UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

    คำ “ศีลล้างบาป” (Baptism) มาจากภาษากรีก “bapto”“baptizein” หรือ “baptein” ซึ่งแปลว่า “การจุ่มน้ำ” โดยพิธีศีลล้างบาปของคริสตชนนั้น นำมาจากพิธีล้างของกรีก ปรับจนกลายเป็นพิธีล้างของชาวยิว ต่อยอดโดยพิธีล้างของยอห์น พัฒนาเรื่อยมาโดยพระศาสนจักร กระทั่งเป็นศีลล้างบาปดังเช่นในปัจจุบัน

    ในพระคัมภีร์มีกล่าวถึงการล้างบาปอยู่ทั่วไปในรูปแบบต่าง ๆ พระเยซูเจ้าเองรับพิธีล้างจากยอห์นที่แม่น้ำจอร์แดน นักบุญเปาโลเอง ก็เน้นไปที่การล้างบาปผ่านการสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า

สมัยเริ่มแรกของพระศาสนจักร (ศต. 1-3) พบเอกสารหลายชิ้นที่บันทึกขั้นตอน คำสอน พิธีกรรม และเทววิทยาพื้นฐานของศีลล้างบาป เป็นต้นกระบวนการรับผู้สมัครเข้าเป็นคริสตชนตามธรรมประเพณีของอัครสาวก (Traditio Apostolic) อันได้แก่
(1) การแสดงตนของผู้สมัครเป็นคริสตชน
(2) ช่วงเรียนคำสอน
(3) ช่วงเตรียมการรับพิธี
(4) พิธีรับเข้าเป็นคริสตชน (ล้างบาป-รับพระจิตเจ้า-พิธีบิปัง) และ
(5) ช่วงศึกษาคำสอน (ธรรมล้ำลึก) เพิ่มเติม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาพิธีศีลล้างบาปในสมัยต่อ ๆ มา

    สมัยปิตาจารย์ (ศต. 4-5) ได้พัฒนาคำสอน เทววิทยา แนวคิดเกี่ยวกับพิธีการรับเข้าเป็นคริสตชนโดยใช้พระคัมภีร์และธรรมประเพณีของคริสตชนเป็นแนวคิดพื้นฐาน แนวคิดสำคัญในยุคนี้คือ ศีลล้างบาปจำเป็นสำหรับความรอด จึงเริ่มอนุญาตให้มีพิธีล้างบาปสำหรับเด็ก

    สมัยกลาง (ศต. 6-14) เพื่อเหตุผลในการอภิบาล เนื่องด้วยคริสตชนมีจำนวนมากขึ้น พระสังฆราชไม่อาจทำหน้าที่อภิบาลอย่างทั่วถึง ทำให้เริ่มมีการแยกพิธีกรรมระหว่างพิธีล้างบาป (ศีลล้างบาป) และการปกมือมอบพระจิตเจ้า (ศีลกำลัง) ใน ศต. 14 มีสังคายนาที่ประกาศอนุญาตให้สามารถโปรดศีลล้างบาปเด็กได้ทันทีหลังจากเกิด อีกทั้งในพิธีล้างบาปให้ใช้การเทน้ำล้างบาปแทนการจุ่มตัวแบบดั้งเดิม รวมถึงได้กำหนดบทสูตรล้างบาปว่า “ข้าพเจ้าล้างท่าน เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต” (เทียบ มธ. 28:19) นักบุญโทมัส อะไควนัส เป็นคนสำคัญในยุคนี้ ที่อธิบายคำสอนและเทววิทยาเกี่ยวกับศีลล้างบาป จนได้รับการยืนยันที่สังคายนาเมืองฟลอเรนซ์ นั่นคือ ศีลล้างบาปเป็นหนทางสู่ชีวิตฝ่ายจิต สาระสำคัญ คือการเทน้ำล้างบาป ซึ่งมีรูปแบบตามบทสูตร พระสงฆ์เป็นศาสนบริกรหลัก และผลของศีลล้างบาปคือ ลบล้างโทษบาปและผลต่าง ๆ ของบาปที่มีมาตั้งแต่กำเนิด

    ช่วง ศต.15-16 มีความขัดแย้งในเรื่องข้อคำสอนเกี่ยวกับศีลล้างบาป ระหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ (ซึ่งนำโดย มาร์ติน ลูเธอร์) กระทั่งพระศาสนจักรได้พัฒนาและยืนยันเทววิทยาเรื่องศีลล้างบาปอย่างชัดเจนในสังคายนาแห่งกรุงเตรนท์ (ค.ศ. 1545) รวมถึงได้นำบทเรียนจากกลุ่มโปรแตสแตนท์มาสู่การปฏิรูปพระศาสนจักรคาทอลิกด้วยหลังจากสังคายนาแห่งกรุงเตรนท์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสอนเกี่ยวกับศีลล้างบาปใด ๆ เป็นพิเศษ จะมีก็แต่เรื่องการรับศีลล้างบาปด้วยความปรารถนา (Baptism of desire) ซึ่งมีไว้สำหรับผู้มีอุปสรรคในการเข้าถึงความเชื่อคริสตชน เป็นต้นผู้ที่อยู่ในดินแดนห่างไกล (เนื่องด้วยมีการค้นพบดินแดนใหม่ ๆ ในโลก) จนกระทั่งสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1962-1965)ได้มีพัฒนาการหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศีลล้างบาป เช่น การทบทวนแก้ไขพิธีล้างบาปสำหรับเด็ก (ค.ศ. 1969) และโดยเฉพาะพิธีการรับเข้าเป็นคริสตชนสำหรับผู้ใหญ่ (Rite of Christian Initiation of Adults) หรือ RCIA (ค.ศ. 1972) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ๆ สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย

    RCIA เป็นกระบวนการรับคริสตชนเข้าสู่พระศาสนจักร ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
(1) การเตรียมตัวผู้สมัคร
(2) ช่วงเรียนรู้คำสอนคาทอลิกใช้เวลาราว 1 ปี 
(3) ช่วงพิธีการเตรียมและการรับเข้าสู่ชีวิตคริสตชน
และ (4) ช่วงเรียนรู้คำสอนเพิ่มเติม

    คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า ศีลล้างบาปเป็นหนทางสู่ชีวิตฝ่ายจิต และเป็นประตูที่จะเข้าไปรับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ผลของศีลล้างบาปทำให้เราเป็นอิสระจากบาปกำเนิดและบาปที่เราได้กระทำมา และบังเกิดใหม่กลายเป็นบุตรพระเจ้าได้รับพระหรรษทาน มีส่วนร่วมความสัมพันธ์ในพระคริสตเจ้า เข้าเป็นสมาชิกและร่วมส่วนในพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิก

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"แห่ใบลาน"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (B)วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ 1. พระศาสนจักรฉลองสัปดาห์ที่หกในเทศกาลมหาพรต...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก