PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

7 วัดแสวงบุญในสังฆมณฑลราชบุรี

กิจกรรมปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน
กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน "พฤษภาคม" กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 อวยพรศีลมหาสนิทและกิจศรัทธาพิเศษวันศุกร์ต้นเดือนวันศุกร์ที่ 2...
กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน
กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน "เมษายน" กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 อวยพรศีลมหาสนิทและกิจศรัทธาพิเศษวันศุกร์ต้นเดือน วันศุกร์ที่...
กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน
กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 วันศุกร์ต้นเดือน "มีนาคม" กิจกรรมในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 อวยพรศีลมหาสนิทและกิจศรัทธาพิเศษวันศุกร์ต้นเดือน วันศุกร์ที่...

ในปัจจุบันคำนี้มักจะมีความหมายทางศาสนา หมายถึงการเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพนับถือพิเศษเพราะ สถานที่นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้า หรือเทพเจ้าของตน หรือมิฉะนั้นก็เกี่ยวข้องกับบุคคลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชน โดยมีเจตนาเพื่ออ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากเบื้องบน หรือเพื่อขอบคุณที่ได้รับความช่วยเหลือนั้นมาแล้ว นอกนั้นบางครั้งยังมีเจตนาเป็นการชดเชยความผิดที่ได้เคยทำไว้ในอดีตด้วย เราพบการปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่จำเพาะในคริสตศาสนาเท่านั้น ศาสนาใหญ่ๆล้วนมีธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ด้วยกันทั้งนั้น เช่น ศาสนาฮินดูก็มีการไปแสวงบุญเช่นที่เมืองพาราณสี ชาวพุทธก็มักจะแสวงบุญไปยังสถานที่ประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวมุสลิมก็มีการฮัจไปยังนครเมกกะ เป็นต้น ตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิมแล้ว ชาวอิสราเอลมักจะแสวงบุญไปยังสักการสถานที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือบุคคลสำคัญในอดีต เช่นสักการสถานที่เชเคม และมัมเรซึ่งเกี่ยวข้องกับอับราฮัม. เบธเอลซึ่งเกี่ยวข้องกับยาโคบ. กิลกัล ชิโล หรือมิสปาห์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานของเผ่าต่างๆในแผ่นดินคานาอัน เป็นต้น แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงการจาริกแสวงบุญจำเพาะที่เกี่ยวข้องกับคริสตศาสนา และคริสตชนเท่านั้น

การจาริกแสวงบุญไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์
     สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งคริสตชนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกมาตั้งแต่ต้นก็ คือสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าอันได้แก่สถานที่ต่างๆ ในดินแดนปาเลสไตน์ที่พระเยซูเจ้าเคยประทับอยู่หรือทรงประกอบกิจการที่มีเล่า ไว้ในพระคัมภีร์ เอวเซบีอุสนักประวัติศาสตร์เล่าว่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 แล้ว เมลีโตพระสังฆราชแห่งเมืองซาร์แดสได้เดินทางไปแสวงบุญในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เมื่อปี ค.ศ. 160 ในศตวรรษต่อมาพระสังฆราชอเล็กซานเดอร์แห่งกับปาโดเชียก็เดินทางแสวงบุญไปที่ กรุงเยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 216 เป็นต้น เมื่อพระจักรพรรดิคอนสแตนตินให้อิสรภาพแก่คริสตศาสนาในปี ค.ศ. 313 แล้ว การจาริกแสวงบุญของคริสตชนไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ก็สะดวกขึ้นและยังได้รับ การสนับสนุนจากพระจักรพรรดิและนักบุญเฮเลนาพระมารดาของพระองค์ที่ก่อสร้าง อาคารถาวรตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆระหว่างปี ค.ศ. 325-330 เช่นพระวิหาร ณ เนินกัลวาริโอและพระคูหาของพระเยซูเจ้าที่เรียกว่า “Holy Sepulcher” พระวิหาร ณ สถานที่ที่ทูตสวรรค์ปรากฏองค์แก่อับราฮัมที่มัมเรใกล้เมืองเฮบโรน พระวิหาร ณ สถานที่ประสูตรของพระเยซูเจ้าที่เมืองเบธเลเฮม และที่เสด็จขึ้นสวรรค์บนเนินเขามะกอกเทศ เป็นต้น เราทราบจากข้อเขียนของบรรดาปิตาจารย์ว่าในศตวรรษที่ 4 นี้เองคริสตชนจากยุโรปและที่ต่างๆพากันเดินทางจาริกแสวงบุญมาที่แผ่นดิน ศักดิ์สิทธิ์เป็นจำนวนมาก เมื่อจาริกแสวงบุญมาเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเจ้า แล้ว ผู้จาริกแสวงบุญหลายคนยังเดินทางไปเยี่ยมเยียนสถานที่อื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับ บรรดานักบุญนักพรตสมัยแรกๆในบริเวณนั้นและในประเทศอียิปต์อีกด้วย บางคนก็มาพำนักอยู่ที่นั่นเป็นการถาวรเลย เช่นนักบุญเยโรม นักบุญเปาลาและเอวสโตคีอุมบุตรสาว เป็นต้น คริสตชนที่มาจาริกแสวงบุญยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้หลายคนยังบันทึก เหตุการณ์และรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสถานที่และพิธีกรรมที่เขาเข้าร่วมใน โอกาสต่างๆที่เดินทางมาแสวงบุญนั้นด้วย เช่นนางเอเธรีอาจากประเทศสเปน ซึ่งเล่าถึงพิธีกรรมที่กรุงเยรูซาเล็มที่เธอเข้าร่วมตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆ รวมทั้งเล่าถึงสถานที่ต่างๆที่เธอได้ไปเยี่ยมในซีเรียจนถึงเมืองเอเดสซา ในคาบสมุทรซีนายและประเทศอียิปต์ด้วย ดูเหมือนว่าในศตรรษที่ 4-6 บรรดาคริสตชนจากยุโรปพากันจาริกแสวงบุญไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์กันมากที เดียว จะมาซบเซาเอาก็เมื่อชาวมุสลิมเข้ายึดครองดินแดนแถบนั้นในศตวรรษต่อมา

การจาริกแสวงบุญตามอารามในอียิปต์
     ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 การบำเพ็ญพรตในถิ่นทุรกันดารเป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตคริสตชนที่มุ่งสู่ ความศักดิ์สิทธิ์ขั้นสูงแบบหนึ่ง อารามต่างๆในถิ่นทุรกันดารของอียิปต์จึงเป็นจุดหมายของการจาริกแสวงบุญของ คริสตชนในสมัยโบราณรองจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ “ชีวประวัติของนักบุญอันตน” ผู้นำชีวิตบำเพ็ญพรตในถิ่นทุรกันดารของอียิปต์ (ค.ศ. 251-356) ซึ่งนักบุญอาทานาสแห่งอเล็กซานเดรียเป็นผู้นิพนธ์มีส่วนอย่างมากในการส่ง เสริมชีวิตบำเพ็ญพรตในที่ต่างๆรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และยังชักชวนผู้จาริกแสวงบุญให้เดินทางไปขอคำแนะนำจากบรรดานักพรตที่ดำเนิน ชีวิตเคร่งครัดในถิ่นทุรกันดารเหล่านั้นด้วย บรรดาผู้จาริกแสวงบุญสามารถเดินทางไปยังอารามต่างๆในแถบแคว้นนีเตรีย ประมาณ 80 ก.ม. ทางใต้ของเมืองอเล็กซานเดรียได้โดยไม่ลำบากมากนัก แต่การเดินทางไปยังแคว้นเทเบสทางใต้ลงไปอีกนั้นมีความยากลำบากและอันตรายมาก ถึงกระนั้นนักบุญอาทานาสและนางเอเธรีอาก็เดินทางไปถึงและยังเล่าไว้ในบันทึก ของเธอด้วย

การจาริกแสวงบุญที่กรุงโรมและที่อื่นๆ
     แม้ว่าใน 6 ศตวรรษแรก กรุงโรมยังไม่ใช่จุดหมายของการจาริกแสวงบุญที่มีความสำคัญเท่ากับแผ่นดิน ศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็มีหลักฐานบอกเราว่าคริสตชนจำนวนไม่น้อยที่มาประกอบธุรกิจที่นี่ได้ไป เยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นั่นที่เกี่ยวข้องกับนักบุญเปโตรและเปาโลและ บรรดามรณสักขี ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ขีดเขียนไว้ (grafitti) ตามผนังของกาตาโคมบ์ต่างๆและในบริเวณใกล้ที่ฝังศพของนักบุญเปโตรและเปาโล เราทราบว่านักบุญโปลีการ์ปพระสังฆราชแห่งเมืองสมีนาร์ในเอเซียน้อยได้มา เยี่ยมกรุงโรมราวปี ค.ศ. 150 อาแบร์ชีอุสแห่งฮีเอราโปลิสในแคว้นฟรีเจีย (ราว ค.ศ. 216) และโอรีเจน (ราว ค.ศ. 212) ดูเหมือนจะได้จาริกแสวงบุญมาที่กรุงโรม “เพราะปรารถนาจะเห็นพระศาสนจักรโรมที่เก่าแก่ที่สุด” เช่นเดียวกับในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ อิสรภาพที่พระศาสนจักรได้รับจากพระจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นสาเหตุส่งเสริม ให้คริสตชนจากที่ต่างๆนิยมจาริกแสวงบุญมาที่กรุงโรมด้วย พระสันตะปาปานักบุญดามาซัส (366-384) ได้บูรณะที่ฝังศพบรรดามรณสักขีตามคาตาโคมบ์ต่างๆ และยังสลักบทกลอนไพเราะไว้ตามที่ฝังศพเหล่านั้นเป็นการเทิดเกียรติบรรดามรณ สักขีและช่วยให้คริสตชนที่มาแสวงบุญทราบเรื่องราวของบรรดามรณสักขีดีขึ้นอีก ด้วย การจาริกแสวงบุญเช่นนี้มักจะมีการเฉลิมฉลองแสดงความยินดีซึ่งบางทีก็เลยเถิด ไปจนหลายครั้งบรรดาพระสงฆ์และผู้ปกครองทางศาสนาต้องเทศน์ปรามไว้ การจาริกแสวงบุญมาที่กรุงโรมนี้ดำเนินต่อมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยกลาง ตอนต้นศตวรรษที่ 6 พระสันตะปาปาซิมมาคัส (498-514) ได้สร้างที่พัก 3 แห่งไว้ในบริเวณใกล้ที่ฝังศพของนักบุญเปโตร เปาโล และลอเรนซ์ เพื่อความสะดวกของผู้จาริกแสวงบุญ ในศตวรรษเดียวกันนี้เกรโกรีแห่งเมืองตูรส์ยังกล่าวถึงกิจกรรมต่างๆของผู้ จาริกแสวงบุญที่กรุงโรมจากประเทศโกล (ฝรั่งเศส) และกล่าวด้วยว่ากิจการที่สำคัญประการหนึ่งของการแสวงบุญก็คือเพื่อหาพระธาตุ ไปประดิษฐานไว้ตามสักการสถานในประเทศโกลด้วย


