นัยแห่งกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 227 คือ
1. ฆราวาสมีเสรีภาพในการเลือกอาชีพที่สุจริตเหมือนประชาชนทั่วไป
2. ฆราวาสต้องบูรณาการความเชื่อกับการงานอาชีพของตน ให้ทุกคนพบข่าวดีจากชีวิตประจำวันและการงานความรับผิดชอบ
3. ฆราวาสต้องสนใจคำสอนของพระศาสนจักรเพื่อให้ตนพัฒนาความเชื่อและศีลธรรมตามคำสอนนั้น
4. ฆราวาสมีอิสรเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้การยอมรับอำนาจของผู้มีอำนาจของพระศาสนจักร
5. ฆราวาสมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อความดีของส่วนรวมโดยมีความเคารพต่อบุคคลเป็นสำคัญ
ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอิสรเสรีภาพของฆราวาส มีดีงนี้
6.1.1 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 843 วรรค 1 กล่าวว่า “ศาสนบริกรไม่สามารถปฏิเสธศีลศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้มาขอรับตามโอกาสอันควร อยู่ในสภาพพร้อมและไม่ถูกห้ามรับศีลเหล่านั้นโดยกฎหมาย”
6.1.2 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 883 วรรค 2 กล่าวว่า “ตามตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคนทั้งผู้อภิบาลวิญญาณและบรรดาคริสตชนต่างมีหน้าที่เอาใจใส่เตรียมผู้มาขอรับศีลศักดิ์สิทธิ์โดยรับข่าวดีและเรียนคำสอน โดยถือตามกฎเกณฑ์ซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจกำหนดไว้”
6.1.3 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 285 วรรค 3 ห้ามสมณะรับตำแหน่งทางการเมืองแต่ให้เสรีภาพแก่ฆราวาสความว่า “ห้ามสมณะรับตำแหน่งหน้าที่สาธารณะ ซึ่งทำให้มีส่วนในการใช้อำนาจฝ่ายบ้านเมือง”
6.1.4 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 287 วรรค 2 ให้เสรีภาพแก่ฆราวาสแต่ห้ามสมณะมีบทบาทในพรรคการเมืองความว่า “สมณะต้องไม่มีส่วนอย่างมีบทบาทในพรรคการเมืองและในการบริหารสหภาพแรงงาน เว้นไว้แต่ว่าเป็นการจำเป็นเพื่อป้องกันสิทธิของพระศาสนจักร หรือเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ส่วนรวมตามวิจารณญาณของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักร”
6.2 อิสรภาพของฆราวาสตามคำสอนของสังคายนาวาติกันที่ 2
6.2.1 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM) ข้อ 37 กล่าวว่า “พวกฆราวาสก็เช่นเดียวกับสัตบุรุษ คริสตชนทั้งหลาย เขามีสิทธิ์ในทรัพย์ด้านวิญญาณของพระศาสนจักร เป็นต้น ในอันที่จะได้รับอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ อาหารแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้า และศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆจากเจ้าหน้าที่ศาสนบริการ เขาเพียงแต่ต้องแจ้งให้ท่านทราบถึงความต้องการและความปรารถนาของเขาอย่างมีอิสรเสรีและด้วยความไว้วางใจประสาบุตรของพระเป็นเจ้าและประสาเป็นพี่น้องในพระคริสตเจ้า อันความรู้ความสามารถและตำแหน่งหน้าที่ที่เขามี เขามีสิทธิ์และบางทีมีหน้าที่อีกด้วยที่จะแจ้งให้ทราบถึงความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพระศาสนจักรโดยเมื่อมีเหตุกรณี โดยเสนอเรื่องราวต่อองค์การต่างๆที่พระศาสนจักรได้ตั้งไว้และให้เขาแสดงออกโดยสม่ำเสมอ ซึ่งความจริงใจ ความกล้าหาญและความรอบคอบทั้งด้วยความเคารพและความรักต่อบุคคลที่เพราะได้รับหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงเป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้า”
6.2.2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (GAUDIUM ET SPES) ข้อ 26 กล่าวว่า “แต่ในขณะเดียวกันก็มีการสำนึกยิ่งขึ้นถึงศักดิ์ศรีอันสูงส่งของบุคคลมนุษย์ ซึ่งประเสริฐกว่าสิ่งใดๆและมีสิทธิ์กับหน้าที่ทั่วไปและละเมิดไม่ได้ ฉะนั้นต้องจัดการให้มนุษย์มีทางได้รับสิ่งต่างๆที่ต้องการเพื่อดำรงชีวิตที่เหมาะสมแก่สภาพมนุษย์อย่างแท้จริง เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ สิทธิที่จะเลือกอาชีพอย่างอิสระและตั้งครอบครัว สิทธิในการอบรม ในการทำงาน ในชื่อเสียง ในความนับถือ ในการหาความรู้ตามสมควร สิทธิที่จะปฏิบัติตามมโนธรรมของตน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองชีวิตส่วนตัว และมีส่วนเสรีภาพอันชอบธรรมของตน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองชีวิตส่วนตัวและมีส่วนเสรีภาพอันชอบธรรมของตน เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องถือศาสนา”
6.2.3 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (GAUDIUM ET SPES) ข้อ 43 กล่าวว่า “บ่อยๆทัศนะความเห็นตามพระคริสต์ธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆชักจูงฆราวาสให้ตัดสินในเรื่องเดียวกันไปอีกทางหนึ่งโดยมีความสุจริตเท่าเสมอกัน ตามที่เกิดมีเช่นนี้บ่อยๆและก็เป็นเรื่องธรรมดา คนหลายคนอาจเอาความเห็นของคนนี้หรือคนนั้นไปปนกับข้อความในพระวรสารได้ง่ายๆ โดยบางทีขัดต่อเจตจำนงของผู้เกี่ยวข้องเอง ในกรณีเช่นนั้น ต้องระลึกว่าไม่มีใครมีสิทธิจะอ้างอำนาจของพระศาสนจักรมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนได้อย่างเด็ดขาดฝ่ายเดียว ในการสนทนากันอย่างสุจริตใจ ทั้งสองฝ่ายพยายามให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ รักษาความรักต่อกัน และเฉพาะอย่างยิ่งห่วงใยถึงประโยชน์ร่วมกัน”