PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

28 แนวทางเพื่อเติมเต็มงานอภิบาลตามวัด
หมวดที่ 3: งานด้านคำสอนของชุมชนวัด ( Catechizing the Parish )

แนวทางที่ 20 ชั้นเรียนศีลล้างบาป ( The Baptismal Class )

             คุณพ่อฟรานซิสมีสอนเรียนเรื่องศีลล้างบาปในทุกๆ เดือน ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องศีลล้างบาป บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ทูลหัว และบทความข้อเขียนในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิเช่น ทำไมเราต้องไปร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ เหตุใดเราต้องไปรับศีลอภัยบาป การพิจารณามโนธรรม การวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติ เป็นต้น คู่สมรสหลายคู่ที่ห่างหายจากวัดไป ได้กลับมาเข้าวัดร่วมมิสซาอีกครั้ง หลังจากผ่านการเรียนรู้เรื่องศีลล้างบาป พ่อแม่หลายคนสามารถสอนบุตรหลานของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับรู้จากชั้นเรียนศีลล้างบาป ยังรวมถึงเรื่องการรับศีลล้างบาป ศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิทครั้งแรก และศีลกำลังของบุตรหลานด้วย

           เราสามารถใช้โอกาสในการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นำสัตบุรุษกลับมาสู่ความเชื่อ หลังจากจบหลักสูตรผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับเหรียญพระหฤทัยและพระแม่มารีย์เป็นของที่ระลึก รวมถึงสายประคำ และเหรียญแม่พระสายจำพวกอีกด้วย หากผู้เข้าร่วมคนใดที่ไม่ได้แต่งงานที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ก็จะทำการเก็บของมูลไว้เป็นหลักฐาน หรือรวมถึงช่วยเหลือพวกเขาต่อไป จนกระทั่งพวกเขาได้เข้าพิธีแต่งงานถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของพระศาสนจักรเรียบร้อยแล้ว

แนวทางที่ 21: ห้องสมุด แผ่นบันทึกเสียง และภาพ (The Trifold Library)

ห้องสมุด (หรือห้องคำสอน) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในวัด ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสอนคำสอน ซึ่งไม่ควรมีเพียงแต่หนังสือเท่านั้น เพราะในโลกปัจจุบันสื่อบันทึกภาพและเสียงจำพวก DVD และ CD ต่างก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส มีหนังสือในห้องสมุดราว 5,000 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากการบริจาค หนังสือทั้งหมดยังอยู่ในสภาพดี ทั้งหนังสือของคาทอลิก และของออธอด๊อก ในส่วนของแผ่นบันทึกภาพและเสียงจัดวางไว้อย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคาทอลิก หรือเรื่องราวสร้างสรรค์สำหรับครอบครัว นับเป็นภาพที่น่าประทับใจ เมื่อเห็นพ่อแม่และคนอื่นๆ เข้าไปในห้องสมุดหลังจากเสร็จมิสซา เพื่อขอยืมหนังสือและสี่อที่มีต่างๆ นำกลับไปใช้พัฒนาความเชื่อศรัทธาในชีวิตคริสตชนของตนและครอบครัว สื่อเสียง เช่น CD ดูเหมือนจะได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะบรรดาสัตบุรุษสามารถใช้ฟังในขณะขับรถยนต์กลับบ้าน ขณะเดินทางไปทำธุระ หรือฟังในขณะทำงานได้อีกด้วย

แนวทางที่ 22: ชั้นวางหนังสือเสริมศรัทธา (The Pamphlet Rack)

สิ่งที่มักคุ้นตาตามวัดต่างๆ ซึ่งมักจัดวางไว้บริเวณทางเข้าวัด ก็คือ ชั้นวางหนังสือศรัทธา ซึ่งคุณพ่อ ฟรานซิสเองก็ยังคงจดจำได้ดีตอนที่ท่านยังเป็นเยาวชนอยู่ ท่านมักหยุดอยู่ที่ชั้นวางหนังสือเหล่านั้น และหยิบอหนังสือเล่มเล็กๆ ขึ้นมาอ่านอยู่เป็นประจำ ตามความเห็นของคุณพ่อฟรานซิส สิ่งเหล่านี้นับเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ คุณพ่อเสนอแนะให้แต่ละวัดจัดหาที่ว่าง สำหรับหนังสือประเภทสร้างแรงบันดาลใจมากขึ้น เพื่อให้บรรดาสัตบุรุษได้หยิบไปอ่านหลังมิสซา หรือช่วงก่อนและหลังการรับศีลอภัยบาป นอกจากนี้ เอกสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อความเชื่อคริสตชน หรือมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนก็ไม่ควรถูกมองข้ามไปเช่นกัน นอกจากนี้ ทุกปีที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสจะเชิญสำนักพิมพ์หนังสือเสริมศรัทธาต่างๆ มาจำหน่ายให้กับบรรดาสัตบุรุษที่วัดของคุณพ่ออีกด้วย (ปัจจุบันหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน อาจใส่ไว้ในเว็ปไซด์ของวัดได้ด้วย)

แนวทางที่ 23: สอดแทรกเนื้อหาสาระความรู้ (Formational Inserts)

ตามปกติ การสอดแทรกเนื้อหาสาระความรู้ลงในสารวัด (หรือสื่อสิ่งพิมพ์) เป็นหนทางหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประกาศพระวาจา รวมถึงฟื้นฟูชีวิตคริสตชนของบรรดาสัตบุรุษในเขตวัด คุณพ่อฟรานซิสก็เช่นกัน ท่านได้แทรกสาระความรู้ต่างๆ ลงในสารวัดของท่าน อาทิ “เหตุผล10 ประการที่ควรเข้าร่วมกลุ่มพลมารี” (พร้อมลงตารางเวลาประชุมของพลมารีของแต่ละกลุ่ม) “วัดของเราอายุเท่าไรแล้ว?” “ทำไมต้องทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์?” “ผู้หญิงเป็นพระสงฆ์ได้หรือไม่?” หรือ “การถือความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์” เป็นต้น นอกจากนี้ สารวัดยังเป็นประโยชน์ในการแจ้งตารางเวลากิจกรรมต่างๆ ของทางวัดด้วย เช่น ช่วงเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ คริสต์มาส มหาพรต และปัสกา ท่านก็จะแจ้งตารางเวลามิสซา ศีลอภัยบาป แทรกสาระความรู้เกี่ยวกับเทศกาลนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับปีพิธีกรรม สิ่งของเครื่องใช้ในพิธีกรรม เป็นต้น หลายๆ ครั้งสาระความรู้ที่ได้สอดแทรกในสารวัดนั้น อาจเป็นประโยชน์ต่อบรรดาคริสตชนในการตอบคำถาม ข้อสงสัยบางประการ หรือเป็นประโยชน์ต่อการพูดคุยระหว่างคริสตชนกับคนที่นับถือต่างความเชื่ออีกด้วย หลายครั้งเมื่อสัตบุรุษมาพูดคุยกับคุณพ่อฟรานซิสถึงข้อสงสัยบางประการ หากเห็นว่ามีประโยชน์ต่อสัตบุรุษคนอื่น คุณพ่อก็จะนำมาเป็นประเด็นพูดคุย หรือทอดแทรกในบทเทศน์วันอาทิตย์ หรือตอบคำถามนั้นลงในสารวัดฉบับต่อไป

แนวทางที่ 24: ประกาศกทางสื่อสิ่งพิมพ์ (Bulletin as Evangelizer)

จริงๆ แล้วสื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น สารวัด, อุดมสาร) เป็นได้มากกว่าเพียงแค่ใช้ในการสอนความเชื่อคาทอลิก หรือสอนคำสอน แต่ยังสามารถใช้ในการประการพระวาจาได้ด้วยเช่นกัน เนื้อหาในส่วนของเจ้าอาวาส (เช่น เสียงเจ้าอาวาส) เป็นพื้นที่เหมาะสมในการใช้เพื่อให้กำลังใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจสำหรับสัตบุรุษ ซึ่งอาจ ยกคำพูดของบรรดานักบุญ หรือจากคำคมข้อคิดดีดีต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของวัดเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการแต่งงานแบบคาทอลิก ข้อขัดขวางต่างๆ อันอาจทำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ รวมถึงกระบวนในการแก้ไข ช่วยเหลือ และอภิบาล เพราะแม้แต่เจ้าอาวาสเองอาจจะไม่ทราบว่า สัตบุรุษที่มาวัดและรับศีลมหาสนิทในมิสซานั้น อาจจะเป็นผู้ที่แต่งงานไม่เรียบร้อย ไม่ถูกต้อง หรือเป็นโมฆะด้วยก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการทุราจารต่อศีลศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ในเรื่องนี้อาจเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์เหล่านั้นว่า “อย่าลังเลที่จะมาพูดคุยกับเจ้าอาวาส เพื่อทำให้การแต่งงานของท่านถูกต้อง” ก็จะเป็นการยืนยันถึงเจตนาอันดีอีกทางหนึ่ง


แนวทางที่ 25: จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail, Ad-mail)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail, Ad-mail) นั้นมีความสำคัญในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใดก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่งานอภิบาลสัตบุรุษตามวัดต่างๆ ด้วยเช่นกัน การลงทะเบียนครอบครัวคาทอลิกในวัดก็มักใช้ E-mail หรือไม่ก็มีโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้นเฉพาะ ซึ่งจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่น สถานภาพ แต่งงานแบบใด วันเดือนปีเกิด ข้อมูลครอบครัว บุตรหลาน ข้อมูลการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น คุณพ่อฟรานซิสเองก็ใช้ E-mail เป็นเครื่องมือส่งถึงบรรดาสัตบุรุษแต่ละคน เพื่อเชิญชวนพวกเขามาร่วมกิจกรรม หรือแจ้งข่าวสารสำคัญๆ ของวัดตามโอกาส อาจเรียก E-mail ว่าเป็น “จดหมายเชิญส่วนตัว” เลยก็ว่าได้

แนวทางที่ 26: เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ (Invite Some Guests)

สิ่งที่ทำให้วัดมีชีวิตชีวาได้ไม่แพ้กัน ก็คือ การเชิญวิทยากรมาแบ่งปันประสบการณ์ หรือให้สาระความรู้ในหัวข้อต่างๆ โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส หรือแม้แต่เพื่อนพี่น้องต่างศาสนา คุณพ่อ ฟรานซิสเปิดกว้างสำหรับทุกคนเสมอ อาจใช้เวลาในมิสซา หลังมิสซา ในตอนเย็นของวัดหยุด หรือแม้แต่ในวันธรรมดาก็ตามที อาจเชิญวิทยากรมาแบ่งปันเกี่ยวกับการส่งเสริมชีวิตครอบครัว การวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติ การเฝ้าศีลมหาสนิท การทำชั่วโมงศักดิ์ศิทธิ์ การจัดมินิคอนเสิร์ตสำหรับกลุ่มเยาวชน การภาวนาแบบเทเซ่ หรือแม้แต่การใช้สมุนไพรรักษาโรค เป็นต้น

แนวทางที่ 27: เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น (Open for Discussion)

ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส กลุ่มพลมารีจะมีการประชุมกันสม่ำเสมอ อย่างน้อยๆ ก็ราว 40 คนในแต่ละเดือน หรือในบางครั้งก็มีถึง 100 คนเลยทีเดียว ส่วนใหญ่จะพูดคุยกันในประเด็นเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ หรือไม่ก็หลักปฏิบัติทางศาสนาต่างๆ อาทิเช่น ความหมายของความทุกข์ เทวดาและซาตาน พระศาสนจักรสอนอะไรเกี่ยวกับอัศจรรย์ หรือภาพยนตร์เรื่องรหัสลับดาวินชีกับชีวิตคริสตชน สิ่งเหล่านี้เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ใหญ่ เป็นการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันของบรรดาฆราวาส ซึ่งควรมีพระสงฆ์ร่วมด้วยเพื่อแนะนำ หรือเสริมถึงข้อความเชื่อ มุมมอง และคำสอนที่ถูกต้องของพระศาสนจักรคาทอลิก หลายครั้งที่เมื่อจบการพูดคุยกันแล้วยังไม่ได้ข้อสรุปหรือข้อคิดเห็นจนเป็นที่เข้าใจหรือพอใจ ก็จะมีการนัดหมายเพื่อพูดคุย อภิปรายกันต่อในครั้งต่อไป สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตอย่างเข้มแข็งทางความเชื่อคริสตชน

แนวทางที่ 28: แผ่นซีดี เครื่องมืออันทรงพลังอย่างไม่ต้องสงสัย (CD or Not CD – No Question)

อุปกรณ์ในการสอนคำสอน คงไม่มีอะไรดีไปกว่าแผ่นซีดี (CD) ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสมักจะมอบแผ่นซีดีเป็นของขวัญแก่สัตบุรุษในช่วงเทศกาลคริสตมาสและปัสกา เนื้อหาในแผ่นซีดีก็จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ หรือไม่ก็บทเพลงที่เกี่ยวกับเทศกาลนั้นๆ นอกนั้น อาจเป็นซีดีบทภาวนาและข้อรำพึงสายประคำในแต่ละวัน มีไม่น้อยที่ได้รับซีดีเกี่ยวกับการพิจารณามโนธรรมในช่วงเทศกาลมหาพรตและตัดสินใจมารับศีลอภัยบาปกับพระสงฆ์ จึงไม่ต้องแปลกใจที่เครื่องมือแผ่นซีดีนั้นทรงพลังมากกว่าที่เราคาดคิด เพราะพระจิตเจ้าอาจทำงานของพระองค์ผ่านทางสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นได้

             คุณพ่อฟรานซิสได้แนะนำ “Catholic Lighthouse CDs” ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ กว่า 70 เรื่องเกี่ยวกับคาทอลิกซึ่งควรค่าแก่การมีไว้ในครอบครอง The Mary Foundation เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ผลิตสื่อเหล่านี้ หากเราซื้อเป็นจำนวนมากๆ (2,000 แผ่นขึ้นไป) ราคาจะลดลงมาเหลือเพียงแผ่นละครึ่งดอลล่าร์เท่านั้นเอง แผ่นซีดีเหล่านี้อาจวางไว้ที่โต๊ะด้านหน้าวัด (หรือที่ชั้นวางหนังสือศรัทธา) ซึ่งปกติก็จะแจกฟรีหรือแล้วแต่สัตบุรุษจะทำบุญ ผู้อภิบาลควรสนใจความรอดของวิญญาณสัตบุรุษ มากกว่าการค้าหากำไร หากมีคนกลับใจปีละคนจากการฟังแผ่นซีดีเหล่านี้ก็คุ้มแล้ว เพราะเงินที่ลงทุนไปจะกลับมาจากเงินทำบุญ เงินถุงทาน หรือเงินขอมิสซาจากพวกเขาเหล่านั้น

บทเทศน์วันอาทิตย์

"กษัตริย์แห่งความรัก" ข่าวดี สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล(B)วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2024ก. ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันสุดท้ายของปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร บทอ่านจะบรรยายถึงการขึ้นครองราชย์ที่ยิ่งใหญ่ในสวรรค์ของพระเยซูคริสต์ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล...
"เตรียมพร้อม" ข่าวดี สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา (B)วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2024ก. ความสำคัญ...
"แบบอย่างของหญิงม่าย" ข่าวดีสัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา (B)วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2024 ก. ความสำคัญ...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

ฉลองวัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร ลูกแก
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร ลูกแก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อฟิลิป อดิศักดิ์ พรงาม เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลจันทบุรีโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อฟิลิป อดิศักดิ์ พรงามเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลจันทบุรีประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024
ฉลองวัดนักบุญลูกา หนองนางแพรว
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญลูกา หนองนางแพรว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี...
ฉลองวัดแม่พระสายประคำ หลักห้า จ.ราชบุรี
วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดแม่พระสายประคำ หลักห้า จ.ราชบุรี 📷...
วันแพร่ธรรมสากลและวันฆราวาสสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2024
วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2024 ฝ่ายงานธรรมทูตร่วมกับสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม...

สาส์น-ประกาศจากสภาพระสังฆราชฯ

สาส์นอภิบาลฯ เรื่อง ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 “บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
สาส์นอภิบาลของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ 102/2024เรื่อง...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

สาส์นอภิบาลฯ โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ. 2025
ที่ สร.091/2024สาส์นอภิบาลจากพระสังฆราชแห่งราชบุรีโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์สามัญ ค.ศ....
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.2025
ที่ สร.090/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปีศักดิ์สิทธิ์...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ
ที่ สร.088/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจ...

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก