PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก


ที่ผ่านมาเราได้ยินชื่อ “กลุ่ม BECs” กันจนคุ้นหู เป็นชื่อย่อจาก “Basic Ecclesial Communities” หรือ SCCs “Small Christian Communities” ซึ่งหมายถึงชุมชนคริสตชนย่อย หรือชุมชนคริสตชนพื้นฐาน เพราะเป็นส่วนย่อยของชุมชนวัด ปัจจุบันเราตกลงเลือกใช้คำว่า “วิถีชุมชนวัด” แทน

     เราพยายามหลีกเลี่ยงคำว่า “กลุ่ม” กับชุมชนคริสตชนย่อย เพราะชุมชนคริสตชนย่อยไม่ใช่ “กลุ่มใหม่” แต่เป็นวิถีชีวิตที่มาพร้อมกับการเป็นคริสตชนในศีลล้างบาป ดังนั้น คริสตชนทุกคน ไม่ว่าจะสังกัดกลุ่มใดหรือไม่ก็ตาม ล้วนมีส่วนเป็นชุมชนคริสตชนย่อยอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสมัคร และก็ลาออกไม่ได้เช่นกัน

     ส่วนคำว่า AsIPA “Asian Integral Pastoral Approach” เป็นกระบวนการอบรม ซึ่งมีแผนก AsIPA สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย (FABC) เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้ความรู้แก่ทุกคนเพื่อให้เข้าใจจิตตารมณ์วิถีชุมชน วัด ประกอบด้วยหลักสูตรหรือคู่มือในการสร้างความตระหนักแก่ชุมชน วิธีการรวมตัว การอบรมผู้นำ การหล่อเลี้ยงชุมชนย่อย ฯ และที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือการแบ่งปันพระวาจา 7 ขั้นตอนนั้นเอง เอกสารแบ่งเป็นหมวด A-E (ในปัจจุบัน) และยังคงมีเอกสารออกมาอย่างต่อเนื่อง

ใน ภาคปฏิบัติมีเครื่องหมายสี่ประการเป็นการบ่งชี้ถึงวิถีชุมชนวัดที่เป็น รูปธรรมตามแนวทางของพระศาสนจักร คือ 1. จำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยเริ่มจากประมาณ 5-15 ครอบครัว เป็นเพื่อนบ้านกัน หรืออยู่ในละแวกเดียวกัน 2. กิจกรรมสำคัญคือการแบ่งปันพระวาจาเป็นพื้นฐานของการพบปะกัน 3. การแสดงออกและทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันของชุมชนคริสตชนย่อยนั้นมาจากความเชื่อ และ 4. ชุมชนคริสตชนย่อยต้องเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากลและต้องขึ้นกับวัดที่ ตนสังกัด

     สรุปได้ว่า วิถีชุมชนวัดคือชุมชนคริสตชนย่อยๆ ของชุมชนในวัดมารวมตัวกัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่องค์พระเยซูคริสตเจ้า มีการร่วมกันอ่านพระวาจา ไตร่ตรอง แบ่งปันประสบการณ์ ภาวนา เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพบปะและหล่อเลี้ยงชีวิตของสมาชิก โดยมีจุดประสงค์เพื่อประกอบกิจการแห่งความรักซึ่งกันและกันช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน กำหนดกิจกรรมแห่งความดีที่จะปฏิบัติร่วมกัน เช่น เยี่ยมคนป่วย ให้ความช่วยเหลือคนยากจนในกลุ่มย่อยของตนฯลฯ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมชีวิตจิตของสมาชิก เช่น การนำพระวาจาที่แบ่งปันมาเป็นข้อตั้งใจในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ฯลฯ อย่างไรก็ดี กิจการต่างๆ เหล่านี้กระทำโดยเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนวัดที่ตนสังกัด

2. ชุมชนคริสตชนย่อย (BEC) คืออะไรกันแน่?

ตอบ ชุมชนคริสตชนย่อย (BEC) เป็นเรื่องที่สามารถมองได้ 2 แบบ ซึ่งต่างก็เน้นเรื่องการดำเนินชีวิตเป็นกลุ่ม
     1. ชุมชนคริสตชนย่อยเป็นวิถีชีวิตที่คริสตชนทุกคนพึงเป็น อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า ในศีลล้างบาป คริสตชนเป็นลูกของพระเจ้า เป็นสมาชิกของพระศาสนจักร เป็นส่วนหนึ่งของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า (เทียบ 1คร. 12:12-30) เป็นพี่น้องกัน มีพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิต ซึ่งคริสตชนพบกับพระองค์ได้อย่างชัดเจนในพระวาจา และการรับศีลมหาสนิทในพิธีบูชาขอบพระคุณ นอกจากนั้นคริสตชนยังต้องดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้อง ด้วยการรักกันและกัน ช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอาใจใส่ดูแลและเสริมสร้างสังคมที่คริสตชนเป็นสมาชิก และเป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสตเจ้าแก่ทุกคนรอบข้าง

     2. ชุมชนคริสตชนย่อยยัง เป็นรูปแบบและแนวทางในการดำเนินชีวิตของคริสตชนที่พระศาสนจักรนำเสนอ (โดยให้พระศาสนจักรท้องถิ่นปรับให้เหมาะกับบริบทของตน) เพื่อให้พระหรรษทานของพระเจ้าในศีลล้างบาปได้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ในชีวิตของคริสตชนทุกคนซึ่งเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร เป็นส่วนหนึ่งของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า (เทียบ 1คร. 12:12-30) โดยยึดเอารูปแบบของคริสตชนสมัยอัครสาวก (เทียบ กจ. 2:42-47 และ กจ. 4:32-35) เป็นรูปแบบในการดำเนินชีวิตของคริสตชนในสมัยปัจจุบัน

     ดังนั้น ชุมชนคริสตชนย่อย จึงเน้นไปที่ชุมชนวัดที่ทุกคน ทั้งฆราวาส นักบวช พระสงฆ์ มีส่วนร่วม เป็นชุมชนที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แต่ในภาคปฏิบัตินั้นเนื่องจากชุมชนคริสตชนของวัดนั้นเป็นชุมชนใหญ่ อาจจะทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินชีวิตในรูปแบบนี้เป็นไปได้ช้า และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายก็อาจจะไม่เต็มที่นัก พระศาสนจักรจึงเสนอรูปแบบการจัดชุมชนคริสตชนในวัดเป็นกลุ่มย่อย ประมาณ 5-15 ครอบครัว ที่เป็นเพื่อนบ้านกันให้มารวมตัวกัน และในการพบปะกันทุกครั้งมีการแบ่งปันพระวาจาเป็นพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคริสตชนในกลุ่มย่อยนี้ดำเนินชีวิตด้วยกันโดยมีศูนย์ กลางที่องค์พระเยซูคริสตเจ้า และได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจาของพระองค์ แต่แน่นอนว่าการรวมกลุ่มกันไม่ใช่เป็นเพียงกลุ่มศรัทธาที่มาสวดภาวนาร่วมกัน เพราะเหตุว่าชีวิตคริสตชนที่แท้จริงนั้นต้องเป็นชีวิตที่รัก แบ่งปัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร่วมกันรับผิดชอบและพัฒนาสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น การประชุมพบปะกันด้วยความเชี่อนี้จึงต้องมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันซึ่ง แสดงออกเป็นกิจกรรมแห่งความรักต่อเพื่อนพี่น้องทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตอย่าง เป็นรูปธรรม และแน่นอนกลุ่มย่อยเหล่านี้ทำความดีเพื่อพระคริสตเจ้าในพระ ศาสนจักรของพระองค์ จึงเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนวัดที่ตนสังกัดและพระศาสนจักรสากล และด้วยการดำเนินชีวิตเช่นนี้ ชีวิตของคริสตชนจึงเป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสตเจ้าแก่ทุกคนรอบข้าง


3. สัตบุรุษมาวัดก็บุญแล้ว ไปร่วมมิสซาที่วัดเพียงอย่างเดียวยังไม่พออีกหรือจะเรียกร้องให้เขาทำวิถีชุมชนวัดอีกหรือ?

     ตอบ เมื่อเราได้รับศีลล้างบาปเป็นคริสตชน เราเป็นคริสตชน 24 ชั่วโมง และตลอดชีวิต การมาร่วมมิสซาในวันพระเจ้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตคริสตชน เนื่องจากวิถีชีวิตของคริสตชนในฐานะลูกของพระเจ้าโดยอาศัยศีลล้างบาปนั้น เป็นการดำเนินชีวิตโดยมีพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น คริสตชนพึงหล่อเลี้ยงชีวิตของตนด้วยพระวาจาและศีลมหาสนิท ปฏิบัติตามคำสอนและแบบอย่างชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า มีความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ สิ่งเหล่านี้หาใช่ข้อเรียกร้องที่เกินเลยไม่ แต่ทว่าเป็นวิถีชีวิตที่คริสตชนพึงปฏิบัติในฐานะลูกของพระเจ้า


4. ทำไมต้องมีวิถีชุมชนวัด ? ทำไมต้องมาทำเรื่องนี้กัน?

     ตอบ จากอดีตที่ผ่านมางานทุกอย่างของพระศาสนจักรขึ้นอยู่กับพระสงฆ์ นักบวช แต่ฆราวาสซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่กลับไม่มีบทบาทมากนัก ประกอบกับกระแสการดำเนินชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ของสังคมโลกทำให้ฆราวาสเอง ขาดความตระหนักในหน้าที่รับผิดขอบในพระศาสนจักร ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรสากลมีความมุ่งหวังที่จะทำให้วัดทุกๆ วัดในพระศาสนจักรท้องถิ่น เป็นชุมชนวัดที่สมาชิกทุกคนในวัด ทั้งฆราวาส นักบวช พระสงฆ์ ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน แบบที่เรียกว่า “ชุมชนวัดที่ทุกคนมีส่วนร่วม” โดยมีประสบการณ์การประทับอยู่ของพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพใน “พระวาจา” ที่พวกเขาแบ่งปัน และใน “ศีลมหาสนิท” ที่พวกเขาเข้าไปรับในพิธีบูชาขอบพระคุณ การมีประสบการณ์ชีวิตกับพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพดังกล่าวจะ ขับเคลื่อนสมาชิกแต่ละคนให้ออกไปประกาศข่าวดี และแบ่งปันประสบการณ์ความเชื่อในชีวิตของตนให้แก่บุคคลที่อยู่รอบข้างในทุก ซอกทุกมุมของชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ ทั้งกับผู้ที่เป็นคริสตชนและกับผู้นับถือศาสนาอื่น

     เพื่อจะให้ความมุ่งหวังนี้ประสบความสำเร็จ พระศาสนจักรแนะนำให้ฟื้นฟูคริสตชนเป็นชุมชนย่อยหรือเป็นวิถีชุมชนวัด และในบริบทของทวีปเอเชีย สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย ได้เสนอให้ชุมชนคริสตชนย่อยหรือวิถีชุมชนวัด ใช้ “กระบวนการอภิบาลแบบบูรณาการ” (AsIPA หรือ Asian Integral Pastoral Approach) เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรม ซึ่งพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยก็มุ่งหวังให้เกิด “ชุมชนวัดที่ทุกคนมีสัมพันธ์เป็นหนึ่งและมีส่วนร่วม” เช่นกัน จึงเน้นเรื่องวิถีชุมชนวัดในแผนอภิบาล ค.ศ. 2000-2010 ต่อเนื่องมาจนถึงแผนฯ ค.ศ. 2010-2015 โดยพยายามปรับกระบวนการอภิบาลแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย

5. วิถีชุมชนวัดมีประโยชน์อย่างไร? ชุมชนวัดที่เป็นอยู่ยังไม่ใช่วิถีชุมชนวัดอีกหรือ?

     คำตอบ วิถีชุมชนวัดมีประโยชน์กับพันธกิจของชุมชนวัด เพราะความเป็นหนึ่งเดียวกันและการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกฝ่ายในวัด คือ ทั้งฆราวาส นักบวช พระสงฆ์ โดยมีพระเยซู คริสตเจ้า เป็นศูนย์กลาง จะขับเคลื่อนพันธกิจของวัดซึ่งก็คือพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ในขณะเดียวกันรูปแบบของความรักและความเป็นหนึ่งเดียวของสมาชิกทุกคนในวัด ก็จะเป็นประจักษ์พยานที่ดีถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้าแก่ทุกคนรอบข้าง

     ในแง่ของชีวิตคริสตชนและชีวิตหมู่คณะ การดำเนินชีวิตตามวิถีชุมชนวัด เป็นการส่งเสริมให้คริสตชนมีความรักซึ่งกันและกัน รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือกัน บำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนส่วนรวม ซึ่งจะทำให้ชีวิตของแต่ละคน และการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนคริสตชนเต็มไปด้วยความสุขทั้งกายและใจ

จริงๆ แล้วชุมชนวัดที่เป็นอยู่ก็พยายามมุ่งสู่จิตตารมณ์ของวิถีชุมชนวัด ซึ่งพยายามเน้นพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง สอนให้คริสตชนรักกันและกัน และก็พยายามให้ คริสตชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของวัด แต่ยังขาดรูปแบบการดำเนินงานของชุมชน คริสตชนย่อยที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีเครื่องหมายบ่งบอก 4 ประการ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว คือ 1. จำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยเริ่มจากประมาณ 5-15 ครอบครัว เป็นเพื่อนบ้านกัน หรืออยู่ในละแวก หรือโซนเดียวกัน 2. กิจกรรมสำคัญคือการอ่านพระวาจา การแบ่งปันพระวาจาเป็นพื้นฐานของการพบปะกัน 3. การแสดงออกและทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันของชุมชนคริสตชนย่อยนั้นมาจากความเชื่อ และ 4. ชุมชนคริสตชนย่อยต้องเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากลและต้องขึ้นกับวัดที่ ตนสังกัด

 

6. สัตบุรุษมาจากต่างสถานที่กัน ไม่ได้อยู่ละแวกเดียวกัน หรือในโซนเดียวกัน นับเป็นชุมชนคริสตชนย่อยเดียวกันหรือเปล่า?

     คำตอบ จากข้อที่ 1 ของเครื่องหมายสี่ประการในการบ่งชี้ถึงความเป็นชุมชนคริสตชนย่อย คือ สมาชิกในกลุ่มย่อย ประมาณ 5-15 ครอบครัว เป็นเพื่อนบ้านกัน ทำให้เราได้ความชัดเจนว่า สัตบุรุษที่มาจากที่ต่างกัน ไม่ได้อยู่ในละแวกเดียวกัน หรือในโซนเดียวกันยังไม่นับเป็นชุมชนคริสตชนย่อย แน่นอนถ้าเขามาประชุมพบปะกันเพื่อแบ่งปันพระวาจา ก็ต้องถือว่าเขาเป็นกลุ่มพระวาจาหรือเป็นกลุ่มที่รักพระวาจา หรือถ้าเขาทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันเป็นองค์กรด้วยจิตตารมณ์แห่งความเชื่อและความรักในองค์พระเยซูคริสต เจ้า โดยขึ้นกับพระศาสนจักร ก็ถือว่าเขาเป็นกลุ่มกิจกรรมคาทอลิก


7. คนในเมืองจะรวมกลุ่มได้อย่างไร? เดินทางลำบาก เวลาก็ไม่มี ตื่นตีห้า ถึงบ้านสามทุ่มแทบทุกวัน

     คำตอบ คนในเมืองก็สามารถรวมกลุ่มกันได้ แน่นอนเป็นความยากลำบาก และต้องใช้ความเสียสละเป็นอย่างมากในสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบันที่ต้องดิ้นรน เพื่อปากท้อง แต่เชื่อว่าถ้าพี่น้องคริสตชนตระหนักถึงความสำคัญของวิถีชุมชนวัด เขาจะสามารถจัดเวลาพบปะสม่ำเสมอได้อย่างแน่นอน เช่น ประเทศสิงคโปร์ หรือเมืองมุมไบประเทศอินเดีย หรือพี่น้องคริสตชนในกรุงเทพฯ บางแห่งที่เริ่มเป็นชุมชนคริสตชนย่อย เขาก็เป็นสังคมเมืองเช่นเดียวกัน แต่เขาก็สามารถรวมกลุ่มกันได้ และทำได้ดีด้วย


8. จะเริ่มวิถีชุมชนวัดอย่างไร และรวมกลุ่มวิถีชุมชนวัดเพื่อทำอะไรบ้าง?

     คำตอบ คงต้องเริ่มที่การให้พี่น้องคริสตชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการเป็นคริสตชนของตน เป็นต้น เรื่องการมีส่วนร่วมของคริสตชนในชุมชนวัดตามกระแสเรียกของตน ให้ความรู้เรื่องวิถีชุมชนวัดแก่ทุกฝ่าย คือ ฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ รวมทั้งการสร้างผู้นำซึ่งเป็นฆราวาสที่จะมาร่วมงานกับพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำ ในกลุ่มย่อย เมื่อทุกฝ่ายมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง และมีผู้นำที่เข้มแข็ง ก็เชื่อว่าวิถีชุมชนวัดจะเกิดและมีความยั่งยืน
การรวมกลุ่มวิถีชุมชนวัดก็เพื่อให้คริสตชนช่วยเหลือกันในการดำเนินชีวิตเป็น คริสตชนที่ดี หล่อเลี้ยงชีวิตด้วยพระวาจาและศีลมหาสนิท ออกจากตนเอง โดยมอบความรักให้กับผู้อื่น เป็นต้น ผู้ป่วย คนยากไร้ คนชรา ฯลฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม และพัฒนาสังคมที่ตนอยู่ให้ดีขึ้น ดำเนินชีวิตร่วมกันเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืน พระชนมชีพ

9. พระสงฆ์สนับสนุนจริงหรือไม่? พ่อเจ้าวัดเอาจริงหรือเปล่า? ถ้าพ่อเจ้าวัดไม่เล่นด้วย วิถีชุมชนวัดไม่มีทางเกิด

     คำตอบ พระสงฆ์เป็นผู้อภิบาล เป็นศิษย์ของพระเยซูคริสตเจ้า และเป็นศาสนบริกรของพระศาสนจักร แน่นอนย่อมสนับสนุนแนวทางของพระคริสตเจ้าที่พระศาสนจักรนำเสนอ มั่นใจว่าวิถีชุมชนวัดเกิดอย่างแน่นอนถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ แต่คงเป็นวิถีชุมชนวัดที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย กล่าวสั้นๆคือชุมชนคริสตชนย่อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ่อเจ้าวัด แต่พ่อเจ้าวัดต้องอยู่ร่วมกับชุมชนคริสตชนย่อย


10. งานนี้มักจะล้มไปถ้าเปลี่ยนตัวพ่อเจ้าวัด จริงหรือไม่?

     คำตอบ คือ ใช่ และไม่ใช่
     ใช่ เพราะว่า หากคุณพ่อเจ้าวัดสร้างชุมชนคริสตชนย่อยโดยไม่สร้างผู้นำที่เป็นฆราวาสที่ เข้มแข็งขึ้นมาด้วย และสมาชิกชุมชนคริสตชนย่อยก็ยังไม่กระจ่างแจ้งต่อบทบาทและหน้าที่ของตน แน่นอน เมื่อคุณพ่อเจ้าวัดต้องย้ายไปประจำที่อื่น ชุมชนคริสตชนย่อยก็อาจจะล้มได้

     ไม่ใช่ เพราะว่า หากคุณพ่อเจ้าวัดสร้างผู้นำฆราวาสที่เข้มแข็งและให้ความรู้ ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในชุมชนคริสตชนย่อย แม้คุณพ่อเจ้าวัดจะย้าย แต่ฆราวาสซึ่งเป็นผู้นำก็สามารถดำเนินการวิถีชุมชนวัดต่อไปได้เรื่อยๆ โดยประสานงานกับคุณพ่อเจ้าวัดองค์ใหม่และองค์ต่อๆ ไป


11. ถ้าพ่อเจ้าวัดไม่แสดงออกว่าสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนจะตั้งเองได้หรือไม่?

     คำตอบ หลักประการหนึ่งของวิถีชุมชนวัด คือ ต้องเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากลและต้องขึ้นกับวัดที่ตนสังกัด ดังนั้น พี่น้องฆราวาสคงจะตั้งชุมชนคริสตชนย่อยเองไม่ได้ แต่พี่น้องมีสิทธิขอคำแนะนำหรือร้องขอจากคุณพ่อเจ้าวัด และขอให้มั่นใจว่าวิถีชุมชนวัดเป็นสิ่งดี เป็นแนวทางของพระศาสนจักร ซึ่งคุณพ่อเจ้าวัดย่อมต้องให้การสนับสนุนอย่างแน่นอน


12. พระสงฆ์ / นักบวชจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน คริสตชนย่อยหรือไม่? พระสงฆ์ และนักบวชที่ประจำอยู่ที่วัด มีบทบาทหน้าที่อย่างไรในวิถีชุมชนวัด

     คำตอบ ทุกคนมีส่วนเป็นชุมชนคริสตชนย่อยตั้งแต่รับศีลล้างบาป และทุกๆ กระแสเรียกของพระศาสนจักรก็มีรากฐานและศูนย์กลางอยู่ที่พระเยซูคริสตเจ้า หลักการสำคัญประการหนึ่งของชุมชนคริสตชนย่อย คือ การมีส่วนร่วมของฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ แต่แน่นอนด้วยบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันตามกระแสเรียกของแต่ละคน บทบาทของพระสงฆ์และนักบวชจึงควรเป็นบทบาทของผู้ให้ความรู้ในเรื่องวิถีชุมชน วัดแก่สัตบุรุษ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้นำในชุมชนคริสตชนย่อย ให้กำลังใจ ช่วยแก้ไขปัญหา และสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนคริสตชนย่อยให้ดำเนินไปด้วยดีในชุมชนวัด ในสนามงานอภิบาลที่ตนรับผิดชอบ


13. วิถีชุมชนวัดเป็นการเพิ่มภาระให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส โดยเฉพาะฆราวาสที่เป็นสมาชิกกลุ่มอื่นๆ อยู่แล้ว หรือไม่

      คำตอบ ถ้าเรามองว่าวิถีชุมชนวัดเป็นวิถีชีวิตที่พระเจ้าประทานให้แก่เราเมื่อเรา รับศีลล้างบาป เราจะไม่มีความรู้สึกเลยว่าวิถีชุมชนวัดเป็นภาระ เหมือนกับเวลาที่เราหายใจ เราไม่เคยรู้สึกหนักใจหรือเป็นภาระเลยว่าทำไมเราต้องหายใจมากมายขนาดนี้ อันที่จริงถ้าเรามองย้อนกลับไปยังชุมชนคริสตชนในสมัยแรก ซึ่งเป็นรูปแบบของวิถีชุมชนวัดในปัจจุบัน เราจะพบว่าพวกเขาดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า รักกันและกัน สวดภาวนา และร่วมพิธีบิปัง ถ้ามองแบบนี้เราจะเห็นว่าเป็นงานของพระสงฆ์อยู่แล้ว (หาใช่ภาระที่เพิ่มขึ้น) ที่จะต้องเสริมสร้างวิถีชีวิตแบบนี้ให้เกิดแก่ชุมชนคริสตชนในชุมชนวัดของตน และสำหรับฆราวาสอื่นๆ ก็เช่นกัน โดยความเป็นคริสตชน เราต้องมีชีวิตแบบนี้เช่นกัน เพียงแต่วิถีชุมชนวัดเป็นการทำให้รูปแบบชีวิตนี้มีแนวทางที่ชัดเจนและเป็น รูปธรรมขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนย่อยที่เราอาศัยอยู่ และถือเป็นสิ่งดีถ้าฆราวาสคริสตชนจะอุทิศตนให้วัดมากขึ้นโดยเป็นสมาชิกของ กลุ่มกิจกรรมคาทอลิกอื่นๆ แต่คงไม่เหมาะนักหาก คริสตชนคนหนึ่งจะอุทิศตนให้แก่ผู้อื่นและแก่วัดอย่างมากมายตามจิตตารมณ์ของ กลุ่มกิจกรรมคาทอลิกที่ตนสังกัด แต่ละเลยความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนคริสตชนย่อยที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง


14. ใครต้องเข้าร่วมวิถีชุมชนวัดบ้าง หากเป็นสมาชิกองค์กรอยู่แล้ว สมาชิกของพลมารี หรือเซอร์ร่า ฯลฯ ต้องเข้าร่วมกับวิถีชุมชนวัดหรือไม่

     คำตอบ ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าวิถีชุมชนวัดไม่ใช่กลุ่มองค์กรพิเศษ แต่เป็นที่รวมของทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกค์กรต่างๆแล้ว และผู้ที่ยังไม่สังกัดองค์กรด้วย เป็นวิถีชีวิตที่มาพร้อมกับการเป็นคริสตชนในศีลล้างบาป ดังนั้น คริสตชนทุกคนมีส่วนเป็นชุมชนคริสตชนย่อยอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสมัคร และก็ลาออกไม่ได้เช่นกัน แต่เมื่อเป็นส่วนของชุมชนคริสตชนย่อยแล้วจะเข้าสังกัดเป็นสมาชิกในองค์กรใด ก็แล้วแต่ความสมัครใจของคริสตชนคนนั้น


15. สมาชิกที่บ้านอยู่ไกลกันมากจริงๆ จะรวมกลุ่มกันได้อย่างไร?

     คำตอบ ตามสภาพความเป็นจริงหากไม่มีบ้านใกล้กันจริงๆ หรืออาจจะไม่สามารถรวบกลุ่มได้ไม่ว่าด้วยปัญหาด้านความปลอดภัย หรือด้านสถานที่เราอาจทำได้ 2 แบบ คือ 1. เข้าร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ที่สะดวกกว่า หรือมาร่วมกันที่วัดกับคริสตชนอื่นๆ 2. ใช้รูปแบบธรรมฑูตในการดำเนินชีวิตคริสตชน อย่างไรก็ตามเคยมีกรณีที่เมื่อแสวงหาจริงๆ พบว่ามีคริสตชนอยู่ใกล้กับเราโดยไม่รู้มาก่อน พึงสังเกตุว่าวิธีการแบบนี้ถือเป็นวิธีการพิเศษ ไม่ควรนำมาใช้แบบต่อเนื่องในเวลาปรกติ

16. สมาชิกที่อยู่ตามอพาร์ทเมน หรือคอนโดมิเนียม หรือบ้านสมาชิกล้วนแต่เล็กๆไม่มีที่ที่รวมกลุ่มกันได้จะทำอย่างไร?

     คำตอบ การรวบตัวกันเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้สมาชิกมีโอกาสได้อ่านพระวาจาและนำไป ปฏิบัติในสถานการณ์ชีวิตจริงของพวกเขา หากสถานที่ไม่อำนวยจริงๆ สมาชิกสามารถใช้วัด หรือบริเวณใดก็ได้โดยขอความเห็นชอบของหมู่คณะในการตัดสินใจ สิ่งที่สำคัญคือสมาชิกหลักที่เข้าร่วมมาจากละแวกบ้านเดียวกันนั่นเอง และผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้รับการต้อนรับในการประชุมด้วยเช่นกัน

บทเทศน์วันอาทิตย์

"จงเตรียมพร้อม" ข่าวดี สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (C) วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2024ก.ความสำคัญ...
"กษัตริย์แห่งความรัก" ข่าวดี สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล(B)วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2024ก. ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันสุดท้ายของปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร บทอ่านจะบรรยายถึงการขึ้นครองราชย์ที่ยิ่งใหญ่ในสวรรค์ของพระเยซูคริสต์ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล...
"เตรียมพร้อม" ข่าวดี สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา (B)วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2024ก. ความสำคัญ...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

ฉลองวัดนักบุญเปาโลกลับใจ โพธาราม
วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญเปาโลกลับใจ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 📷...
ฉลองวัดนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ พุถ่อง
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ พุถ่อง อ.ทองผาภูมิ...
ฉลองวัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร ลูกแก
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร ลูกแก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อฟิลิป อดิศักดิ์ พรงาม เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลจันทบุรีโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อฟิลิป อดิศักดิ์ พรงามเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลจันทบุรีประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024
ฉลองวัดนักบุญลูกา หนองนางแพรว
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024...
วันแพร่ธรรมสากลและวันฆราวาสสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2024
วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2024 ฝ่ายงานธรรมทูตร่วมกับสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม...

สาส์น-ประกาศจากสภาพระสังฆราชฯ

สาส์นอภิบาลฯ เรื่อง ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 “บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
สาส์นอภิบาลของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ 102/2024เรื่อง...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

สาส์นอภิบาลฯ โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ. 2025
ที่ สร.091/2024สาส์นอภิบาลจากพระสังฆราชแห่งราชบุรีโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ....
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.2025
ที่ สร.090/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ
ที่ สร.088/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ...

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก