PAX ET CARITAS : สันติภาพและความรัก

ศาสนสัมพันธ์ โดย คุณพ่อเสนอ  ดำเนินสดวก
แนวปฏิบัติเมื่อร่วมงานศพพี่น้องชาวพุทธ
ร่วมสวดพระอภิธรรมงานศพและวันฌาปนกิจ
1. การจุดธูปเทียนโต๊ะหมู่บูชา
    1.1 เมื่อไปร่วมสวดพระอภิธรรม หากได้รับเชิญจุดธูปเทียน ซี่งมีอยู่ 3 ที่ โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ  พระธรรม และหน้าศพ  ควรบอกเจ้าภาพให้จุดธูปเทียนที่หน้าศพ ส่วนวิธีการเคารพศพ ปฏิบัติเหมือนเมื่อผู้ตายยังมีชีวิตอยู่
    1.2 กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ทางสังคม (ฆราวาส) และได้รับเชิญให้จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธหรือพระธรรม ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบก่อนเริ่มงาน ว่าคาทอลิกไม่เหมาะสมในการปฏิบัติดังกล่าว เพื่อหาผู้แทนจุดธูปเทียนแทน แต่หากได้รับเชิญอย่างกะทันหันและหาผู้แทนไม่ได้ ควรทำด้วยความตั้งใจ จุดธูปเทียนแล้ว ควรไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ...(คาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น)

เหตุผลที่คาทอลิกไม่ควรจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม
    • ชาวพุทธกราบพระพุทธและพระธรรม ในฐานะเป็นที่พึ่งสูงสุดของชีวิต อันนำไปสู่นิพพาน  ผู้ปฏิบัติดังกล่าวจึงควรเป็นชาวพุทธเท่านั้น
    • คาทอลิกนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ในฐานะท่านเป็นอาจารย์ผู้ทรงศีลที่น่าเคารพ  แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นพระเจ้า
    • ด้วยเหตุดังกล่าว คาทอลิกจึงไม่เหมาะสมในการจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธ และพระธรรม เพราะไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์
    • ในทางกลับกันงานสวดศพของคาทอลิก ก็ไม่ควรเชิญพี่น้องพุทธเป็นประธานจุดเทียนหน้ากางเขนตอนเริ่มต้นวจนพิธีกรรมสวดศพ เพราะพี่น้องพุทธไม่เชื่อเรื่องพระเยซูเป็นพระเจ้าพระผู้ไถ่  ส่วนการจุดธูปหน้าศพพึ่งกระทำได้

2. ถวายเครื่องไทยทาน ปัจจัย  และทอดผ้าบังสุกุล
    หากคาทอลิกถูกเชิญให้ประเคนของให้พระภิกษุ หลังการสวดพระอภิธรรม ควรทำด้วยความสุภาพ  และหลังจากการประเคนแล้ว  ให้ไหว้ หรือ กราบหนึ่งครั้งโดยไม่แบมือ  (เราปฏิบัติในฐานะเราเป็นคาทอลิก จึงควรไหว้และกราบแบบคาทอลิก พระภิกษุคือผู้ทรงศีลที่น่าเคารพแต่ท่านไม่ใช้พระเจ้าตามความเชื่อของเราคาทอลิก และคาทอลิกกราบแบบแบมือ เฉพาะพระเจ้าเท่านั้น) ส่วนคาทอลิกท่านใดที่ยังไม่มีความพร้อม ทั้งปฏิบัติไม่เป็น และไม่สบายใจด้านมโนธรรม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน

3. การกรวดน้ำ
ไม่ควรทำ (เกี่ยวพันถึงเรื่องความเชื่อ)
    3.1 เหตุผลทางความเชื่อ ที่ไม่ควรทำการกรวดน้ำ

    3.1.1 การกรวดน้ำ ผู้กรวดน้ำเชื่อว่าตนเองตัดส่วนบุญ หรือยกส่วนบุญของตนอุทิศให้กับผู้อื่นทั้งผู้ล่วงหลับ และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาศัยการตั้งจิตปรารถนาของตน หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว ถือเป็นความเชื่อและวิถีชีวิต เฉพาะของผู้นับถือศาสนาพุทธ และพิธีของพราหมณ์ ที่มีมาตั้งแต่พุทธกาล (เน้นตัวเรา เป็นผู้ยกส่วนบุญให้ผู้อื่น หลังจากทำบุญทำกุศลแล้ว)

    3.1.2 คาทอลิกเชื่อว่า เราส่งส่วนบุญให้คนอื่นโดยตรงมิได้ เพราะคาทอลิกต้องพึ่งบุญจากพระเจ้าเท่านั้น พระเจ้าแต่องค์เดียวเป็นผู้ประทานพระพรแก่เราทุกคนทั้งผู้เป็นและผู้ตายเช่น ขอพระอวยพรให้มีความสุขความเจริญ หรือการสวดภาวนาขอพรเพื่อผู้ล่วงหลับตลอดจนการขอมิสซา ก็เพื่อขอให้พระเจ้าประทานพรแก่ผู้นั้นหรือแม้แต่นักบุญและแม่พระ ก็เป็นผู้เสนอคำภาวนาเพื่อเรา ท่านมิได้อวยพรแก่เราโดยตรง ดังเช่นในบทวันทามารีย์   “สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน”
    ด้วยเหตุผลทางความเชื่อดังกล่าว  คาทอลิกจึงไม่ควรทำการกรวดน้ำ

    3.2 เหตุผลของการมีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ (หรือผู้ที่เป็นคาทอลิกใหม่)ในกรณีที่มีญาติพี่น้องนับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ภรรยา หรือสามี เมื่อมีการกรวดน้ำ  เช่น งานศพ  งานทำบุญบ้าน ฯลฯ คาทอลิก  ถือเป็นคนในครอบครัว  ควรแสดงความรักด้วยการอยู่ร่วมในพิธีกรวดน้ำ แต่ไม่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการเทน้ำด้วยตนเอง

    ระหว่างอยู่ร่วมการกรวดน้ำ ควรสำรวมด้วยอาการสงบ และถือเป็นโอกาสอันดี ในการภาวนาต่อพระเจ้า  เพื่อพระองค์จะได้อวยพระพรตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ (เพราะนี้คือจุดยืนของเราคาทอลิก  พระพรทุกอย่างมาจากพระเจ้าเท่านั้น)เหตุผลในฐานะเป็นญาติพี่น้อง อยู่ร่วมได้ แต่ไม่ต้องเป็นผู้เทน้ำ

4. ระหว่างการฟังพระสวดพระอภิธรรม
    ควรอยู่ในอาการที่สำรวม  จะพนมมือหรือไม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจและมโนธรรมของแต่ละคน  การพนมมือตามธรรมเนียมของชาวไทย หมายถึง การให้ความเคารพและความตั้งใจ

5. การทอดผ้าบังสุกุลบนเมรุ
    เนื่องจากเจ้าภาพมีเจตนาให้ความเคารพ และให้เกียรติแก่ผู้ทอดผ้าบังสุกุล  ดังนั้น มุมมองของคาทอลิกในเรื่องนี้ ถือเป็นการแสดงออกทางด้านสังคม มากกว่าเป็นความเชื่อทางศาสนา จึงควรให้เกียรติแก่เจ้าภาพเมื่อได้รับเชิญในการทอดผ้าบังสุกุลนี้  (หากคาทอลิกท่านใดยังไม่มีความพร้อม ก็ควรให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน)

6. การวางดอกไม้จันทน์ และการรดน้ำศพ
    ถือเป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติต่อกัน  การวางดอกไม้จันทน์ตามธรรมเนียมไทย ผู้วางดอกไม้ควรหยิบดอกไม้ด้วยตนเอง ไม่ควรหยิบมาเพื่อส่งต่อให้ผู้อื่น  ส่วนการรดน้ำศพเป็นการกระทำตามประเพณี เมื่อคนรู้จักสิ้นชีวิตลง ในความรู้จักคุ้นเคยนั้นเราอาจมีการล่วงล้ำกล้ำเกินกันไป ก็จะต้องไปรดน้ำศพเป็นการขอขมาลาโทษ ที่เคยล่วงเกินต่อกันทั้งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้สิ้นใจด้วย

บทเทศน์วันอาทิตย์

"พระเมตตายิ่งใหญ่"ข่าวดีวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (C)หรือ วันอาทิตย์ฉลองพระเมตตาวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2025 ก. ความสำคัญ...
"ฉลองปัสกาทุกวัน"ข่าวดี วันอาทิตย์สมโภชปัสกา(C)วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2025 ก. ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"อย่าทำให้พระเยซูเจ้าต้องร้องไห้"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (C)วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2025ก. ความสำคัญ 1. วันนี้พระศาสนจักรเฉลิมฉลองวันแห่ใบลานและอาทิตย์มหาทรมาน...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

พิธีปลงศพคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์
พิธีปลงศพคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2025 เวลา 08.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี นำภาวนาและประกอบพิธีอำลาคุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 3 ค่ำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2025 เวลา 19.00 น. พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 2
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 2 วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2025 เวลา 15.00 น. พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักด์ โกวิทวานิช...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์ คืนที่ 1
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ คืนที่ 1 วันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2025 เวลาประมาณ 14.00 น. คุณพ่อสุรชาติ แก้วเสนีย์ พร้อมด้วยพี่น้องสงฆ์...
กำหนดการพิธีกรรมอุทิศแด่ คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์  แสงประสิทธิ์
กําหนดการพิธีกรรมอุทิศผู้ล่วงหลับ แด่คุณพ่อราฟาแอล สมบูรณ์ แสงประสิทธิ์พระสงฆ์สังฆมณฑลราชบุรีชาตะ 29...
พิธีปลงศพคุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง
พิธีปลงศพคุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง วันพฤหัสบดีที่ 3...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 3
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 3...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์  ชุนฟ้ง คืนที่ 2
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 2...
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 1
พิธีกรรมอุทิศแด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้ง คืนที่ 1...
กำหนดการพิธีกรรมอุทิศแด่ คุณพ่อเปโตรสุรินทร์  ชุนฟ้ง
กําหนดการพิธีกรรมอุทิศผู้ล่วงหลับ แด่คุณพ่อเปโตร สุรินทร์ ชุนฟ้งพระสงฆ์สังฆมณฑลราชบุรีชาตะ 11...

สาส์น-ประกาศจากสภาพระสังฆราชฯ

ประกาศสภาประมุขบาทหลวงฯ เรื่อง การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
ประกาศสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยที่ สสท. 051/2025.เรื่อง...
สาส์นอภิบาลฯ เรื่อง ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 “บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
สาส์นอภิบาลของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ 102/2024เรื่อง...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2025

ข้อกำหนดสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2025

ข้อกําหนดสังฆมณฑลราชบุรี ค.ศ. 2025

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก