จะต้องยึดติดกับพระคริสต์เจ้าเพื่อจะได้บังเกิดผลดีในชีวิต คือ ความใจดีมีเมตตา...
"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ปิดการอบรมค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน 2024
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 เวลา 09.30 น. พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ปิดการอบรมค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน สังฆมณฑลราชบุรี ค่าย...
เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก