PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

28 แนวทางเพื่อเติมเต็มงานอภิบาลตามวัด
หมวดที่ 2: งานสร้างชุมชนแห่งการแพร่ธรรม (Evangelizing the Parish)

แนวทางที่ 8 : ผู้อภิบาลในแบบสุนัขเลี้ยงแกะ(Use the “Pastor’s Sheepdogs”)
                  คุณพ่อฟรานซิสใช้หลักการอภิบาลของคุณพ่อโรเบิร์ต เบรดชอร์ที่ว่า “พระสงฆ์ควรทำงานเยี่ยงคนงานหนึ่งร้อยคน แต่ทว่าใช้คนหนึ่งคนไปทำมัน” (ไม่ใช่แบบ “ผู้อภิบาลสันดานเสมียน”) การหาผู้ร่วมงาน หรือการสร้างเครือข่ายการทำงาน จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังเช่นคุณพ่อฟราสซิสที่ใช้กลุ่มพลมารีผู้ใหญ่ไปตามบ้านของสัตบุรุษทีละบ้านๆ เพื่องานอภิบาล เช่น ไปเพื่อเยี่ยมเยียนคนชรา ผู้เจ็บป่วย คริสตชนใหม่ หรือผู้กำลังประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิต รวมถึงการจัดส่งสารวัด หรือแจ้งข่าวสารของทางวัด วิธีการนี้ต่างใช้ได้ผลทั้งสิ้น


                 ครั้งหนึ่ง กลุ่มพลมารีได้ไปเยี่ยมชายคนหนึ่งที่ทิ้งวัดไปราว 40 ปี ชายคาทอลิกผู้นั้นซาบซึ้งใจ ร้องไห้ และกล่าวว่า “พระเจ้าทรงส่งพวกท่านมาให้ผม” เนื่องด้วยชายผู้นั้นกำลังจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย กลุ่มพลมารีได้เชิญคุณพ่อฟรานซิสไปเยี่ยม โปรดศีลอภัยบาป และศีลเจิมผู้ป่วยในอีกสองสามวันต่อมา หลังจากนั้นภรรยาของชายผู้นั้นซึ่งเป็นโปรแตสแตนท์ได้พาเขาไปร่วมมิสซาวันอาทิตย์ที่วัด จนอีก 6 เดือนต่อมาเขาได้เสียชีวิต ในช่วงสุดท้ายในชีวิตเขาได้ชื่นชมและขอบคุณกลุ่มพลมารีอยู่บ่อยครั้งที่ช่วยนำเขากลับมาพบกับสันติสุขกับพระเจ้าในช่วงปั้นปลายของชีวิต

                   คุณพ่อฟรานซิสกล่าวว่า การเป็นนายชุมพาบาลท่ามกลางฝูงแกะนั้น เป็นดังผู้อภิบาลแบบสุนัขเลี้ยงแกะ เพราะว่าต้องคอยวิ่งต้อนแกะตัวที่พลัดหลงไปให้กลับเข้ามายังฝูง และนำไปถึงคอกแกะอย่างปลอดภัย

แนวทางที่ 9: เสียงสวรรค์ในวันเกิด (Try “Phonelization”)

                “มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะโทรหาสัตบุรุษทุกคนในวันคล้ายวันเกิดของพวกเขา” คุณพ่อฟรานซิสกล่าว ในช่วงแรกๆ คุณพ่อฟรานซิสได้เริ่มจาก 5-6 คนต่อวัน จนในปัจจุบันต้องโทรถึงวันละ 30-40 คน เพียงแค่โทรไปคนละราว 1 นาที หรือไม่ก็ฝากข้อความเอาไว้ แต่คุณค่าที่ได้รับนั้นมันมากเกินกว่าเวลาที่เสียไป เพราะเสียงสะท้อนที่กลับมา เช่น “คุณพ่อ ผมเป็นคาทอลิกมา 70 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีพระสงฆ์องค์ใดเลยที่โทรมาอวยพรในวันคล้ายวันเกิดของผม” หรือไม่ก็ “คุณพ่อ การที่คุณพ่อโทรมาอวยพรดิฉันในวันคล้ายวันเกิดนั้น ทำให้ดิฉันกลับมาเข้าวัดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ละเลยไปหลายเดือน” แม้จุดประสงค์หลักของการโทรอวยพรวันเกิดก็เพื่องานแพร่ธรรม แต่สิ่งที่ได้รับควบคู่กันคือความมีน้ำใจดีและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

แนวทางที่ 10: ไปรษณีย์สื่อสัมพันธ์ (The Postal Approach)

                 สำหรับสมาชิกในครอบครัวหรือฝ่ายคู่สมรสที่ไม่ได้เป็นคาทอลิก คุณพ่อฟรานซิสจะใช้วิธีเขียนจดหมายถึงพวกเขา ปีหนึ่งๆ ก็ราว 500 ฉบับ เพื่อเชื้อเชิญพวกเขาด้วยความยินดีเพื่อมาร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรมในเทศกาลสำคัญของวัดและของชุมชนคาทอลิก รวมถึงให้คำแนะนำหรือข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่กับคู่ครองที่นับถือคาทอลิก สิ่งนี้อาจเป็นผลทำให้มีจำนวนผู้กลับใจมาเป็นคาทอลิกเฉลี่ยปีละ 30 คนในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมาก็เป็นได้ รวมถึงต้องโมทนาคุณพระเจ้าสำหรับจำนวนผู้กลับใจที่เพิ่มขึ้นเป็น 40 คนในปีนี้ รวมถึง 25 คนที่จะรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและศีลกำลังอีกด้วย จดหมายอีกฉบับหนึ่งจะส่งถึงสัตบุรุษทุกครอบครัวก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปาสกา เพื่อแจ้งถึงตารางมิสซา ศีลอภัยบาป และกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลนั้นๆ ส่วนจดหมายอีกฉบับหนึ่งจะส่งไปยังคริสตชนใหม่

                  จดหมายฉบับแรกที่สัตบุรุษได้รับจากทางวัด ควรจะเป็นจดหมายแสดงความปรารถนาดี ลงนามโดยคุณพ่อเจ้าวัด แต่ไม่ควรมีซองเชิญทำบุญแนบไปด้วย หากจะเชิญทำบุญควรจัดส่งไปในภายหลัง ควรให้สัตบุรุษได้เริ่มต้นด้วยความรู้สึกประทับใจในการต้อนรับอย่างอบอุ่นของทางวัดเป็นอันดับแรก (ไม่ใช่เริ่มต้นมาก็บอกบุญซะแล้ว)

แนวทางที่ 11: งานอภิบาลวันอาทิตย์ (The “Sunday Catholic” Apostolate)

                   บทเทศน์วันอาทิตย์ นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะใช้เข้าถึงจิตใจบรรดาสัตบุรุษที่มาร่วมพิธีกรรมในวันอาทิตย์ ผู้อภิบาลสามารถใช้บทเทศน์วันอาทิตย์ เป็นช่วงเวลาของการให้ความรู้ เสริมสร้างแรงบันดาลใจ และช่วยให้บรรดาคริสตชนได้มีแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดสัปดาห์นั้นๆ คุณพ่อฟรานซิสบอกว่าบทเทศน์วันอาทิตย์ถือเป็นโอกาสและงานสำคัญของบรรดาพระสงฆ์ ที่จะมอบเป็นของขวัญให้กับพระเจ้าในแต่ละสัปดาห์ คุณพ่อฟราสซิสยังจำบทประพันธ์อันหนึ่งได้ดี คือ “แพ็ดดี้ไปวัดทุกวันอาทิตย์ เขาไม่เคยขาดแม้แต่สัปดาห์เดียว แต่แพ็ดดี้กลับต้องตกลงไปในไฟนรก เพราะสิ่งที่เขาได้ทำไปในวันจันทร์...” ให้เราภาวนาเพื่อคริสตชนที่มาร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ จะสามารถดำเนินชีวิตเป็นคริสตชนในวันอื่นๆ ตลอดสัปดาห์ด้วยเทอญ

 


แนวทางที่ 12: งานแพร่ธรรมกับการเตรียมคู่สมรสใหม่ (Entrées and Evangelization)

                   การอบรมเตรียมคู่แต่งงาน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะประกาศพระวาจาให้กับคู่สมรส คุณพ่อฟรานซิสได้อบรมคู่สมรสจำนวน 4 ครั้งในแต่ละคู่ ในแต่ละปีจะมีคู่สมรสราว 40 คู่ รวมการอบรมทั้งหมดก็ 160 ครั้ง นับว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย แม้หลายครั้งคุณพ่อฟราสซิสจะต้องอบรมคู่สมรสในร้านอาหารด้วยก็ตามที วันเสาร์หรือไม่ก็เที่ยงวันอาทิตย์ถือเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะพบกับคู่สมรส เพราะว่าคุณพ่อสามารถใช้เวลาช่วงค่ำในการประชุม อบรม หรือกระทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ด้วย

                 คุณพ่อฟรานซิสมักใช้ช่วงเวลาอาหารกลางวันกับการอบรมเตรียมคู่สมรส อาทิเช่น ช่วง 11.30 น. คุณพ่อฟรานซิสจะทานสลัดในขณะที่คู่สมรสทานอาหารกลางวันในระหว่างพูดคุยกับพวกเขา พอถึงการอบรมคู่สมรสคู่ต่อไปในเวลา 12.30 น. หรือ 13.00 น. คุณพ่อฟรานซิสก็จะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับคู่สมรส แต่หากต้องอบรมอีกคู่หนึ่ง คุณพ่อก็จะทานของหวานหรือผลไม้ต่อไป เป็นต้น คุณพ่อฟราสซิสประกาศพระวาจาโดยการให้แผ่นซีดีกับคู่สมรสไปศึกษา ให้เหรียญแม่พระอัศจรรย์ รูปภาพพระหฤทัย ภาพแม่พระ และคู่มือต่างๆ นอกจากนั้น คู่สมรสแต่ละคู่จะต้องเข้าอบรมเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติด้วย หากคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ใช่คาทอลิก คุณพ่อฟรานซิสมักเชิญพวกเขาเข้าสู่กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) และการอบรมเยาวชนรุ่นใหญ่ (Young Adults meetings) ด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้วัดของคุณพ่อฟรานซิสมีจำนวนผู้ที่กลับใจเข้าเป็นคริสตชนในระดับที่น่าพอใจ

แนวทางที่ 13 : แผนกต้อนรับอย่างอบอุ่น (The Welcome Table)

                  คุณพ่อฟราสซิสจัดให้มีเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับที่บริเวณด้านหน้าก่อนเข้าสู่ภายในวัด ซึ่งจะให้บริการผู้มาร่วมพิธีด้วยมิตรภาพ รอยยิ้ม อีกทั้งคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ พลมารีบางคนได้รับมอบหมายให้ประจำหน้าที่ทั้งก่อนและหลังมิสซา เพื่อพูดคุยกับสัตบุรุษ ตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมของวัด หรือลงทะเบียนผู้สนใจในกลุ่มองค์กรใดๆ ของวัด ที่โต๊ะแผนกต้อนรับนั้นเอง บรรดาสัตบุรุษจะสามารถหาสายประคำ แผ่นพับเกี่ยวกับการสวดสายประคำ สารวัด หรือเอกสารเสริมศรัทธาอื่นๆ ครั้งหนึ่ง มีประสบการณ์ที่น่าประทับใจเกิดขึ้น พลมารีคนหนึ่งมาแจ้งคุณพ่อฟรานซิสว่ามีหญิงคนหนึ่งซึ่งทิ้งวัดไปนานนับสิบปีอยากจะพบกับคุณพ่อ จากนั้น หญิงคนนั้นก็ได้มาพบคุณพ่อฟรานซิสที่ห้องทำงาน มาขอรับศีลอภัยบาป คุณพ่อได้พูดคุยกับเธอเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของทางวัด และยังเชิญชวนเธอให้เข้าร่วมกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ของทางวัดอีกด้วย วันอาทิตย์ต่อมาคุณพ่อฟรานซิสเห็นหญิงผู้นั่นร่วมอยู่ในกลุ่มนักขับของวัด คุณพ่อฟรานซิสมักโมทนาคุณพระเจ้าอยู่เสมอ เหตุว่าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นนี้เอง ทำให้บรรดาสัตบุรุษได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย และประกาศพระวรสารให้กันและกันได้อย่างน่าประทับใจ

แนวทางที่ 14 : การบริหารจัดการพิธีบูชาขอบพระคุณ (Mass Management)

                 ก่อนและหลังพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) จะเป็นผลดีหากพระสงฆ์ไปปรากฏตัวที่บริเวณหน้าวัด เพราะแค่การไปพบปะ พูดคุย ทักทายสัตบุรุษที่เดินทางมาถึง ยืนส่งพวกเขาที่กำลังจะกลับบ้าน เพียงแค่นี้ ก็เป็นการสร้างความประทับใจให้กับสัตบุรุษแล้ว ทำให้พวกเขาอยากจะมาร่วมมิสซาที่วัดแห่งนี้อีก รวมถึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับสัตบุรุษมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ท่าทีที่เป็นมิตร จริงใจ เอาใจใส่ของพระสงฆ์ช่วยให้งานอภิบาลเป็นไปด้วยความราบรื่น

                จะเชื่อหรือไม่ก็ตามที การมีน้ำดื่ม ชา กาแฟ หรือขนม เตรียมไว้บริการสัตบุรุษหลังจากมิสซา ถือเป็นส่วนจำเป็นเช่นเดียวกันในการประกาศพระวรสาร เพราะบรรดาสัตบุรุษของวัด รวมถึงสัตบุรุษที่มาจากต่างถิ่นจะได้มีโอกาสพบปะ ทำความรู้จักกัน แม้จะเป็นช่วงเวลาเพียงสั้นๆ ก็ตามที ดีกว่าหลังจบมิสซาต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปโดยที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรต่อกันเลย แม้มองดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับมีความสำคัญในการทำงานอภิบาลตามวัดของบรรดาพระสงฆ์

แนวทางที่ 15 : ตั้งกลุ่มเพื่อก้าวเดินร่วมกัน (Go For Groups…)

               คุณพ่อฟรานซิสตระหนักอย่างชัดแจ้งว่า การเชิญชวนให้สัตบุรุษของท่านมาร่วมกลุ่มต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมีความสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตคริสตชน เพราะจะทำให้วัดมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การตั้งกลุ่มเยาวชนรุ่นใหญ่ ถือเป็นส่วนสำคัญทั้งสำหรับผู้เตรียมตัวสู่ชีวิตสมรสหรือชีวิตโสดก็ตามที นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสสอนเกี่ยวกับพระคัมภีร์ การสวดภาวนา พิธีกรรม ศีลธรรม รวมถึงการเจริญชีวิตแบบคริสตชนท่ามกลางสังคมปัจจุบันนี้อีกด้วย ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสได้กำหนดให้มีกิจกรรมการทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ (Holy Hour) เดือนละครั้ง ในวันอาทิตย์ตอนค่ำ เวลา 18.30-19.30 น. นำโดยสัตบุรุษของคุณพ่อที่ผ่านการอบรมจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง (..อาจนำรูปแบบการภาวนาแบบเทเซ่ มาปรับใช้ได้เช่นกัน) ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ชวนศรัทธา แสงไฟ แสงเทียน บทเพลง และอุปกรณ์ช่วยต่างๆ ทำให้สมาชิกของกลุ่ม รวมถึงสัตบุรุษอื่นๆ ที่เข้าร่วมนั้นได้มีเวลาภาวนาร่วมกันอย่างแท้จริง ทำให้วัดมีชีวิตชีวาและเกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ในช่วงเวลานี้เอง คุณพ่อฟรานซิสก็จะทำหน้าที่โปรดศีลอภัยบาปสำหรับผู้ที่ต้องการอีกด้วย จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมนี้เองจะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการช่วยกิจการต่างๆ ของวัด รวมถึงเป็นเมล็ดพันธ์ที่จะนำสู่การกลับใจเป็นคริสตชนในอนาคตสำหรับพี่น้องความเชื่ออื่นอีกด้วย

                อย่างไรก็ตาม คุณพ่อฟรานซิสบอกว่า เราไม่อาจลืมกลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุได้ การพบปะกันเพียงเดือนละครั้ง แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมง แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่มีค่าและมีความสุขยิ่งสำหรับพวกเขา

แนวทางที่ 16 : ตั้งกลุ่มอื่นๆ เพิ่มขึ้นหากจำเป็น (… and More Groups)

              คุณพ่อฟรานซิสเองก็ไม่อาจบอกได้ว่าจำนวนกลุ่มต่างๆ ที่ได้ตั้งขึ้นนั้นจะไปสิ้นสุดเมื่อไร เท่าที่นับได้ที่วัดของท่าน ได้ตั้งกลุ่มขึ้นแล้วจำนวน 65 กลุ่ม หากถามว่าคุณพ่อฟรานซิสจะต้องไปร่วมกิจกรรมของทุกกลุ่มหรือไม่ ตอบได้เลยว่า “ไม่” แต่ท่านจะแต่งตั้งบรรดาฆราวาสที่เหมาะสมไปแทน คุณพ่อฟรานซิสกล่าวว่ายิ่งกลุ่มมีมากเท่าไร วัดของท่านก็จะมีชีวิตชีวามากขึ้นเท่านั้น หลายกลุ่มในวัดของคุณพ่อฟรานซิสได้ช่วยงานอภิบาลอย่างเข้มแข็ง อาทิเช่น กลุ่มอัศวินศีลมหาสนิท กลุ่มชาวสะมาเรียผู้ใจดี กลุ่มวินเซนต์เดอปอล ซึ่งได้ช่วยเหลือผู้ที่ยากจนและขาดแคลน โดยเงินที่ใช้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นเงินจากทางวัดเลยแม้แต่บาทเดียว แต่เป็นเงินจากการเสียสละแบ่งปันของสมาชิกในกลุ่มเอง นอกจากนี้ ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ยังมีกลุ่มที่ทำอาหารเลี้ยงคนยากจน กลุ่มที่ปกป้องชีวิตมนุษย์ซึ่งคอยสวดภาวนาหน้าคลินิกทำแท้ง กลุ่มที่ช่วยตัดเย็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวมถึงผ้าขาวที่ใช้พิธีศีลล้างบาปอีกด้วย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมกลุ่มเด็กช่วยมิสซา ซึ่งมีทั้งหมด 200 คนที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ซึ่งปกติจะมีเด็กช่วยมิสซาระหว่าง 12-25 คนในแต่ละมิสซา แม้กลุ่มต่างๆ นี้จะดูมากมายเพียงใด แต่สำหรับคุณพ่อฟรานซิสกลับบอกว่า ดูเหมือนท่านจะมีเวลาว่างมากกว่าพระสงฆ์อื่นๆ ในสังฆมณฑลของท่านเสียอีก (เนื่องจากกลุ่มต่างๆ นั้นมาช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของท่าน)

แนวทางที่ 17 : จัดทำเว็ปไซด์ของวัด (Catch Them in a Web)

            ผู้ทำงานอภิบาลในโลกปัจจุบันคงไม่อาจปฏิเสธได้ถึงความจำเป็นของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณพ่อ ฟรานซิสบอกว่าเว็ปไซด์ของวัดถูกตั้งขึ้นโดยความเสียสละของคริสตชนใหม่ของวัดคนหนึ่ง เราต่างมุ่งหวังที่จะมีเว็ปไซด์ที่ดีเพื่อประโยชน์ในการอภิบาลสัตบุรุษ ซึ่งผลที่ปรากฎออกมานั้นดีเกินสิ่งที่เราคาดคิดเสียอีก แต่ละวัดควรจะมีเว็ปไซด์ของตนเอง เพราะการทำงานอภิบาลและการประกาศพระวรสารในปัจจุบันนี้ปราศจากสิ่งเหล่านี้มิได้ เว็ปไซด์ของวัดนับเป็นประโยชน์ เป็นต้นในการเสริมสร้างความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษ ลงภาพกิจกรรมต่างๆ ของวัดให้ทุกคนได้รับรู้ แจ้งปฏิทินกิจกรรมของทางวัด รวมถึงลงข้อมูลรายการกลุ่มศรัทธาต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น เป็นต้น (ลองดูเว็ปไซด์ของวัดคุณพ่อฟรานซิส ได้ที่ www.holytrinityparish.net)

แนวทางที่ 18 : บันทึกบทเทศน์ลงในเว็ปไซด์ (Record and Reach Out)

             ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ พระสงฆ์ผู้อภิบาลสามารถลงบันทึกบทเทศน์หรือข้อคิดต่างๆ และนำลงเผยแพร่ในเว็ปไซด์ของวัดได้เช่นเดียวกัน (ทั้งแบบข้อเขียน คลิปเสียง หรือแม้แต่คลิปภาพด้วยก็ไม่ยากเกินไป) สัตบุรุษที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสเอง หรือแม้แต่คนอื่นๆ ก็สามารถคลิกที่เว็ปไซด์เพื่อฟังบทเทศน์วันอาทิตย์ของคุณพ่อ รวมถึงบทเทศน์และข้อคิดเตือนใจในแต่ละวันอีกด้วย เพียงแค่เตรียมเทศน์ จัดการบันทึกลงในไฟล์ แล้วนำลงเผยแพร่ในเว็ปไซด์ เพียงแค่นี้ใครก็ได้ในโลกก็สามารถเข้าถึง รับฟัง การประการศพระวรสารก็จะไปได้ไกลจนสุดปลายแผ่นดิน (เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกเป็นฝูงเลยทีเดียว)

แนวทางที่ 19 : ประกาศโฆษณา (Advangelizing)

              การทำแม่เหล็กติดรถยนต์ (หรือสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์) สำหรับแจกให้สัตบุรุษ ก็เป็นวิธีการประกาศพระวรสารอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล เพราะจะทำให้ชื่อหรือสัญลักษณ์แบบคาทอลิกเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน คุณพ่อฟรานซิสได้จัดทำแม่เหล็กติดรถยนต์จำนวน 5,000 ชิ้น สำหรับมอบเป็นของขวัญโอกาสเทศกาลคริสต์มาสแก่สัตบุรุษของท่านหลังมิสซาในคืนคริสต์มาส แม่เหล็กติดรถยนต์นั้นเป็นแบบวงกลมขนาด 10 นิ้ว สีทองและเหลืองบนพื้นสีฟ้าเข้ม มีคำว่า “วัดคาทอลิกพระตรีเอกภาพ, เมือง Gainesville มณรัฐ Virginia พร้อมเว็ปไซด์ของวัด” สัญลักษณ์เหล่านี้จะแสดงไปทุกทิศทุกทาง ทั้งที่บ้านของสัตบุรุษ ที่ทำงาน หรือที่ต่างๆ ที่รถของบรรดาสัตบุรุษของคุณพ่อฟรานซิสจะเดินทางไป หลายครั้งเมื่อคุณพ่อเห็นสัญลักษณ์นี้ที่รถคันใด คุณพ่อฟรานซิสก็มักจะเข้าไปทักทาย หรือสัตบุรุษกันเองเมื่อพบเห็นสัญลักษณ์นี้ก็จะทำเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้แม้เป็นเพียงเรื่องเล็น้อย แต่ก็สามารถสร้างมิตรภาพอันน่าประทับใจได้ หลายคนให้คำนิยามแม่เหล็กติดรถยนต์นี้แตกต่างกันไป แต่สำหรับคุณพ่อ ฟรานซิส ท่านเรียกมันว่า “ประกาศกโฆษณา”

          นอกนั้น อีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะสามารถประชาสัมพันธ์วัดได้ ก็คือ ตามหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับต่างๆ หลายคนมาที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสก็เพราะทราบตางรางเวลามิสซาหรือกิจกรรมต่างๆ ทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนั้น ยังสามารถเขียนคำคมหรือคำที่โดนใจสัตบุรุษตามที่ต่างๆ ของวัด เช่น ที่ทางเข้าหรือทางออก หรือแม้แต่ทำเป็นป้ายติดเอาไว้ในบริเวณวัด เช่น “Welcome home inactive Catholics; rediscover your Church” เป็นต้น

บทเทศน์วันอาทิตย์

"นำพระเยซูไปให้ผู้อื่นด้วย" ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า(C)วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2024ก. ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านเตือนเราว่าพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมาทุก...
"จงโห่ร้องยินดี" ข่าวดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า(C) วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2024ก. ความสำคัญ...
"เปลี่ยนชีวิต"ข่าวดี สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์เจ้า (C)วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2024 ก.ความสำคัญ สัปดาห์ที่...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

พิธีปลงศพคุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง  มนิราช
พิธีปลงศพคุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง มนิราช วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2024 เวลา 08.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี นำภาวนาและประกอบพิธีอำลาคุณพ่อยอห์น...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง  มนิราช คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง มนิราช คืนที่ 3 วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2024 เวลา 19.00 น. คุณพ่อเสนอ ดำเนินสดวก...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง  มนิราช คืนที่ 2
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง มนิราช คืนที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2024 เวลา 19.00 น. คุณพ่อสิทธิพล พานิชอุดม...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง  มนิราช คืนที่ 1
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง มนิราช คืนที่ 1 เช้าวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2024 คุณพ่อเสนอ ดำเนินสดวก อุปสังฆราช พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ซิสเตอร์...
กำหนดการพิธีกรรมอุทิศแด่ คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง  มนิราช
กําหนดการพิธีกรรมอุทิศผู้ล่วงหลับ แด่คุณพ่อยอห์น บอสโก ไพยง มนิราช...
พิธีเปิด-เสกอาคารอนุรักษ์
พิธีเปิด-เสกอาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม...
พิธีปลงศพคุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์
พิธีปลงศพคุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ วันจันทร์ที่...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่ 2
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่ 1
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อยอห์น บอสโก วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ คืนที่...

สาส์น-ประกาศจากสภาพระสังฆราชฯ

สาส์นอภิบาลฯ เรื่อง ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 “บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
สาส์นอภิบาลของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ 102/2024เรื่อง...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

สาส์นอภิบาลฯ โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ. 2025
ที่ สร.091/2024สาส์นอภิบาลจากพระสังฆราชแห่งราชบุรีโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ....
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.2025
ที่ สร.090/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ
ที่ สร.088/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ...

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก