ตอบ ก่อนที่จะตอบคำถาม พ่อขอเริ่มต้นด้วยหลักเกณฑ์ของการร่วมพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ของ คาทอลิก ซึ่งเรียกร้อง การมีส่วนร่วม (active participation) และสิ่งหนึ่งที่แสดงออกถึง การมีส่วนร่วมก็คือ การปรากฎตัวอยู่ (present) ณ สถานที่ซึ่งประกอบพิธีกรรม
และต่อด้วยกฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1247 ซึ่งกล่าวว่าคริสตชนมีพันธะ (obligation) ที่จะต้องร่วมพิธีมิสซาวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ และกล่าวเพิ่มเติมใน มาตรา 1248 ว่า หากมีเหตุจำเป็นก็สามารถร่วมมิสซาเย็นของวันก่อนฉลอง ซึ่งใน ประเทศไทยหลายวัดก็ถวายมิสซาวันเสาร์เย็นแทนมิสซาวันอาทิตย์สำหรับคริสตชนที่ไม่ สะดวกมาในวันอาทิตย์ หรือในกรณีจำเป็นที่มีเหตุผลอย่างหนักแน่น ก็สามารถประกอบ วจนพิธีกรรม หรือการสวดภาวนาทั้งแบบส่วนตัวหรือครอบครัวแทนได้ ในกรณีนี้จะ พบเห็นได้ในกลุ่มคริสตชนทางภาคเหนือที่อยู่บนพื้นที่สูง ซึ่งพระสงฆ์ไม่สามารถไป ถวายมิสซาวันอาทิตย์ให้ได้ ดังนั้นก็จะมีครูคำสอนหรือผู้นำกลุ่มคริสตชนนำสวดภาวนา และวจนพิธีกรรมแทนมิสซาวันอาทิตย์
แล้วการไม่ไปร่วมมิสซาวันอาทิตย์เป็นบาปไหม?
ก่อนอื่นหมด เราต้องเข้าใจว่าบาปคือ อะไรเสียก่อน ซึ่งคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกกล่าวถึง บาป ว่าคือ การทำผิดต่อ เหตุผล ความจริง มโนธรรมที่ถูกต้อง เป็นความบกพร่องในความรักต่อพระเจ้าและ เพื่อนมนุษย์ บาปแยกได้เป็น บาปทางความคิด ทางคำพูด ทางการกระทำ และการ ละเลย (ละเว้นไม่กระทำ) ซึ่งมีทั้งบาปหนัก คือ ผิดในเรื่องหนักโดยรู้ตัวและเต็มใจ และ บาปเบา คือผิดในเรื่องเบาโดยไม่รู้ตัวและไม่เต็มใจ (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1849-1864) สำหรับคริสตชนที่ไม่ได้ไปร่วมมิสซาวันอาทิตย์ก็ถือว่าละเลยต่อพันธะ ละเว้นการกระทำหน้าที่ และขาดการแสดงความรักต่อพระเจ้า จึงถือว่าเป็นบาป ส่วนจะ หนักหรือเบาก็ขึ้นอยู่กับความรู้ตัวความเต็มใจและเจตนาของการกระทำของแต่ละคน ซึ่งตนเองและพระเจ้าเท่านั้นที่รู้
เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หนักขึ้น หลายประเทศเริ่มมีมาตรการ จำกัดการเดินทาง และการชุมนุมของประชาชน ดังนั้นจึงเริ่มมีการประกาศงดมิสซาวัน อาทิตย์แบบสาธารณะ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลให้สัตบุรุษไม่สามารถร่วมมิสซาวันอาทิตย์ และทำหน้าที่ของตนได้ แล้วเช่นนี้จะเป็นบาปหรือไม่? ในการประกาศงดมิสซาวันอาทิตย์แบบสาธารณะ พระสังฆราชทุกท่านที่ประกาศจะใช้อำนาจตามกฎหมายพระ ศาสนจักรมาตรา 87 วรรค 1 ในการยกเว้น (dispensation) พันธะของมาตรา 1247 ดังนั้น จึงถือว่าสัตบุรุษไม่ได้ละเว้นการกระทำหน้าที่ จึงไม่ถือเป็นบาป ตราบที่ยังอยู่ในช่วง เวลาที่ได้รับการยกเว้นนี้
แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเชิญชวนให้สัตบุรุษหล่อเลี้ยงชีวิตจิตด้วยการทำกิจศรัทธา อย่างอื่นชดเชย และด้วยในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การเผยแพร่มิสซาแบบ ออนไลน์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการหล่อเลี้ยงชีวิตจิตให้กับสัตบุรุษ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้อง ระวังคือ ความเข้าใจผิดว่าเป็นการร่วมมิสซาจริง ๆ ตามที่พ่อได้ให้หลักเกณฑ์ในตอน ต้นว่า จะถือว่าเป็นการร่วมพิธีกรรมได้นั้นต้องมีส่วนร่วมปรากฎตัว ณ ที่นั้น ดังนั้นการที่ เราอยู่บ้านและร่วมไปกับการถ่ายทอดพิธีมิสซานั้นจึงไม่ถือว่าเป็นการร่วมพิธีมิสซาจริง ๆ (ตามหลักเกณฑ์) แต่ในสถานการณ์นี้การกระทำเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดใน เชิงอภิบาลให้กับสัตบุรุษผู้มีน้ำใจดีและอยากร่วมมิสซาจริง ๆ ซึ่งพระศาสนจักรเองก็ สนับสนุนวิธีการนี้เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตจิตของสัตบุรุษในขณะที่ไม่สามารถไปร่วมพิธีมิสซา ที่วัดได้
ซึ่งจะต่างจากการที่มีการจัดงานใหญ่ ๆ แล้วมีสัตบุรุษส่วนหนึ่งต้องร่วมมิสซาไปกับภาพ วงจรปิด เช่น มิสซาที่สมเด็จพระสันตะปาปาถวายที่สนามศุภชลาศัย แล้วมีสัตบุรุษอีก ส่วนต้องไปร่วมที่สนามเทพหัสดินโดยถ่ายทอดวงจรปิดไป ในกรณีนี้ถือว่าสัตบุรุษได้ ร่วมมิสซากับสมเด็จพระสันตะปาปาจริง เพราะได้มีส่วนร่วมปรากฎตัวอยู่ในบริเวณนั้น เพียงแต่สถานที่ไม่อำนวยในการบรรจุคนได้เพียงพอ จึงทำให้ไม่สามารถอยู่และเห็น การประกอบพิธีมิสซาแบบต่อหน้าได้ แต่ต้องอาศัยภาพวงจรปิดแทน
2. แล้วในระหว่างนี้สามารถแก้บาปออนไลน์ หรือผ่านเครื่องมือสื่อสารได้หรือไม่?
ตอบ ศีลอภัยบาปเองก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันคือ ต้องมีส่วนร่วมด้วยการปรากฎตัว ณ ที่นั้น ดังนั้นจึงไม่มีการรับศีลอภัยบาปผ่านทางออนไลน์หรือเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ตรัสผ่านบทเทศน์ ในวันหนึ่งว่า ถ้าสัตบุรุษอยากจะคืนดีกับพระเจ้าและไม่สามารถไปหาพระสงฆ์เพื่อรับศีล อภัยบาปได้ ก็ขอให้สารภาพกับพระเจ้าโดยตรง และเมื่อสถานการณ์ปกติแล้วก็รีบมา รับศีลอภัยบาปกับพระสงฆ์ เพราะที่จริงแล้วผู้ที่เราได้สารภาพบาปและให้การอภัยบาป แก่เราก็คือพระเจ้าไม่ใช่พระสงฆ์ ซึ่งพี่น้องโปรแตสตันท์ใช้วิธีนี้ในศีลอภัยบาปของเขา แต่สำหรับคาทอลิกพระสงฆ์คือผู้แทนของพระคริสตเจ้า ดังนั้นการไปสารภาพบาปกับ พระสงฆ์จึงเป็นท่าทีภายนอกที่แสดงออกถึงการสำนึกผิดและกลับใจ ซึ่งทั้งนี้ต้อง ประกอบไปกับท่าทีภายในคือการสำนึกผิดและกลับใจจริงต่อพระเจ้าด้วย
อย่างไรก็ตามในการประกอบพิธีศีลอภัยบาปนั้น มีรูปแบบให้เลือกหลายรูปแบบ ซึ่งรูป แบบปกติก็คือ การสารภาพบาปและรับการอภัยบาปทีละคน แต่จะมีรูปแบบหนึ่งคือ การอภัยบาปรวม ซึ่งรูปแบบนี้จะใช้ในกรณีที่จำเป็นคือ อันตรายใกล้จะตายและไม่
สามารถใช้การอภัยบาปแบบปกติได้ เช่น เครื่องบินกำลังจะตก ไม่มีเวลาที่พระสงฆ์จะ อภัยบาปทีละคน ก็เชิญชวนให้สัตบุรุษทุกคนสำนึกผิดและอภัยบาปพร้อมกันทีเดียว หรืออาจจะมีบางสถานการณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องย้ำว่ามีความจำเป็นจริง ๆ ก็อาจจะ ใช้การโปรดศีลอภัยบาปรวมได้ แต่ว่าต้องมีพระสงฆ์และผู้ที่รับศีลอภัยบาปปรากฎตัว อยู่ ณ ที่นั้น ดังนั้นการรับศีลอภัยบาปหรือประกอบพิธีศีลอภัยบาปแบบออนไลน์จึงไม่ อาจทำได้ในทุกกรณี
คพ.ไพศาล ยอแซฟ
ประธานคณะกรรมการเพื่อพิธีกรรม ส.ราชบุรี (09/04/2020)