     นอกจากกรุงโรมแล้ว คริสตชนยังนิยมจาริกแสวงบุญไปยังที่ฝังศพของมรณสักขีอื่นๆซึ่งเป็นที่เคารพ นับถืออีกด้วย เช่นมรณสักขีกัสเซียนที่เมืองอีโมลา และเฟสิกซ์ที่เมืองโนลา ไม่ไกลจากกรุงโรม ส่วนในประเทศโกลก็มีการจาริกแสวงบุญไปยังที่ฝังศพของบรรดามรณสักขีด้วย เช่นราวกลางศตวรรษที่ 4 มีการสร้างสักการสถานใกล้สถานที่ซึ่งนักบุญโมริสถูกประหารเป็นมรณสักขีพร้อม กับบรรดาทหารแห่งกองพันเทเบสที่เมืองวาแลส์ในสวิสเซอร์แลนด์ (ราวปี 286) บรรดาผู้แสวงบุญจากประเทศโกลมักจะผ่านมาที่นี่เมื่อกลับจากกรุงโรม และยังมีผู้แสวงบุญจำนวนมากมาขอท่านนักบุญรักษาให้หายจากโรคภัยอีกด้วย ราวกลางศตวรรษที่ 5 จึงได้สร้างที่พักขนาดใหญ่ไว้ต้อนรับผู้จาริกแสวงบุญและคนเจ็บป่วย และในศตวรรษที่ 6 ยังได้สร้างอาราม Saint-Maurice d’Agaune ซึ่งยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ตอนปลายศตวรรษที่ 4 นี้เอง สถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในประเทศโกลก็คือที่ฝังศพของนักบุญ มาร์ตินที่เมืองตูรส์ซึ่งเกรโกรีแห่งเมืองตูรส์บอกว่าต่อมาอีก 2 ศตวรรษก็ยังมีผู้จาริกแสวงบุญมาที่นี่ไม่ขาดสาย นับตั้งแต่คนสำคัญเช่นกษัตริย์โคลตาร์ชาวฟรังส์ (ราว ค.ศ. 560) ไปจนถึงคนธรรมดาสามัญเช่นวุลไฟลกัส เด็กหนุ่มชาวแคว้นลอมบาร์เดียซึ่งภายหลังได้เป็นฤาษีเคร่งครัดอยู่ที่อาศรม ใกล้เมืองอีวัวส์ ในศตวรรษที่ 5 เมืองอาร์ลส (Arles) ก็เป็นที่ที่คริสตชนนิยมจาริกแสวงบุญมายังที่ฝังศพของนักบุญเยเนซีอัส ในโอกาสหนึ่งผู้แสวงบุญมีจำนวนมากจนว่าสะพานที่ข้ามแม่น้ำไประหว่างสักการ สถาน 2 แห่งของท่านนักบุญที่นี่ถึงกับพังลงเพราะทานน้ำหนักประชาชนไม่ไหว


     ยังมีสักการสถานจาริกแสวงบุญที่สำคัญในยุโรปอีกหลายแห่ง เช่น ในสเปนก็มีที่กอมปอสเตลา (Compostela จาก Campus Stellae) ซึ่งตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 830 เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของนักบุญยากอบ (บุตรของเศเบดี) อัครสาวก เมืองบารีทางใต้ของคาบสมุทรอิตาลีก็เป็นที่ที่ผู้จาริกแสวงบุญมาคารวะนักบุญ นิโคลัสพระสังฆราชแห่งเมืองไมราในเอเซียน้อย (นักบุญนิโคลัสองค์นี้คือ “ซานตาคลอส” ขนานแท้) ซึ่งศพของท่านถูกย้ายมาประดิษฐานไว้ที่นี่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 นอกจากนั้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก็มีผู้จาริกแสวงบุญไปยังภูเขาการ์กาโนในแคว้นอาปูลีอา สถานที่ซึ่งเชี่อกันว่าอัครเทวดามีคาเอลได้ปรากฏองค์ให้เห็น ภายหลัง ค.ศ. 710 ผู้จาริกแสวงบุญยังพากันไปแสวงบุญที่ Mont-Saint-Michel ซึ่งอยู่ชายทะเลระหว่างรอยต่อของแคว้นนอร์มันดีและบริตันนีในฝรั่งเศสด้วย เหตุผลเดียวกัน

การแสวงบุญถวายเกียรติแด่พระแม่มารีย์
     การจาริกแสวงบุญไปยังสักการสถานเพื่อถวายเกียรติแด่พระแม่มารีย์เริ่มมี ขึ้นภายหลังการจาริกแสวงบุญไปยังที่ฝังพระศพพระเยซูเจ้าหรือที่ฝังศพของ บรรดานักบุญในสมัยแรกๆ การแสวงบุญเป็นเกียรติแด่พระแม่มารีย์นี้ในยุโรปอาจนับย้อนไปได้ถึงประมาณ ศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย แม้ว่าสักการสถานที่เมืองซาโวนา ใกล้เมืองเยนัว อิตาลีจะอ้างว่ามีผู้จาริกแสวงบุญมาที่นี่ตั้งแต่สมัยพระจักรพรรดิคอนสแตนติ นแล้วก็ตาม ต้นตอของความศรัทธาต่อสถานที่ “ศักดิ์สิทธิ์” เหล่านี้มักจะกล่าวกันว่ามาจาก “การประจักษ์” หรือ “การเปิดเผย”พิเศษที่แม่พระแสดงให้เห็น การประจักษ์ของพระแม่มารีย์ ณ ที่ต่างๆในสมัยปัจจุบัน เช่นที่ลูร์ด (1858) หรือฟาติมา (1917) ฯลฯ
ความนิยมมากน้อยในการจาริกแสวงบุญ


     มีสาเหตุหลายประการเป็นตัวกำหนดความนิยมมากน้อยในการจาริกแสวงบุญ ความยากลำบากของการเดินทางในสมัยก่อนนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจาริกแสวง บุญ ซึ่งยังขึ้นอยู่กับความเชื่อและความเลื่อมใสของคริสตชนด้วย การเดินทางในสมัยก่อนต้องใช้เวลาและทุนทรัพย์ไม่น้อย และยังต้องเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆระหว่างทางอีกด้วย หลังจากที่ชาวมุสลิมเข้ายึดครองดินแดนทางตะวันออกกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของ ปาเลสไตน์ การเดินทางแสวงบุญไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์มีความลำบากมากขึ้น ผู้ที่จะเดินทางแสวงบุญจึงต้องมีความเชื่อและความมุ่งมั่นตั้งใจจริงเป็น พิเศษ การจาริกแสวงบุญตามสักการสถานต่างๆในยุโรปจึงได้รับความนิยมมากขึ้น และผู้จาริกแสวงบุญมักจะร่วมเดินทางไปเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัย ประหยัดรายจ่ายและยังเป็นการช่วยเสริมความศรัทธาของกันและกันด้วย นอกจากนั้นผู้ปกครองบ้านเมืองและพระศาสนจักรยังพยายามดูแลความปลอดภัยและ อำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญ คอยปราบปรามโจรผู้ร้าย มีการสร้างที่พักสำหรับผู้จาริกแสวงบุญตามเส้นทางที่สำคัญๆ หรือใกล้เคียงกับสักการสถานจุดหมายของการจาริกแสวงบุญ มีการตั้งคณะนักบวชขึ้นมาหลายคณะเพื่อช่วยเหลือผู้จาริกแสวงบุญโดยเฉพาะด้วย เช่น อัศวินนักบุญยากอบ (The Knights of St. James) ในประเทศสเปน อัศวินแห่งพระวิหาร (The Knights Templars) อัศวินแห่งมอลต้า (The Knights of Malta) เพื่อช่วยป้องกันอันตรายของผู้จาริกแสวงบุญในการเดินทาง หรือเพื่อดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย


     แต่ถึงอย่างไรการเดินทางในสมัยนั้นก็ยังเป็นภาระหนักไม่ใช่น้อย การจาริกแสวงบุญจึงนับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่จะชดเชยความผิดที่ได้กระทำลงไป ด้วย กฎหมายของพระศาสนจักรและหลายครั้งกฎหมายทางบ้านเมืองด้วยกำหนดให้ผู้ทำผิด หนักต้องชดเชยความผิดที่ได้ทำโดยจาริกแสวงบุญไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์หรือ สักการสถานต่างๆ การจาริกแสวงบุญจึงเป็นโอกาสที่คริสตชนจะได้รับการอภัยโทษอันเนื่องมาจากบาป ที่ได้กระทำ ในสมัยก่อนเมื่อจะออกเดินทางแสวงบุญ ผู้แสวงบุญจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม มีเสื้อผ้าทนทานเท่าที่จำเป็นและมีลักษณะชี้ให้เห็นด้วยว่าเขามีความสำนึกใน บาปและความผิดของตน สวมหมวกปีกกว้าง ถือไม้เท้า มีย่ามใส่สิ่งของที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง ทางพระศาสนจักรยังจัดให้มีพิธีกรรมพิเศษเพื่ออวยพรผู้จาริกแสวงบุญก่อนออก เดินทาง และพระสังฆราชมักจะออกหนังสือรับรองอีกด้วยว่าเขาเป็นผู้จาริกแสวงบุญจริงๆ ไม่ใช่เพื่อหลอกลวงหรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนั้นโดยปรกติมักจะเรียกร้องให้ผู้จาริกแสวงบุญจัดการเรื่องราวเกี่ยว กับสมาชิกในครอบครัวให้เรียบร้อย ใช้หนี้สินหรือชดเชยความเสียหายที่เคยกระทำต่อผู้อื่น จัดการให้สมาชิกในครอบครัวมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะดำรงชีพอยู่ได้อย่างดี ระหว่างที่เขาไม่อยู่บ้าน ส่วนเงินทองส่วนที่เหลือก็จะทำทานและนำติดตัวไปใช้จ่ายระหว่างเดินทางซึ่ง ไม่แน่ว่าเขาจะกลับมาโดยปลอดภัยหรือไม่

กิจกรรมของผู้จาริกแสวงบุญ
     โดยปรกติเมื่อผู้จาริกแสวงบุญมาถึงสักการสถานที่ต้องการแล้วก็มักจะสวด ภาวนาและทำกิจใช้โทษบาปตามที่ได้บนบานสัญญาไว้ ผู้แสวงบุญมักจะคุกเข่าสวดภาวนา บางทีก็เดินเท้าเปล่า หรือคุกเข่าเดินในระยะทางที่กำหนด กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้แสวงบุญก็คือการรับศีลศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะ ศีลมหาสนิทและศีลอภัยบาปเพื่อแสดงการกลับใจอย่างแท้จริง จะได้สนิทสนมกับพระคริสตเจ้าและบรรดานักบุญให้มากยิ่งขึ้น ตามสักการสถานต่างๆที่มีผู้นิยมไปแสวงบุญจึงมักจะมีพระสงฆ์จำนวนมาก คอยให้บริการศีลอภัยบาปและถวายมิสซาสำหรับผู้แสวงบุญ ผู้แสวงบุญส่วนใหญ่ยังถวายเงินหรือสิ่งของที่นำมาให้แก่สักการสถานอีกด้วย โดยเฉพาะถ้าได้รับการรักษาให้หายจากโรคหรือได้รับพระคุณพิเศษ ผู้แสวงบุญมักจะถวายสิ่งของเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นพระคุณที่ได้รับ เช่น ถวายรูปหัวใจ หรือรูปอวัยวะที่หายจากโรค ถวายเทียนหรือน้ำมันสำหรับจุดตะเกียงที่สักการสถานฯลฯ
     เรากล่าวมาข้างต้นแล้วว่าผู้จาริกแสวงบุญบางคนยังคงสมัครใจพำนักอยู่ต่อไป ณ สักการสถานนั้นเพื่อบริการผู้อื่น หรืออาจเดินทางแสวงบุญต่อไปยังสักการสถานอื่นๆ แม้กระทั่งในสมัยปัจจุบันก็ยังมีบางคนที่จาริกแสวงบุญไปตามสักการสถานต่างๆ ตลอดชีวิต (“peregrinantes” ไม่ใช่เพียง “peregrini”) นักบุญเบเนดิ๊ก โยเซฟ ลาเบรอ (ศตวรรษที่ 18) เป็นผู้ที่ “ทำตนเป็นคนบ้าของพระคริสตเจ้า” แสวงบุญไปตามสักการสถานต่างๆตลอดชีวิต

ความหมายแท้จริงของการจาริกแสวงบุญ
     ในปัจจุบันนี้การเดินทาง “แสวงบุญ” ไม่ยากลำบากเหมือนในสมัยก่อน ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในการเดินทางและที่พักทำให้การจาริกแสวงบุญในปัจจุบันไม่เป็นการ เสี่ยงชีวิตเพื่อแสดงความเชื่ออย่างแต่ก่อน นอกจากนั้นยังมีการท่องเที่ยวเยียมเยียนสถานที่ต่างๆเป็นของแถมด้วย หลายคนที่ไป “แสวงบุญ” จึงอาจลืมจุดประสงค์เอกของการจาริกแสวงบุญไปได้ง่ายๆ


     อย่างไรก็ตาม แม้ในสมัยก่อนเมื่อการจาริกแสวงบุญมีความยากลำบากไม่น้อย บรรดาปิตาจารย์และนักเขียนหลายท่านยังเขียนเตือนให้คริสตชนสำนึกว่า สิ่งสำคัญจริงๆในชีวิตคริสตชนคือการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างศักดิ์สิทธิ์ตามฐานะและหน้าที่ของตน นักบุญเยโรมเขียนไว้ว่า “ระยะทางไปสวรรค์นั้นเท่ากันเสมอไม่ว่าจะไปจากเกาะบริเทนหรือจากกรุงเยรูซาเล็ม” ท่านยังบอกอีกว่าถึงแม้การไปจาริกแสวงบุญอย่างดีและศรัทธาจะเป็นวิธีการ สำคัญประการหนึ่งเพื่อบรรลุถึงความรอดพ้น แต่ก็มิใช่วิธีที่จำเป็น จึงไม่เป็นการถูกต้องที่ผู้หนึ่งจะละทิ้งหน้าที่จำเป็นของตนเพื่อไปจาริก แสวงบุญ โดยเฉพาะถ้าเขาเป็นนักพรต ถึงกระนั้นการจาริกแสวงบุญก็ยังเป็นกิจกรรมที่มีผู้นิยมปฏิบัติกันตลอดมา


     สรุปแล้วในทางปฏิบัติก็น่าจะกล่าวว่าถ้าใครสามารถไปจาริกแสวงบุญยังสถานที่ ที่ตนมีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นพิเศษได้โดยไม่ละเลยหน้าที่จำเป็นของตนและไม่ เป็นผลเสียหายแก่ผู้ใด ก็น่าจะทำได้อย่างอิสระแม้จะมีจุดประสงค์รองอื่นแทรกเข้ามาด้วยก็ตาม แต่ถ้าเพื่อทำเช่นนี้เขาจะต้องละทิ้งหน้าที่จำเป็นของตนหรือทำให้ผู้อื่น ต้องเดือดร้อน การจาริกแสวงบุญก็คงไม่น่าสนับสนุนเท่าไรนัก

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ต้องใหม่เสมอ"ข่าวดีวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกาวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2025ก. ความสำคัญ 1. บทอ่านในวันนี้เน้น “การฟื้นฟูขึ้นใหม่”...
"ชุมพาบาลที่ดี" ข่าวดี วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (C)วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2025ก. ความสำคัญ...
"พบพระคริสต์ผู้ทรงกลับคืนชีพ"ข่าวดีวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา(C)วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2025 ก. ความสำคัญ 1. พระคัมภีร์ในวันอาทิตย์นี้เน้นเรื่องการกลับใจของ...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

ขอคำภาวนาเพื่อดวงวิญญาณของ ยอแซฟ ไสว  สารสุข
ขอคำภาวนาอุทิศแด่ ยอแซฟ ไสว สารสุข (บิดาของคุณพ่อรุ่งเรือง สารสุข)ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเรียกให้ไปพักผ่อนตลอดนิรันดรกับพระองค์เชิญร่วมพิธีกรรมอุทิศแด่ผู้ล่วงหลับและพิธีปลงศพณ วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง จ.ราชบุรี
พิธีบูชาขอบพระคุณอุทิศแด่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
พิธีบูชาขอบพระคุณอุทิศแด่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสและฉลองพระเมตตา วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2025 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณอุทิศแด่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และฉลองพระเมตตา ณ...
เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาการเป็นพระสงฆ์
เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาการเป็นพระสงฆ์ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2025 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาการเป็นพระสงฆ์ ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
พิธีปลงศพคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์
พิธีปลงศพคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2025 เวลา 08.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี นำภาวนาและประกอบพิธีอำลาคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 3...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 2
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 2...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 1
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 1...
กำหนดการพิธีกรรมอุทิศแด่ คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์
กําหนดการพิธีกรรมอุทิศผู้ล่วงหลับ แด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์พระสงฆ์สังฆมณฑลราชบุรีชาตะ 29...
พิธีปลงศพคุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง
พิธีปลงศพคุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง วันพฤหัสบดีที่ 3...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 3...

สาส์น-ประกาศจากสภาพระสังฆราชฯ

ประกาศสภาประมุขบาทหลวงฯ เรื่อง การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
ประกาศสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยที่ สสท. 051/2025.เรื่อง...
สาส์นอภิบาลฯ เรื่อง ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 “บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
สาส์นอภิบาลของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ 102/2024เรื่อง...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2025

ข้อกำหนดสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2025

ข้อกําหนดสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2025

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก