ประการแรก พ่อคิดถึงบรรดาสัตบุรุษทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสังฆมณฑลหนึ่งใดหรือผู้ที่มาแสวง บุญที่กรุงโรมนั้นจะได้รับประสบการณ์ถึงพระหรรษทานของปีศักดิ์สิทธิ์นี้ พ่อหวังว่าพระคุณการุณย์ของปีศักดิ์สิทธิ์นี้จะทำให้สัตบุรุษทุกคนได้มี ประสบการณ์ถึงพระเมตตาของพระเจ้าที่มาสู่พวกเขาแต่ละคนอย่างแท้จริงเฉพาะพระ พักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงพร้อมที่จะต้อนรับพวกเขา ให้อภัยพวกเขาและทรงลืมบาปต่างๆ ที่พวกเขาได้กระทำอย่างสิ้นเชิงเสมอ ในการที่จะได้รับประสบการณ์และพระหรรษทานนี้ สัตบุรุษนั้นจะต้องไปแสวงบุญที่ประตูศักดิ์สิทธิ์ที่เปิดกว้างในทุกๆ อาสนวิหาร (Cathedral) หรือวัด (church) ที่พระสังฆราชของแต่ละสังฆมณฑลได้กำหนดไว้ และประตูศักดิ์สิทธิ์ของอาสนวิหาร (Basilica) ที่กรุงโรมซึ่งพระสันตะปาปาประกาศไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความปรารถนาอย่างลึกซึ้งในการกลับใจที่แท้จริง ในทำนองเดียวกัน พ่อก็กำหนดว่าสัตบุรุษก็อาจจะได้รับพระคุณการุณย์ได้ที่สักการะสถาน (shrine) ซึ่งประตูแห่งพระเมตตาธรรมได้เปิดกว้างอยู่ได้ และในวัดใดๆ ที่ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นวัดแห่งปีศักดิ์สิทธิ์ด้วยก็ได้
สิ่งที่สำคัญ คือ ช่วงเวลานี้ได้เชื่อมโยงกับสิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) และ การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณที่สะท้อนถึงพระเมตตาธรรมของพระเจ้า มันเป็นความจำเป็นมากที่ต้องมีการเฉลิมฉลองเหล่านี้กับการประกาศยืนยันความ เชื่อ และกับการสวดภาวนาเพื่อตัวสัตบุรุษเองและเพื่อความตั้งใจว่าของเขา/เธอว่า พวกเขา/เธอนั้นมีความปรารถนาดีต่อพระศาสนจักรและโลกทั้งมวลด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น พ่อคิดถึงบรรดาสัตบุรุษที่อาจมีหลายๆ เหตุผลที่ทำให้พวกเขาไม่อาจมาที่ประตูศักด์สิทธิ์ได้อาจเพราะความจ็บป่วย ผู้สูงวัยและผู้ที่อยู่เพียงลำพังคนเดียว ถูกจำกัดตัวเองอยู่ที่บ้าน สำหรับคนเหล่านี้ สิ่งนี้จะเป็นความช่วยเหลืออย่างยิ่งสำหรับพวกเขาในการที่จะมีชีวิตอยู่ เผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานด้วยการมีประสบการณ์ถึงความใกล้ ชิดสนิทกับพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรมล้ำลึกแห่งพระมหาทรมานของพระองค์ การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ ที่นำเราไปสู่หนทางที่ให้ความหมายของความเจ็บป่วยและความโดดเดี่ยวนั้น
การดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อและความปีติยินดีนี้ทำให้เรามีความหวังต่อช่วง เวลาแห่งการทุกข์ทรมาน การได้รับศีลมหาสนิท หรือการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและการสวดภาวนาร่วมกัน หรือกระทั่งด้วยวิธีการที่หลากหลายนั้น ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องมือในการได้รับพระคุณการุณย์ปีศักดิ์สิทธิ์นี้ทั้งสิ้น พ่อยังคำนึงถึงบรรดาผู้ที่ถูกจองจำอยู่ในสถานคุมขัง ผู้ที่ถูกจำกัดเสรีภาพด้วย ปีศักดิ์สิทธิ์นี้ให้โอกาสแห่งการนิรโทษกรรมอันยิ่งใหญ่ซึ่งพ่อตั้งใจที่จะ มีให้กับบุคคลหลายๆ จำพวก แม้ว่าพวกเขาจะสมควรที่จะได้รับการลงโทษ, ผู้ที่ระลึกได้ว่าเขาได้ทำการไม่บังควรและมีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะ กลับเข้าสู่สังคมและหันมาทำตัวอย่างดีและสัตย์ซื่อต่อสังคม ขอให้คนเหล่านี้ทั้งมวลสามารถได้สัมผัสถึงหนทางที่จับต้องได้ของพระเมตตา ธรรมของพระบิดาเจ้าผู้ทรงปรารถนาที่จะใกล้ชิดกับพวกเขาผู้ที่มีความต้องการ การให้อภัยจากพระองค์อย่างที่สุด พวกเขาก็สามารถที่จะได้รับพระคุณการุณย์นี้ในวัดน้อย (chapel) ของสถานที่คุมขังได้ ขอให้ในแต่ละครั้งที่เขาได้ทำกิจการชี้นำจิตใจของเขาและการสวดภาวนาต่อพระ บิดาเจ้าทำให้พวกเขาได้ข้ามผ่านขอบประตูแห่งห้องคุมขังของพวกเขาเพื่อพวกเขา จะได้เดินทางผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์ได้ ก็เพราะว่าพระเมตตาธรรมของพระเจ้านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของพวกเขาและ ยังคงทำให้อุปสรรคนั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นประสบการณ์แห่งอิสรภาพได้
ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์นี้ พ่อขอร้องให้พระศาสนจักรค้นหาความอุดมสมบูรณ์ที่รายล้อมอยู่โดยกิจการของ เมตตาธรรมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จริงๆ แล้วประสบการณ์ของเมตตาธรรมนั้นกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ในการเป็นพยานของ สัญญลักษณ์ที่มั่นคงดังเช่นองค์พระเยซูคริสตเจ้าเองที่ได้ทรงสั่งสอนเรา ทุกครั้งที่สัตบุรุษคนหนึ่งได้กระทำการหนึ่งหรือหลายการงานของพวกเขานั้น เขาหรือเธอจะได้รับพระคุณการุณย์อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้การผูกพันกันเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยเมตตาธรรมดังที่ได้รับพระ หรรษทานครบบริบูรณ์และการอภัยโทษอย่างหมดจดโดยอำนาจของความรักมิใช่ของใคร อื่นเลยนอกจากพระบิดาเจ้าแต่ผู้เดียว ดังนั้นพระคุณการุณย์ปีศักดิ์สิทธิ์จึงครบบริบูรณ์ ผลลัพธ์ของทุกๆ เหตุการณ์ที่ได้รับการเฉลิมฉลองและได้รับประสบการณ์ด้วยความเชื่อ ความหวังและความกรุณา
ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่เสียชีวิตแล้วก็ยังสามารถได้รับพระคุณการุณย์ปี ศักดิ์สิทธิ์ได้ เราผูกพันกับผู้ที่เสียชีวิตแล้วโดยการเป็นพยานยืนยันความเชื่อและความกรุณา ที่พวกเขาเหลือไว้ให้เรา ดังนั้น เราจึงรำลึกถึงพวกเขาได้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ ดังนั้น ด้วยธรรมล้ำลึกของการเป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์เราจึงสามารถภาวนา เพื่อพวกเขาได้เฉพาะพระพักตร์สุดแสนเมตตาของพระบิดาเจ้าเพื่อปลดปล่อยพวกเขา จากทุกๆ ความผิดที่หลงเหลืออยู่และโอบอุ้มพวกเขาไว้อย่างแข็งแรงในความบรมสุขแท้
หนึ่งในปัญหาที่ร้ายแรงในยุคของเรานั้นชัดเจนว่าความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลง ไปในการนบนอบต่อการมีชีวิต จิตใจที่ไม่อ่อนไหวยิ่งวันยิ่งมากขึ้นนั้นชักนำไปสู่การสูญเสียบุคลิกลักษณะ ที่เหมาะสมและความอ่อนไหวทางสังคมในการที่จะต้อนรับชีวิตที่จะเกิดขึ้นใหม่ โศกนาฏกรรมของการทำแท้งนั้นเป็นประสบการณ์โดยบางคนที่ตระหนักถึงมันแต่เพียง ผิวเผินเท่านั้นราวกับว่าการทำแท้งนั้นมิได้นำมาซึ่งการทารุณกรรมที่ร้ายแรง เลย ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้ว่าอีกหลายๆ คนจะมองว่าประสบการณ์ในช่วงเวลาการทำแท้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ โดยที่พวกเขาเชื่อว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว พ่อคิดถึงเรื่องนี้ของผู้หญิงทุกๆ คนผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการทำแท้งนั้น พ่อตระหนักดีถึงความกดดันที่ชักนำพวกเขาไปสู่การตัดสินใจเช่นนี้ พ่อรู้ว่ามันเป็นความเจ็บปวดทางจิตใจและยังคงอยู่เสมอ พ่อได้เคยพบกับผู้หญิงหลายคนที่มีบาดแผลอันแสนเจ็บปวดนี้อยู่ในจิตใจของพวก เธอ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างสุดซึ้งสำหรับพวกเธอและยังมี เพียงความเข้าใจถึงความจริงของมันยังทำให้ผู้คนสูญเสียความหวังอีกด้วย การให้อภัยของพระเจ้านั้นไม่สามารถปฏิเสธได้เลย (หรือ มีอยู่เสมอ) สำหรับผู้ซึ่งสำนึกผิดและกลับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลนั้นได้เข้ารับศีลอภัยบาปด้วยความจริงใจเพื่อ ที่จะได้รับการกลับคืนดีกับพระบิดาเจ้า
ด้วยเหตุผลนี้แม้จะมีข้อโต้แย้งใดๆ ก็ตาม พ่อจึงได้ตัดสินใจยอมให้พระสงฆ์ทุกคนที่ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีแล้ว นั้นสามารถให้อภัยบาปการทำแท้งแก่ผู้ซึ่งได้เคยการทำบาปการทำแท้งนี้และผู้ ซึ่งแสวงหาการอภัยบาปของการทำแท้งนี้ด้วยหัวใจที่สำนึกผิดอย่างแท้จริง พระสงฆ์จะกระทำกิจการอันยิ่งใหญ่นี้ได้สำเร็จก็ด้วยคำพูดซึ่งแสดงถึงการต้อน รับพวกเขาอย่างแท้จริงพร้อมทั้งได้มีการอธิบายถึงผลสะท้อนอันหนักหนาสาหัส ของบาปที่พวกเขาได้กระทำไป นอกจากนี้พระสงฆ์ยังต้องชี้แนะพวกเขาถึงแนวทางการกลับตัวกลับใจ ด้วยวิธีนี้พวกเขาจะได้รับการให้อภัยบาปที่แท้จริงและเต็มไปด้วยพระทัยเมตตา กรุณาของพระบิดาเจ้าผู้ทรงฟื้นฟูทุกสิ่งขึ้นใหม่ด้วยการประทับอยู่ของ พระองค์เอง
ประการสุดท้าย เกี่ยวกับสัตบุรุษผู้ซึ่งมีหลายๆ เหตุผลในการเลือกที่จะไปวัดที่ประกอบพิธีโดยพระสงฆ์ แห่งภราดรภาพของนักบุญปีโอที่ 10 พระสันตะปาปา (St Pius X) ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเมตตาธรรมมีให้แก่สัตบุรุษทุกคน จากหลายภาคส่วนนั้น พี่น้องพระสังฆราชหลายองค์ได้เล่าให้พ่อฟังถึงความเชื่อที่มั่นคงและพฤติ ปฏิบัติที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา แม้ว่าการพิจารณาถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากจากจุดยืนของการอภิบาลด้วย พ่อเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราก็อาจค้นพบแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อ ฟื้นฟูความเป็นหนึ่งเดียวกันของบรรดาพระสงฆ์และผู้ที่สูงกว่าในภราดรภาพ ในเวลาเดียวกันนั้น ด้วยการเรียกร้องของความต้องการที่จะตอบสนองต่อผู้ที่สัตย์ซื่อในความเชื่อ ของพวกเขาผ่านทางความประสงค์ของพ่อเอง พ่อขอกำหนดให้พิธีศีลอภัยบาปโดยพระสงฆ์ของภราดรภาพของนักบุญปีโอที่ 10 นั้นมีผลบังคับใช้และถูกกฏระเบียบที่จะได้รับการอภัยโทษบาปของพวกเขาในช่วง ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเมตตาธรรมนี้
อาศัยการวอนขอของพระมารดาผู้ทรงเมตตา พ่อมั่นใจว่าการเตรียมการสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์ที่พิเศษนี้จะได้รับการปกป้องจากพระนาง
จากวาติกัน
1 กันยายน 2015
ฟรังซิส
To My Venerable Brother
Archbishop Rino Fisichella
President of the Pontifical Council
for the Promotion of the New Evangelization
With the approach of the Extraordinary Jubilee of Mercy I would like to focus on several points which I believe require attention to enable the celebration of the Holy Year to be for all believers a true moment of encounter with the mercy of God. It is indeed my wish that the Jubilee be a living experience of the closeness of the Father, whose tenderness is almost tangible, so that the faith of every believer may be strengthened and thus testimony to it be ever more effective.
My thought first of all goes to all the faithful who, whether in individual Dioceses or as pilgrims to Rome, will experience the grace of the Jubilee. I wish that the Jubilee Indulgence may reach each one as a genuine experience of God’s mercy, which comes to meet each person in the Face of the Father who welcomes and forgives, forgetting completely the sin committed. To experience and obtain the Indulgence, the faithful are called to make a brief pilgrimage to the Holy Door, open in every Cathedral or in the churches designated by the Diocesan Bishop, and in the four Papal Basilicas in Rome, as a sign of the deep desire for true conversion. Likewise, I dispose that the Indulgence may be obtained in the Shrines in which the Door of Mercy is open and in the churches which traditionally are identified as Jubilee Churches. It is important that this moment be linked, first and foremost, to the Sacrament of Reconciliation and to the celebration of the Holy Eucharist with a reflection on mercy. It will be necessary to accompany these celebrations with the profession of faith and with prayer for me and for the intentions that I bear in my heart for the good of the Church and of the entire world.
Additionally, I am thinking of those for whom, for various reasons, it will be impossible to enter the Holy Door, particularly the sick and people who are elderly and alone, often confined to the home. For them it will be of great help to live their sickness and suffering as an experience of closeness to the Lord who in the mystery of his Passion, death and Resurrection indicates the royal road which gives meaning to pain and loneliness. Living with faith and joyful hope this moment of trial, receiving communion or attending Holy Mass and community prayer, even through the various means of communication, will be for them the means of obtaining the Jubilee Indulgence. My thoughts also turn to those incarcerated, whose freedom is limited. The Jubilee Year has always constituted an opportunity for great amnesty, which is intended to include the many people who, despite deserving punishment, have become conscious of the injustice they worked and sincerely wish to re-enter society and make their honest contribution to it. May they all be touched in a tangible way by the mercy of the Father who wants to be close to those who have the greatest need of his forgiveness. They may obtain the Indulgence in the chapels of the prisons. May the gesture of directing their thought and prayer to the Father each time they cross the threshold of their cell signify for them their passage through the Holy Door, because the mercy of God is able to transform hearts, and is also able to transform bars into an experience of freedom.
I have asked the Church in this Jubilee Year to rediscover the richness encompassed by the spiritual and corporal works of mercy. The experience of mercy, indeed, becomes visible in the witness of concrete signs as Jesus himself taught us. Each time that one of the faithful personally performs one or more of these actions, he or she shall surely obtain the Jubilee Indulgence. Hence the commitment to live by mercy so as to obtain the grace of complete and exhaustive forgiveness by the power of the love of the Father who excludes no one. The Jubilee Indulgence is thus full, the fruit of the very event which is to be celebrated and experienced with faith, hope and charity.
Furthermore, the Jubilee Indulgence can also be obtained for the deceased. We are bound to them by the witness of faith and charity that they have left us. Thus, as we remember them in the Eucharistic celebration, thus we can, in the great mystery of the Communion of Saints, pray for them, that the merciful Face of the Father free them of every remnant of fault and strongly embrace them in the unending beatitude.
One of the serious problems of our time is clearly the changed relationship with respect to life. A widespread and insensitive mentality has led to the loss of the proper personal and social sensitivity to welcome new life. The tragedy of abortion is experienced by some with a superficial awareness, as if not realizing the extreme harm that such an act entails. Many others, on the other hand, although experiencing this moment as a defeat, believe they they have no other option. I think in particular of all the women who have resorted to abortion. I am well aware of the pressure that has led them to this decision. I know that it is an existential and moral ordeal. I have met so many women who bear in their heart the scar of this agonizing and painful decision. What has happened is profoundly unjust; yet only understanding the truth of it can enable one not to lose hope. The forgiveness of God cannot be denied to one who has repented, especially when that person approaches the Sacrament of Confession with a sincere heart in order to obtain reconciliation with the Father. For this reason too, I have decided, notwithstanding anything to the contrary, to concede to all priests for the Jubilee Year the discretion to absolve of the sin of abortion those who have procured it and who, with contrite heart, seek forgiveness for it. May priests fulfil this great task by expressing words of genuine welcome combined with a reflection that explains the gravity of the sin committed, besides indicating a path of authentic conversion by which to obtain the true and generous forgiveness of the Father who renews all with his presence.
A final consideration concerns those faithful who for various reasons choose to attend churches officiated by priests of the Fraternity of St Pius X. This Jubilee Year of Mercy excludes no one. From various quarters, several Brother Bishops have told me of their good faith and sacramental practice, combined however with an uneasy situation from the pastoral standpoint. I trust that in the near future solutions may be found to recover full communion with the priests and superiors of the Fraternity. In the meantime, motivated by the need to respond to the good of these faithful, through my own disposition, I establish that those who during the Holy Year of Mercy approach these priests of the Fraternity of St Pius X to celebrate the Sacrament of Reconciliation shall validly and licitly receive the absolution of their sins.
Trusting in the intercession of the Mother of Mercy, I entrust the preparations for this Extraordinary Jubilee Year to her protection.
From the Vatican,
1 September 2015
Franciscus